สัญญาณอันตรายของแม่ตั้งครรภ์ ที่ต้องไปพบหมอด่วน
แม่ท้อง ที่มีอายุครรภ์มากตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป มักจะมีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่ไม่ระวัง หรือละเลยการสังเกตุอาการของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาณอันตรายของแม่ตั้งครรภ์ เหล่านี้
1. เลือดออกทางช่องคลอด
สาเหตุที่ทำให้แม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ มีเลือดออกทางช่องคลอด มาจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน คือ รกลอกตัวก่อนกำหนด และรกเกาะต่ำ
- รกลอกตัวก่อนกำหนด : เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือถูกกระแทกอย่างแรกบริเวณหน้าท้อง โดยจะมีอาการเตือน คือ จะมีเลือดออกทางช่องคลอด บริเวณหน้าท้องจะแข็ง ซึ่งพอกดลงไปแล้วจะรู้สึกเจ็บ หรือมีมดลูกที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการขังตัวของเลือด
- รกเกาะต่ำ : จะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด แต่ไม่มีอาการเจ็บที่ท้อง ถ้าคุณหมอพบว่าเลือดที่ออกมีมากเกินไป จะทำการหยุดเลือดโดยการนำเด็กในท้อง และรกออกมาให้เร็วที่สุด หรือที่เรารู้จักกันดีถึง การคลอดก่อนกำหนด
2. น้ำเดินก่อนกำหนด
ลักษณะของน้ำเดิน จะเป็นการที่มีน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะไหลออกจากช่องคลอด หากแม่ตั้งครรภ์คนใด ที่มีอาการแบบนี้ แสดงว่าถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว แสดงว่าได้เวลาคลอด ดังนั้น คุณแม่จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้ อาจเกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกอย่างรุนแรง จนส่งผลให้แม่ และลูกเสียชีวิตได้
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น หากพบว่ามีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ให้คุณแม่งดเดิน หรือเคลื่อนไหว นำผ้าอนามัยมาใส่เพื่อซับน้ำ สังเกตอาการดูว่าภายใน 2 – 3 ชั่วโมงน้ำหยุดไหลหรือยัง ถ้ายังให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
3. ปวดท้อง – ท้องแข็ง
- ลักษณะการปวดท้อง : ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว
- ลักษณะของท้องแข็ง : รู้สึกว่ามดลูกบีบรัดตัวเป็นก้อนกลม
สาเหตุ : มาจากการกลั้นปัสสาวะของคุณแม่ ทำให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังมาจากการท้องเสีย การร่วมเพศที่รุนแรง พักผ่อนน้อย และทำงานหนักเกินไป
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น : โดยปกติอาการท้องแข็ง มักจะเกิดจากการพลิกตัว หรือลูกดิ้น ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าท้องแข็ง ให้นอนพักมาก ๆ แต่ถ้านอนแล้วยังมีอาการท้องแข็งอยู่ ทุกครึ่งชั่วโมงติดต่อกัน 2 – 3 ชั่วโมง ควรรีบไปหาหมอโดยด่วน
4. ตัวบวม
ลักษณะอาการ : มีการบวมตั้งแต่หลังเท้าไปจนถึงหน้าแข้ง มือบวม นิ้วบวม ปวดหัว และตาพร่ามัว หากปล่อยไว้ คุณแม่อาจเกิดการชัก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุ : อาการบวมที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ที่อาจมาจากพันธุกรรม คือมีประวัติคนในครอบครัวที่มีความดันโลหิตสูง ตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการนี้ได้เช่นกัน
5. ลูกดิ้นน้อย
ลักษณะอาการ : คุณแม่ควรที่จะนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น หลังจากทานข้าว แล้วดูว่าภายใน 1 ชั่วโมงนั้น ลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งหรือไม่ จากนั้นอีก 1 ชั่วโมงต่อมา ถ้าลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยกว่าสามครั้ง แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น ดังนั้นตัวคุณแม่ จำเป็นจะต้องไปหาคุณหมอ ให้ไวที่สุด
สาเหตุหลัก มี 3 ข้อ ได้แก่ :
- เด็กขาดออกซิเจน
- การทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ลดลง
- การทำงานของรกที่ผิดปกติ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงเด็กน้อยลง
โดยอาการทั้งหมดเหล่านี้ จะลดภาวะเสี่ยงการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ ถ้าคุณแม่หมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ พักผ่อนมาก ๆ และไปพบแพทย์ทุกครั้งที่มีนัด
ที่มา: คู่มือของกรมอนามัย “สุขใจ ได้เป็นแม่”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ตั้งครรภ์ระหว่างรอคลอด ช่วงเวลาที่ทรมาน เตรียมรับมือยังไงดี ?
ข้อห้ามคนท้องอ่อน ระวังให้ดี ก่อนเผลอทำร้ายลูกในครรภ์
วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้ !
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!