X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง

บทความ 3 นาที
สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง

คุณแม่คงเคยได้ยินข่าวการสำลักนมในเด็กเล็กจนเสียชีวิตบ้างไหมคะ คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลาย ๆ คนว่าการสำลักนมในเด็กนั้นมีอันตรายถึงชีวิตเชียวหรือ ติดตามอ่านสำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึงกันค่ะ

สาเหตุการสำลักนม

แบ่งออกเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายใน

-เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืน  ได้แก่  ปากแหว่งเพดานโหว่  ทำให้ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหารกับระบบทางเดินหายใจมีปัญหาหรือภาวะหูรูดทางเดินอาหารยังปิดไม่สมบูรณ์

-ทารกที่มีปัญหาเรื่องปอดและหัวใจ  ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้นในขณะที่ดูดนม  จึงมีโอกาสสำลักนมมากกว่าเด็กปกติทั่วไป

-เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการที่ล่าช้า  หรือเคยมีประวัติชักก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะสำลักนมได้ง่าย

ปัจจัยภายนอก

-วิธีการให้นม  ถ้าเด็กดูดนมแม่มักจะไม่เกิดปัญหาสำลักนมหรือมีโอกาสน้อยเพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูดนมก็ตามนมจะไหลออกมาตลอด  ถ้าคุณแม่อุ้มลูกในท่าที่ไม่ถูกวิธี  เช่น  ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้  หรือการให้ลูกนอนกินนมล้วนเป็นสาเหตุให้ลูกสำลักนมได้

-ความเข้าใจผิดของคุณแม่  เวลาที่ลูกร้องก็ป้อนนมอาจเพราะเข้าใจผิดว่าลูกหิว   ซึ่งอาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหารเกินความต้องการ ส่งผลให้ทารกสำลักนมออกมา  การร้องไห้ของลูกนั้นควรหาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน  เช่น  ร้องเพราะอยากให้อุ้ม  ร้องเพราะไม่สบายตัว  ร้องเพราะอึหรือฉี่  เป็นต้น

-การใช้จุกนมขวดที่ผิดขนาด  และไม่เหมาะสมกับช่วงวัย  ทำให้ปริมาณนมไหลออกมามากกว่าปกติ  ทำให้เด็กสำลักนมได้

สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายใกล้ตัว

การสำลักนมในเด็กอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันระวังและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้  วิธีการสังเกตอาการสำลักนมมีดังนี้

-ในระหว่างที่ลูกดูดนมจากขวดนั้น  แรก ๆ ลูกจะมีอาการไอ  เหมือนกับจะขย้อนนมออกมาหากสำลักไม่มาก อาจจะไอเพียงเล็กน้อย 2 – 3 ครั้งก็จะหายเอง เมื่อหายใจแล้วคุณแม่ควรลูกนั่งเอามือประคองหน้าไว้ ค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ อีกครั้งเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น

-กรณีลูกมีอาการสำลักนมมาก  จะมีอาการไอแรงจนหน้าแดง  หรือมีเสียงหายใจที่ผิดปกติ มีเสียงครืดคราดขณะหายใจ หากเป็นเช่นนี้ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย

Advertisement

-กรณีที่ลูกกินอาหาร  ขนม  ผลไม้ เป็นต้นไปก่อนที่จะกินนม   เมื่อเกิดอาการสำลัก จะมีอาการตัวเขียว  หรือมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา  เช่น  มีอาการไอเรื้อรัง  มีเสียงหายใจครืดคราดเป็นเสียงหายใจที่ผิดปกติ  หากเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

 วิธีป้องกันไม่ให้เด็กสำลักนม

1.ควรให้นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกและเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม  คือ  6 เดือนเป็นต้นไป  เพราะในช่วงนี้อวัยวะการดูดกลืนจะทำงานได้ดีกว่าในช่วงแรกเกิด  และสามารถชันคอตั้งตรงได้ทำให้โอกาสในการสำลักมีน้อยลง

2.จับเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จแล้ว  วัยแรกเกิด – 2 เดือน  ที่คอยังไม่แข็ง  ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ  แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ

3.สำหรับเด็กทารกที่คอแข็งดีแล้ว  สามารถใช้วิธีอุ้มพาดบ่าใช้มือประคอง ลูบหลังขึ้นเบา  ๆ

วิธีช่วยเหลือเมื่อลูกสำลักนม

จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง  เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่ติดค้างในปากไหลย้อนกลับไปที่ปอด

ข้อควรระวัง  ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นทันทีที่เกิดการสำลัก

เอกสารอ้างอิง

https://natur.co.th/

www.thaibreastfeeding.org/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทา

ผมยุ่งหน้าเยิน นี่แหละเรื่องจริงของแม่ให้นมลูก

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว