X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกดีดตัวออกจากสังคม มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ติดอยู่ในใจไปจนถึงโต!!

บทความ 3 นาที
ลูกดีดตัวออกจากสังคม มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ติดอยู่ในใจไปจนถึงโต!!

นอกจากพ่อแม่จะเป็นต้นฉบับที่ลูกจะมองตามได้อย่างชัดเจนที่สุด พ่อแม่ยังเป็นบุคคลที่มีอิทธิต่อลูกมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความภูมิใจในตนเอง ฝึกให้ลูกเป็นคนที่เห็นคุณค่าของตนเอง

การมองเห็นตัวเองหรือ self esteem นั้นเป็นเรื่องที่พูดกันถึงอย่างเข้มข้นในยุคปัจจุบัน เด็กบางคนมีปัญหาดีดตัวออกจากสังคมเป็นเพราะ มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง โรคนี้เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ระยะเวลาสั้น ๆ แต่มันจะติดอยู่ในใจไปจนถึงโต

ปลดล็อคโรค มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง สร้างเซลฟ์ให้ลูกมีเซลฟ์เอสตีมได้อย่างไร

การรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเองนั้นได้มาจากพัฒนาการ 2 ส่วนใหญ่ๆ ทางหนึ่งมาจากคำชมเชย พ่อแม่กล่าวชมเชยเมื่อลูกมีความพยายามที่จะตั้งใจทำสิ่งนั้นจนสำเร็จ หรือมีคนมาบอกกล่าวความดีผลสำเร็จ กับอีกทางคือการประเมินตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เด็กได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าผลลัพธ์ต่อตัวเองออกมาทางบวก ลูกก็จะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง มีความเคารพและมองเห็นคุณค่าของตัวเอง เกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจ แต่ถ้าความรู้สึกเป็นไปในทางลบ ก็จะทำให้รู้สึกได้ว่าตัวเองจะไม่เป็นที่รักของพ่อแม่ ไม่เก่ง ไม่มีคุณค่า แย่มากในสายตาคนอื่น ฯลฯ ดังนั้นการสร้างให้ลูกมี self esteem หรือมองเห็นคุณค่าในตัวเองตั้งแต่ในตอนเล็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะมีเซลฟ์เอสตีม เด็ก ๆ หรือคนทุกคนต้องมีเซลฟ์ (self) ก่อน ซึ่งหมายถึงการมีตัวตนในทางจิตวิทยาว่าเราเป็นใคร ทำอะไรอยู่ และการควบคุมตัวตนให้อยู่ในร่องรอยได้จะเกิดเซลฟ์เอสตีมดี คือความภูมิใจในความสามารถที่ตัวเองทำได้ ซึ่งการสร้างตัวตนของเด็กจะเกิดขึ้นตั้งแรกเกิดจนกระทั่งอายุ 3 ขวบ พอหลัง 3 ขวบลูกจะเริ่มสร้างตัวตนที่ชัดเจนพอสมควร และจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งการได้มองเห็นหรือมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง” พ่อแม่จึงมีผลกับ self esteem ของลูกเป็นอย่างยิ่ง

มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

สิ่งสำคัญคือการที่พ่อแม่ต้องตระหนักถึง “ตัวตน” ของตัวเองด้วยว่า พ่อแม่คือคนที่ใกล้ชิดลูกมากและเป็นคนที่ลูกรักมากที่สุด สิ่งที่ลูกพยายามแสดงให้เห็นก็เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ ดังนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในช่วง 3-4 ขวบปีแรกจึงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ถึงความมีคุณค่าในตนเองของลูก ประการต่อมาคือ ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อตัวลูก พ่อแม่ต้องมีความเชื่อว่าลูกสามารถทำได้ เป็นเด็กดีและน่ารัก ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับในตัวตนที่พ่อแม่สร้างความมั่นใจให้ หลาย ๆ สิ่งที่พ่อแม่คิดและเชื่อจะกลายเป็นสิ่งที่ลูกเชื่อด้วย คล้ายกับกระจกสะท้อน เช่น ถ้าพ่อแม่คอยบอกว่าลูกเป็นเด็กดื้อ ซน หรือเกียจคร้าน ลูกก็จะซึมซับในตัวตนตรงนั้น แม้จะเป็นการพูดแบบไม่มีเจตนา แต่เมื่อถูกตอกย้ำบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองเป็นอย่างที่พ่อแม่ว่า ดังนั้นคำพูดที่เกิดจากพ่อแม่จึงมีผลที่มาสะท้อนต่อลูกมาก

Advertisement

สร้างวิธีคิดให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง อ่านหน้าถัดไปนะคะ >>

3 วิธีเพิ่มความคิดที่เป็นบวกช่วยลูกให้เห็นคุณค่าของตนเอง

มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

#ไม่ใช้คำพูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

เด็กทุกคนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งพรสวรรค์ หน้าตา อารมณ์ ความสามารถที่แตกต่างกัน ในฐานะที่เป็นพ่อแม่การใช้เปรียบเทียบลูกกับคนอื่นนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือลูกไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความมั่นใจในตนเอง  ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการมองหาศักยภาพในตัวตนของลูก มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความชอบ สิ่งที่ลูกถนัด ให้ลูกเรียนรู้ว่าคุณค่าของตัวเองนั้นมาจากความสามารถ ความคิดดี ๆ ไม่ใช่เพียงแค่รูปลักษณ์หน้าตา หากลูกพยายามทำสิ่งนั้นได้ดี การใช้คำพูดชมเชยในบางจังหวะก็จะทำให้ลูกได้รับกำลังใจ ยิ่งได้รับพลังบวกจากพ่อแม่มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกมีค่าในตัวเองมากขึ้น

#2 แสดงให้เห็นว่าลูกคือคนสำคัญ

หาโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูก เช่น ไปงานกีฬาสี หรือการแสดงบนเวที เพื่อทำให้ลูกมองเห็นว่าเขาคือคนสำคัญสำหรับพ่อแม่ แสดงออกถึงความรักที่มีต่อลูก คอยร่วมหัวเราะเวลาลูกทำตลก ชื่นชมกับผลงาน ให้เวลาเพื่อที่จะได้สร้างความสุขและความสนุกไปร่วมกัน

มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

#3 ยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของลูก

ไม่มีใครทำอะไรได้เพอร์เฟค แม้แต่ตัวพ่อแม่เอง ลูกก็เช่นกัน ถ้าพ่อแม่ยอมยอมรับลูกในข้อดีและไม่ดีของลูกได้ ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเองได้อย่างที่เป็นมองเห็นคุณค่าของตัวเองไปพร้อมๆ กับข้อไม่ดีที่ควรแก้ไขปรับปรุง การยอมรับตัวตนของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างถูกทาง และเมื่อยอมรับลูกได้แล้วก็ช่วยกันคิดหาทางที่เหมาะสมกับลูกด้วย เช่น ลูกไม่ชอบเรียนวิชานี้สิ่งที่แก้ไขได้ไม่ใช่แค่เรียนกวดวิชา แต่พ่อแม่ร่วมด้วยช่วยกันในการหาทางทำให้รู้สึกว่าวิชาที่ลูกไม่ชอบนั้นสนุกและไม่ยากอย่างที่ลูกคิด เป็นต้น

#4 เปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจและแสดงความคิด

ลูกก็คือส่วนหนึ่งของครอบครัว ดังนั้นการตัดสินใจบางเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องของตัวลูกเองบางอย่างพ่อแม่อาจหันมาถามความคิดเห็น แสดงความชอบหรือไม่ชอบ โอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจเอง และสามารถโต้แย้งในเรื่อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล หากพ่อแม่คอยสนใจและรับฟัง และคอยทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนความคิดที่ดีของลูก จะยิ่งทำให้ลูกเล็งเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

การปลูกฝังพื้นฐานการเลี้ยงลูกดี ๆ นั้นควรเริ่มต้นทำมาก ๆ ในสามขวบปีแรก ซึ่งจะทำให้ลูกสร้างและมีตัวตนให้รู้สึกรักตัวเอง ดูแลตัวเอง ควบคุมตัวเอง มองเห็นคุณค่าและมีความมั่นใจ ซึ่งจะทำให้พัฒนาตัวตนต่อเนื่องไปในอนาคตต่อไป.


ที่มา :

www.si.mahidol.ac.th

www.breastfeedingthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

สอนลูกไว้ไม่เป็น โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง แค่พูด “ขอโทษ”

เตือนพ่อแม่ระวังโรคใหม่ของเด็กไทย “โรคไม่รู้จักความลำบาก”!!

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกดีดตัวออกจากสังคม มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ติดอยู่ในใจไปจนถึงโต!!
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว