X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลือกอาหารให้ลูกต้องดูฉลาก GDA

บทความ 5 นาที
เลือกอาหารให้ลูกต้องดูฉลาก GDA

สมัยนี้นับวันมีขนมกรุบกรอบล่อใจเด็ก ๆ มากมาย พ่อแม่จึงต้องช่วยเลือกขนมที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ ซึ่งก็ไม่ยากเลยค่ะเพราะเดี๋ยวนี้มี ‘ฉลากแบบ GDA’ เป็นตัวช่วยพ่อแม่ตัดสินใจซื้ออาหารให้ลูกรัก

เลือกอาหารให้ลูก ต้องดูฉลาก GDA

เลือกอาหารให้ลูก-01

เลือกอาหารให้ลูก-01

ในบ้านเรามีการบังคับใช้ฉลากแสดงโภชนาการแบบใหม่ หรือ GDA ‘Guideline Daily Amounts’ ในขนมกรุบกรอบ 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดอบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบ/ขนมขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปัง/แครกเกอร์/บิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ ในอนาคต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะขยายให้ครอบคลุมอาหารทุกประเภท โดยฉลากแบบใหม่จะแสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ของอาหารต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ และปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน ทำให้เข้าใจง่ายกว่าฉลากแบบเดิม ช่วยให้พ่อแม่เลือกอาหารให้ลูกและตัวเองได้อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมา เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น

พอเราได้เห็นฉลากแล้วก็จะรู้ว่าขนมส่วนใหญ่ควรรับประทานแต่น้อยมาก ๆ ต่อวัน ซึ่งหลายคนไม่รู้เรื่องนี้ ทานขนมจนหมดห่อหรือหลายห่อต่อวัน ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

คราวหน้าไปช้อปปิ้งที่ไหน ก็ต้องอ่านฉลาก GDA ที่ติดอยู่หน้าซองอาหาร ก่อนหยิบลงรถเข็นนะคะ

เลือกอาหารให้ลูก-02

เลือกอาหารให้ลูก-02

 

Advertisement

ผักมีประโยชน์ต่อเมนูอาหารของลูกน้อยอย่างไร?

คุณแม่สังเกตไหมคะว่าในทุกๆ เมนูของอาหารเด็กต้องมีผักเป็นหนึ่งในวัตถุดิบ เนื่องจากผักถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารหลักของลูกน้อย เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ และใยอาหารที่จำเป็นต่อระบบการขับถ่าย แถมยังช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย ฉะนั้นการให้ลูกน้อยรับประทานผักจะช่วยลดโอกาสในการที่ลูกน้อยจะกินอาหารระหว่างวันมากเกินไป ถึงแม้ว่าผักจะดีต่อสุขภาพ แต่เด็กๆ ก็มักจะชอบน้ำตาลที่ให้ความหวานมากกว่าอยู่ดี ดังนั้นลูกน้อยจึงมักจะปฏิเสธผักที่มีอยู่ในอาหารที่คุณแม่เตรียมให้ เราจึงขอแนะนำเคล็ดลับดีๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยกินผักได้ง่ายขึ้นแม่ควรเลือก เลือกอาหารให้ลูก แบบมีวิตามินต่าง ๆ

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เป็นตัวอย่างที่ดี โดยแสดงให้ลูกเห็นว่าคุณแม่ก็กินผักด้วยเช่นกัน จากนั้นลูกน้อยจะเริ่มมีความรู้สึกอยากเลียนแบบคุณแม่ ถึงเวลานี้คุณอาจใช้วิธีการซ่อนผักอย่างแนบเนียบในอาหารของลูกน้อย เช่น ลองผสมผักบดลงในอาหารเสริมธัญพืชสำหรับเด็กที่ลูกน้อยชื่นชอบ หรือเริ่มด้วยการเติมผักชิ้นเล็กๆ เช่น เมล็ดถั่วลันเตา แครอท ฯลฯ ผสมลงในอาหารที่ลูกกินเป็นประจำ คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกสร้างความคุ้นเคยกับรสชาติของผักได้โดยการปั่นผักกับน้ำผลไม้ หรือปั่นกับโยเกิร์ตเพื่อทำเป็นสมูทตี้แสนอร่อยและสดชื่น

เพื่อเป็นการเปิดประสาทการรับรสชาติให้ลูกได้รับรสชาติที่หลากหลายมากขึ้น คุณแม่ควรลองให้ลูกกินผักชนิดต่างๆ ที่มีรสชาติแตกต่างกัน ในช่วงแรกลูกอาจปฏิเสธการกินผัก และอาจจะยากสักหน่อย แต่อย่ายอมแพ้นะคะ หากคุณแม่กำลังมองหาเมนูอาหารที่มีผักต่างๆ ลองไปที่ “เมนูสำหรับลูกน้อย” ซึ่งมีเมนูอาหารรสชาติอร่อยทำได้ง่ายๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก

อย่างไรก็ตามลูกในช่วงวัยต่างๆ ต้องการอาหารที่หลากหลาย คุณแม่ต้องพยายามทำให้เวลาบนโต๊ะอาหารเป็นเวลาที่มีความสุขของครอบครัว หลีกเลี่ยงการให้เด็กรับประทานอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารประเภทจานด่วน เพื่อให้ลูกมีความคุ้นชินกับการกินอาหารเพื่อสุขภาพตั้งแต่ยังเล็ก ถึงแม้บางครั้งคุณแม่อาจต้องพยายามคิดหาวิธีกระตุ้นให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดที่เขาไม่ชอบ คุณแม่ต้องอดทนและใจเย็นเข้าไว้นะคะ เพื่อให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยกับความรู้สึกของการกินอาหาร แล้วเมื่อโตขึ้นเขาจะผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างแน่นอน

เลือกอาหารให้ลูก-03

เลือกอาหารให้ลูก-03

ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก

ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงวัย คุณแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยในแต่ละวััยควรได้รับอาหารแบบไหน และควรให้อาหารเสริมให้ลูกกินเมื่อไหร่ อย่างไร ข้อควรระวังในการให้อาหารลูก รวมถึงหารดูแลลูกเมื่อลูกป่วย พ่อแม่ควรให้ลูกทานอาหารอย่างไร เรามาดูเคล็ดลับอาหารของลูกน้อยแต่ละวัยกันดีกว่าค่ะ

อายุเด็ก อาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัย
แรกเกิด – 6 เดือน ให้นมแม่เพียงอย่างเดียว สำหรับในช่วง 2 เดือนแรก สามารถให้นมได้ 8-10 มื้อ ตามที่คุณแม่ต้องการ หลังจากนั้นควรให้นมห่างออกไปในช่วงกลางคืน
6 – 8 เดือน ให้อาหารตามวัยที่บดละเอียด หรือเป็นอาหารแบบกึ่งเหลว และควรพยายามป้อนด้วยช้อนเพื่อฝึกเด็กให้รู้จักการกลืนค่ะ
9 – 12 เดือน ในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารบดหยาบมากขึ้น และพยายามลดนมมื้อดึกลงนะคะ
1 – 2 ปี ฝึกให้เด็กได้ลองถือถ้วยหัดดื่ม พยายามหยิบของกินและตักอาหารด้วยตัวเอง และควรให้เด็กได้หัดเคี้ยวอาหารชิ้นเล็กๆ แต่ต้องไม่แข็งนะคะอาจเริ่มจากผักต้มก็ได้ และควรงดให้นมลูกจากขวด
3 – 5 ปี พยายามฝึกให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการรับประทารอาหารร่วมกัน ให้ลูกน้อยได้ลองใช้ช้อนกลางตักอาหารกับพ่อแม่หรือคนอื่นๆ และอย่าลืมจัดเตรียมภาชนะและอาหารสำหรับลูกน้อยด้วยนะคะ

วิธีเลือกอาหารเสริมให้เหมาะสมกับเด็ก

  • เด็กเล็กพ่อแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่มีรสธรรมชาติก่อน ไม่ควรปรุงแต่งรสชาติมากเกินไป โดยในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง แนะนำว่าห้ามเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือของปรุงรสในนมและอาหารเด็กเป็นอันเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกน้อยติดรสหวาน และเบื่ออาหารได้ในที่สุดค่ะ
  • ควรให้นมและอาหารลูกน้อยเป็นเวลา สำหรับอาหารว่างสำหรับเด็กนั้น แนะนำว่าควรมีโปรตีนเป็นหลักค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแต่แป้งและน้ำตาลให้มากที่สุด ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กได้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมนะคะ
  • หากลูกน้อยกินอาหารน้อย หรือไม่สามารถกินครบ 5 หมู่ได้ หรือมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ พ่อแม่อาจต้องให้ลูกได้กินวิตามินรวมเสริม พร้อมๆ กับจูงใจให้เด็กกินได้กินอาหารให้ครบถ้วนอีกด้วย และพ่อแม่ต้องใจแข็งอย่าให้ลูกได้กินขนมจุบจิบ และน้ำหวานระหว่างมื้อ ลูกน้อยจะได้กินข้าวได้เยอะๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกยังไม่ยอมกินข้าวปละมีน้อหนักตัวน้อยเกินไปอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านก็ได้ค่ะ

อาหารสำหรับเด็กป่วย พ่อแม่ควรทำอย่างไร

เวลาที่ลูกน้อยป่วยมักจะไม่ชอบกินอาหาร และ เกิดอาการเบื่ออาหาร ไหนจะร่างกายอ่อนแอด้วย เมื่อเด็กป่วย โดยเฉพาะเป็นโรคอุจจาระร่วง หรือ ออกหัด เด็กจะเบื่ออาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารน้อยกว่าปกติ การป่วยแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก และถ้าป่วยปีละหลายครั้ง จะทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหาร และ ตัวเล็กกว่าวัย ดังนั้น การให้ลูกได้กินอาหารระหว่างที่ลูกป่วยหรือช่วงพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ในระยะที่เจ็บป่วย เด็กควรได้รับนมแม่บ่อยขึ้นและอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยควรเพิ่มทีละน้อยและบ่อยๆ ในแต่ละวัน
  • หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย และเบื่ออาหารนานเกิน 2-3 วัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาลูกน้อยจะได้ไม่เจ็บป่วยร้ายแรงมากขึ้นกวว่าเดิมค่ะ
  • หลังการเจ็บป่วยในระยะพักฟื้น เด็กต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 1 มื้อ ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ

ที่มาจาก : amarinbabyandkids.com

บทความอื่น ๆ ที่่น่าสนใจ

เครื่องดื่มที่แย่ที่สุดสำหรับเด็ก

ลูกชอบกินอาหารขยะทำไงดี

ทำไมคุณถึงไม่ควรฉลองวันเกิดให้ลูกทุกปี

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ธิดา พานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เลือกอาหารให้ลูกต้องดูฉลาก GDA
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว