คนเฒ่าคนแก่มักเตือนว่า ถ้าเข้าไป อุ้มลูกบ่อยๆ อุ้มทุกครั้งที่เด็กร้องบ่อยครั้งเข้าลูกก็จะติดเป็นนิสัยและร้องไม่ยอมหยุดถ้าไม่มีใครมาอุ้ม จริงหรือ?
อุ้มลูกบ่อยๆ อย่าไปกลัวลูกติดมือ เอาไงดีอุ้มหรือไม่อุ้ม
มีผลการวิจัยบอกว่า การร้องไห้ของทารกในช่วง 6 เดือนแรกนั้นเป็นวิธีเดียวที่จะส่งสัญญาณสื่อสารบอกพ่อแม่ว่าลูกต้องการอะไร ถ้าปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน พ่อแม่เพิกเฉยต่ออารมณ์ของลูก ขาดการอุ้มและปลอบโยนจะส่งผลต่อจิตใจ ขาดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยซึ่งส่งผลต่อภาวะมั่นคงทางอารมณ์ได้ โดยเฉพาะสำหรับทารกแรกเกิดที่ต้องการความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการสร้างพื้นฐานทางจิตใจและอารมณ์ของลูก
การอุ้มลูกบ่อย ๆ ในช่วง 3 เดือนแรกนั้นไม่มีผลทำให้ลูกติดมือ แต่เป็นการสร้างความผูกพันและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างแม่กับลูก โดยเฉพาะการรีบเข้าไปอุ้มทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ หรือจะเป็นการสัมผัส ส่งเสียงพูดคุยกับลูกให้หยุดร้องไห้ เมื่อลูกได้รับการตอบสนองก็จะสามารถพัฒนาอารมณ์ไปในด้านดี มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย และจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย เมื่อเติบโตขึ้นการร้องไห้งอแงก็จะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ และทำให้ลูกไม่กลายเป็นเด็กที่เรียกร้องความสนใจจนมากเกินไป
ตรงกันข้ามกับเด็กที่ขาดการตอบสนองอย่างเพียงพอจากพ่อแม่ในวัยทารก ถูกปล่อยให้ร้องไห้นานนับนาที ซึ่งการปล่อยให้ลูกร้องไห้เกินกว่า 20 นาทีหรือปล่อยให้หยุดร้องไปเองนั้นก็จะเกิดผลเสียแก่ตัวเด็ก โดยเฉพาะกับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งจะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างขาดความรัก ความเอาใจใส่ ทำให้กลายเป็นเด็กที่เรียกร้องมากเพราะได้รับการเติมมาไม่เต็มพอ ดังนั้นการอุ้มลูกในช่วงวัยทารกนั้นไม่ได้เป็นการตามใจเด็กจนเสียนิสัยหรือว่าทำให้ลูกมีนิสัยติดอุ้มแต่อย่างใดค่ะ
ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัย และสบายสำหรับเจ้าตัวน้อย ท่าอุ้มทารกสำหรับพ่อแม่มือใหม่
1.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องอุ้มพาดบ่า (Shoulder hold)
ท่านี้จัดเป็นท่าอุ้มที่ดูธรรมชาติที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
- อุ้มให้ร่างเจ้าตัวน้อยขนานไปกับร่างกายคุณแม่ ยกทารกสูงถึงระดับหัวไหล่
- ประคองศีรษะและคอลูกหนุนอยู่ตรงหัวไหล่ ส่วนมืออีกข้างรองก้นไว้
ท่านี้จะทำให้ลูกได้ยินเสียงเต้นของหัวใจของคุณแม่ได้ชัดเชียวล่ะ
2.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องท่าอุ้มไกวเปล (Cradle Hold)
ท่าอุ้มนี้ดูง่ายที่สุด และทำให้ลูกน้อยนอนหลับง่ายที่สุดเมื่อถูกอุ้มในท่านี้
- อุ้มเจ้าตัวน้อยขนานไปกับลำตัวของคุณแม่ในระดับอก ให้ศรีษะลูกหนุนอยู่บนข้อศอก ส่วนอีกมือหนึ่งรองก้นและสะโพกของลูก
- อุ้มให้ลูกน้อยได้เข้ามาใกล้กับตัว ค่อย ๆ ไกวลูกในอ้อมกอดอย่างช้า ๆ นี่คือท่าเพื่อกล่อมให้ลูกนอนหลับได้อย่างรวดเร็ว
3.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องท่าอุ้มนอนคว่ำ (Belly Hold)
ท่านี้น่าจะเหมาะสำหรับคุณพ่อ ที่มีกำลังท่อนแขนแข็งแรง คุณจะรู้สึกว่าเจ้าหนูจะชื่นชอบกับการอุ้มในท่านี้แน่
- วางลูกนอนโดยให้หน้าท้องของหนูน้อยอยู่บนท่อนแขน และให้หัวลูกหันไปทางข้อศอก
- ปล่อยให้เท้าทั้งสองข้างของเบบี๋คร่อมอยู่บนมือข้างที่ใช้ประคอง
- ส่วนมืออีกข้างวางไว้บนหลังของเจ้าตัวน้อยเพื่อที่จะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
- ท่านี้จะช่วยทำให้ลูกเรอได้ด้วยนะ คุณอาจจะใช่ท่านี้หลังให้นม ลูบไปที่หลังเบา ๆ เพื่อให้หนูน้อยเรอออกมา
4.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องอุ้มเข้าเอว (Hip Hold)
คุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยกระเตงเข้าเอวได้ เมื่อเจ้าตัวน้อยนั้นอายุเกิน 3 เดือน และมีศีรษะและคอที่แข็งแล้ว
5.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องอุ้มหันหน้าเข้าหากัน (Face-To-Face Hold)
ท่าอุ้มนี้จะช่วยให้แม่ลูกมีปฏิสัมพันธ์กัน ลูกน้อยจะได้มองเห็นหน้าคุณแม่ในขณะที่ถูกอุ้มด้วย
- ประคองศีรษะและคอของเบบี๋ด้วยมือข้างหนึ่ง
- ใช้มืออีกข้างหนึ่งช้อนรองที่ก้น
- อุ้มให้ลูกน้อยหันหน้ามาทางคุณโดยให้ช่วงล่างของลูกเกาะอยู่ต่ำกว่าระดับอกคุณแม่
- คุณแม่จะใช้ท่านี้ชวนลูกคุย ทำหน้าตลอด หยอกล้อ ยิ้มและเล่นสนุกกับลูกอย่างมีความสุขทีเดียว
6.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องท่าเก้าอี้ (Chair Hold) หรือท่าอุ้ม “สวัสดีชาวโลก”
ท่าอุ้มที่จะช่วยให้เจ้าหนูมองเห็นอะไรรอบตัวของเขาได้มากขึ้น เหมือนกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้
- อุ้มให้ลำตัวและหลังของลูกชิดอยู่บนหน้าอก เพื่อช่วยในการประคองศีรษะของลูกน้อยด้วย
- ใช้มือโอบรัดตัวลูกเพื่อป้องกันไม่ให้เอนไปมา
- ส่วนมืออีกข้างก็ช้อนรองใต้ก้นเอาไว้ เพื่อให้ลูกมีความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
คุณแม่สามารถใช้ท่านี้ในขณะที่นั่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้มือประคองก้นลูก และยังไม่ควรใช้ท่านี้อุ้มทารกที่อายุต่ำกว่า 3 เดือนนะคะ
7.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football Hold)
ท่าอุ้มนี้เหมาะสำหรับการให้นมลูก คุณแม่สามารถอุ้มลูกในท่านี้ในขณะที่ยืนหรือนั่งก็ได้
- มือแม่ประคองที่ต้นคอและท้ายทอยของลูกและรองหลังลูกด้วยแขนข้างเดียวกัน
- ส่วนมืออีกข้างช้อนก้นและประคองหลังเอาไว้เพื่อคอยจัดตำแหน่งศีรษะและคอของลูก
- เจ้าตัวน้อยจะนอนยาวไปตามท่อนแขนและขาเหยียดตรงไปทางด้านหลัง
- ขยับลูกน้อยให้ชิดแนบอกเพื่อความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
- ในขณะที่คุณแม่ให้นม ก็เพียงพยุงลูกให้อยู่ในท่านี้
8.ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องท่าอุ้มวางตัก (Lap Hold)
เป็นท่าที่คุณแม่สามารถใช้ป้อนนมขวดให้ลูกน้อยได้ ในท่าที่วางลูกอยู่บนตัก
- วางเจ้าตัวน้อยลงบนตักคุณแม่
- ใช้มือทั้งสองข้างประคองไว้ใต้ศีรษะลูก โดยให้วางอยู่ใกล้กับหัวเข่า
- อย่าลืมที่จะให้แขนทั้งสองข้างของคุณแม่โอบลำตัวลูกไว้เพื่อให้ลูกรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยนะคะ
8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้องในแต่ละท่าที่ใช้นั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็กด้วยนะคะ สำหรับทารกแรกเกิดนั้นการต้องประคองศีรษะและคอนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จนกว่าลูกจะอายุประมาณ 3-4 เดือน ที่มีพัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อศีรษะและคอได้ดีแล้ว พอที่จะอุ้มลูกในท่านั่งได้ และเมื่อคุณแม่อุ้มลูกควรทำตัวให้สบาย ๆ อย่าไปเกร็งนะคะ รวมไปถึงความมั่นใจที่จะอุ้ม คุณแม่อาจจะรู้สึกกลัว ๆ กล้า ๆ ในครั้งแรก แต่เวลาจะช่วยคุณแม่ทำให้ดีขึ้นได้ค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ข้อมูลจาก :
www.breastfeedingthai.com
www.rmutphysics.com
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
สยบเบบี๋จอมซ่าส์ที่ร้องไห้เก่งมาก ด้วยกระบวนท่าอุ้มลูกซุปเปอร์แมน & ท่าเซิ้งกระติ๊บ (ชมคลิป)
คุณหมอเตือน อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด กระดูกเสื่อม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!