X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ทำไมแม่บางคนคลอดลูกยาก แต่ก็มีที่คลอดไม่รู้ตัว

บทความ 3 นาที
อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ทำไมแม่บางคนคลอดลูกยาก แต่ก็มีที่คลอดไม่รู้ตัว

แม่ท้องสงสัยทำไมแม่บางคนคลอดลูกง่ายๆ คลอดไม่รู้ตัวเลยก็มี แม่นี้อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ต้องทำยังไง เห็นบ้านอื่นคลอดยากเบ่งหลายทีกว่าจะออก ใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าที่ลูกจะคลอด

ไม่มีใครอยากคลอดลูกยาก ไม่มีใครอยากนอนรอในห้องคลอดนาน ๆ อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ต้องทำยังไง ทำไมแม่บางคนคลอดง่าย คลอดไม่รู้ตัว ทำไมแม่บางคนคลอดยากมาก ใช้เวลานานกว่าจะคลอด

ทำไมแม่บางคนคลอดง่าย คลอดไม่รู้ตัว บางคนคลอดยาก

การคลอดบุตรเป็นขบวนการตามธรรมชาติ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะสามารถคลอดบุตรทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ก็มีบางภาวะที่มีความเสี่ยงสูงหากคลอดทางช่องคลอด เช่น ครรภ์แฝด หรือ ก้นทารกเป็นส่วนนำ ซึ่งจำเป็นต้องมีทีมงานที่พร้อม เครื่องมือที่พร้อม และสูติแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการทำคลอดดังกล่าว ในขณะที่บางภาวะห้ามคลอดทางช่องคลอด จำเป็นต้องนัดผ่าคลอดเท่านั้น เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นต้น

 

การพิจารณาช่องทางคลอด สามารถประเมินได้จาก 4 ปัจจัย คือ

ช่องทางคลอด (Passage) เชิงกรานแม่แคบหรือกว้าง

ช่องทางคลอด (Passage) สูติแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าเชิงกรานของคุณแม่กว้างหรือแคบสำหรับการคลอดบุตรทางช่องคลอดหรือไม่ โดยการตรวจภายในคลำปุ่มกระดูกเชิงกราน หรือในบางกรรณีอาจมีการส่งตรวจเอกซเรย์เชิงกราน

 

ทารกผู้คลอด (Passenger) น้ำหนักทารก ท่าทารก

ทารกผู้คลอด (Passenger) สูติแพทย์จะประเมินสองส่วน ส่วนแรกคือ การคะเนน้ำหนักทารก ว่าหนักเท่าใด ด้วยการคลำหรือตรวจคลื่สนเสียงความถี่สูงประเมินน้ำหนักทารก

ส่วนที่สองคือ การประเมินท่าของทารก ทั่วไปทารกจะหมุนให้ศีรษะเป็นส่วนนำ ก้มหน้าคางชิดอก และคว่ำหน้าลง หากเป็นท่าอื่นเช่นก้นนำ หรือ หน้านำ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปว่าจะสามารถคลอดทางช่องคลอดได้หรือไม่

 

กำลังการหดรัดตัวของมดลูกและการเบ่งคลอด (Power) เจ็บท้องคลอด เบ่งคลอด

กำลังการหดรัดตัวของมดลูกและการเบ่งคลอด (Power) กำลังในที่นี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การเจ็บครรภ์คลอดในช่วงรอคลอด จะมีการบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ปากมดลูกเปิดมากขึ้นตามลำดับ ระหว่างที่รอให้ปากมดลูกเปิดนี้ จะเร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่

  • ครรภ์แรกจะเปิดช้า
  • ครรภ์หลังจะเปิดเร็ว
  • ถ้ามีการบีบหดรัดตัวดีปากมดลูกจะเปิดเร็ว
  • ถ้ามีน้ำคร่ำเดินแล้วปากมดลูกจะเปิดได้เร็ว
  • ถ้ามีประวัติคลอดก่อนกำหนดปากมดลูกก็จะเปิดเร็ว
  • ทั่วไปครรภ์แรกจะใช้เวลารอประมาณ 8-10 ชั่วโมง ส่วนครรภ์หลังก็จะใช้เวลาน้อยกว่า
  • บางรายเพียง 1-2 ชั่วโมงก็พร้อมที่จะเบ่งคลอด

ส่วนที่สองคือกำลังใน การเบ่งคลอด ในครรภ์แรกจะใช้เวลานานกว่า เนื่องจากไม่มีประสบการณ์และมีความกังวลสูงทำให้เบ่งไม่ถูกต้อง ไม่ถูกจังหวะอาจเบ่งนานถึง 1 ชั่วโมง ในครรภ์หลังจะใช้เวลาน้อยกว่าบางรายเพียง 10-15 นาที ก็คลอดบุตรสำเร็จแล้ว

Advertisement

 

กำลังใจ (Psychology) แม่เตรียมตัวคลอด ฝึกกำหนดลมหายใจ ซ้อมเบ่งคลอด

กำลังใจ (Psychology) คุณแม่บางรายมีความตั้งใจจริงที่จะคลอดเอง บางรายอยากคลอดตามธรรมชาติ  โดยที่ไม่ให้คุณหมอช่วยทำคลอด มีการเตรียมตัวด้วยตนเองมาอย่างดี มีการกำหนดลมหายใจ ฝึกซ้อมการเบ่งคลอด ฟิตร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมโดยเฉพาะ ฝึกความอดทนต่อความเจ็บปวดจากการคลอด ฝึกวิธีบรรเทาความเจ็บปวด ผ่อนคลาย

ในขณะที่คุณแม่บางรายตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าจะผ่าคลอดเท่านั้น ไม่ทนเจ็บเด็ดขาด ร้องโวยวายเมื่อเจ็บครรภ์ ไม่ให้ความร่วมมือใดใดในการคลอด จะขอผ่าตัดเพียงอย่างเดียว จึงจะเห็นว่ากำลังใจนั้นมีความสำคัญไม่แพ้อีก 3 ปัจจัยข้างต้นเลย

คุณแม่อยากคลอดง่าย วิธีช่วยคลอดง่าย

การเตรียมตัวสำหรับคลอดบุตร เริ่มตั้งแต่

  1. การฝากครรภ์
  2. คุณแม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำหนักตัวขึ้นตามเกณท์ 10-12 กิโลกรัม ให้ได้เด็กทารกที่น้ำหนักมาตรฐานไม่ใหญ่เกินไป ทำให้คลอดยากได้
  3. ออกกำลังกายบ้างเล็กน้อย เป็นการฝึกกำลังกล้ามเนื้อให้มีความฟิต การคลอดเปรียนเสมือนการวิ่งมินิมาราธอน ถ้าไม่มีการฝึกซ้อมมาก่อนบ้างจะทำให้คลอดลำบากได้
  4. ฝึกกำหนดลมหายใจ
  5. ฝึกการเบ่งคลอดที่ถูกต้อง เรียนรู้จากสื่อ จากผู้รู้ จากบุคคลที่เคยผ่านการคลอดมาก่อน จะทำให้เรารู้และเข้าใจขั้นตอนการคลอด ช่วยคลายกังวล คลายเครียดลงได้
  6. ถ้าเป็นไปได้บางแห่งให้คุณแม่ไปเยื่ยมชมห้องคลอดก่อนได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และบุคคลากรในห้องคลอด ยิ่งถ้าให้สามีเข้าห้องคลอดได้ เป็นการให้กำลังใจที่ดีมากต่อผู้คลอด

 

เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้คลอดสูติแพทย์จะทำการประเมินอีกครั้งว่าสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้หรือไม่ หรือเหมาะสมที่จะผ่าตัดคลอดมากกว่า รวมทั้งมีการพิจารณาร่วมกันกับผู้คลอดและสามีด้วยเพื่อว่างแผนการคลอดต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 เคล็ดลับเตรียมตัวเมื่อต้องผ่าคลอด

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด คุณแม่อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?

อาการของแม่ท้องทั้ง ปวดหลัง ปัสสาวะเล็ด ตดบ่อย รับมือยังไง

วีดีโอกำเนิดทารก

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อยากคลอดเร็วๆ อยากคลอดลูกง่าย ทำไมแม่บางคนคลอดลูกยาก แต่ก็มีที่คลอดไม่รู้ตัว
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว