TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องน่ารู้...ท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิด

บทความ 3 นาที
เรื่องน่ารู้...ท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิด

ทารกแรกคลอดมีภาวะตัวเหลืองถือเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อย แต่ถ้าลูกน้อยของคุณมีอาการตัวเหลืองผิดปกติและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีความเสี่ยงเป็นท่อน้ำดีอุดตันได้ ท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิดเป็นอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ

ทารกตัวเหลืองจากท่อน้ำดีอุดตัน

ทารกตัวเหลืองโดยทั่วไปเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

ทารกตัวเหลืองจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง: จะมีปริมาณบิลิรูบินมากขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่หมู่เลือดของแม่และลูกเข้ากันไม่ได้ เม็ดเลือดแดงของลูกจึงถูกทำลาย ทำให้ระดับของบิลิรูบินในเลือดเพิ่มสูงเกินระดับปกติ

ทารกตัวเหลืองจากนมแม่ : จะพบในเด็กที่ทานนมแม่โดยจะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้นแต่จะค่อย ๆ ลดระดับลงเองเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ หากลูกตัวเหลืองจากนมแม่นี้ไม่น่ากังวล เพราะทารกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามปกติ เม็ดเลือดแดงก็ไม่ได้แตกเยอะไปกว่าทารกปกติ และตับก็ยังทำงานเป็นปกติ

นายแพทย์คณิต คูศิริวิเชียร กล่าวถึง ภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก มักพบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ถึง 25-50 % ของทารกแรกเกิดภาวะตัวเหลืองนี้เกิดจากสารชื่อ บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีเหลือง ในทารกปกติจะมีปริมาณสารบิลิรูบินในปริมาณที่พอเหมาะ คือ ไม่เกิน 12 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในทารกคลอดก่อนกำหนด สารบิลิรูบินนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ในระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ สารบิลิรูบินของทารกส่วนใหญ่จะผ่านทางรกเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของแม่และถูกกำจัดที่ตับของแม่ แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วทารกจะต้องทำการกำจัดบิลิรูบินทางตับของตนเอง

เรื่องน่ารู้…ท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิด

อาการทั่วไป

อาการตัวเหลือง ตาเหลืองที่มีความผิดปกติในทารกแรกเกิด เรียกว่า ท่อน้ำดีตีบตัน ในทารกแรกเกิดพบได้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 1 ในหมื่นของทารกที่คลอด ไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน โรคนี้จะเกิดขึ้นหลังคลอด ทารกจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจจะตั้งแต่หลังคลอดหรือเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 เรื่อยมา นอกจากนี้อุจจาระยังมีสีซีดขาว ปัสสาวะสีเข้ม เด็กจะทานนม หรือเจริญเติบโตในระยะแรกเป็นปกติ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าไม่เป็นอะไรเดี๋ยวก็หายเอง หากมีอาการผิดปกติที่เกิดจากท่อน้ำดีตีบตัน อาการตัวเหลืองจะเพิ่มมากขึ้น สารสีเหลืองบิลิรูบินจะคั่งในตับจำนวนมาก และจะทำลายเซลล์ตับ เกิดภาวะตับแข็ง โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 เดือน เพราะหลังจากนี้หรือเกิน 4 เดือนไปแล้ว ตับของทารกจะถูกทำลายจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

วิธีการรักษาท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิด

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรนุช จงศรีสวัสดิ์ กุมารแพทย์ทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดกับทารกแรกเกิด ซึ่งมักจะพบอาการหลังจาก 2 สัปดาห์ไปแล้ว โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดก่อนอายุ 2 เดือน อาจพัฒนากลายเป็นตับแข็งได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอแล้ว คุณหมอจะรักษาด้วยการผ่าตัดโดยเร็ว เพราะถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดในเวลาอันสมควรตับที่มีท่อน้ำดีคั่งอยู่จะยิ่งอักเสบมากขึ้นทำให้ทารกเป็นตับแข็งได้อย่างรวดเร็ว ในรายที่รุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตภายใน 2 ปีแรกด้วยปัญหาตับแข็ง

อ่านหลังผ่าตัดท่อน้ำดีอุดตันแล้วจะเป็นอย่างไร คลิก

หลังจากได้รับการผ่าตัดท่อน้ำดีอุดตันแล้วจะเป็นอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยุทธนา ศตวรรษธำรง อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า หากทารกได้รับการผ่าตัดแล้วค่าของความเหลืองควรลดลงไปใน 1 เดือน และลดลงต่อเนื่องถึง 6 เดือน หลังจากนั้นจะคงที่ หลังผ่าตัดแล้วต้องรักษาโดยการกินยาอย่างต่อเนื่องเพราะยังมีอาการตับแข็ง หลังผ่าตัดปีแรกมักจะติดเชื้อท่อน้ำดีต้องดูแลรักษาอย่างเข้มงวด

หากทารกได้รับการผ่าตัดก่อนอายุ 2 เดือน มีสิทธิ์หายได้ 90 % ผ่าตัดอายุ 2-3 เดือน มีสิทธิ์หายได้ 70 % ถ้าอายุมากกว่า 3 เดือน การผ่าตัดไม่ดี หลังผ่าตัดค่าความเหลืองไม่ลดลงเป็นปกติใน 6 เดือนแสดงว่าการผ่าตัดไม่ได้ผลมักเสียชีวิตใน 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของตับและโรคแทรกซ้อน เพราะอาการตับแข็งจะเป็นมากขึ้น ต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ ทารกอายุ 4 เดือนมีอาการตับแข็งมาก มีอาการท้องมานมีน้ำในช่องท้องการผ่าตัดถ้าไม่ช่วยเหลือจะมีแต่ผลเสีย ควรรักษาแบบประคับประคองรอผ่าตัดปลูกถ่ายตับจะดีกว่า ทารกได้รับการผ่าตัดแล้วหายเหลืองแต่ยังมีตับแข็ง 70 % ของเด็กที่เป็นโรคต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในอนาคต

ข้อแนะนำสำหรับทารกแรกคลอดที่ควรสังเกต

หากทารกแรกคลอดมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ควรสังเกตอย่างใกล้ชิด หากพบอาการตัวเหลืองเข้มขึ้นนานเกิน 1 สัปดาห์ และอุจจาระสีเหลืองอ่อนหรือซีดขาว ควรคิดถึงโรคนี้และปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

อ้างอิงข้อมูลจาก
อาการเหลืองในทารกแรกเกิด, รองศาสตราจารย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ทารกแรกเกิด: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

https://www.littlebebe.net/

https://www.thailabonline.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คุณพ่อลดน้ำหนัก 18 กิโลกรัมเพื่อบริจาคตับให้ลูกสาว

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

สีของอุจจาระของทารกบอกถึงสุขภาพได้อย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เรื่องน่ารู้...ท่อน้ำดีอุดตันในทารกแรกเกิด
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว