X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปลูกฝังรักการอ่านให้ลูกตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยอนุบาล

บทความ 3 นาที
ปลูกฝังรักการอ่านให้ลูกตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยอนุบาล

พ่อแม่นักอ่าน แน่นอนว่านิสัยรักการอ่านย่อมส่งผ่านไปถึงลูกอย่างแน่นอน การอ่านหนังสือให้ลูกฟังสามารถทำได้ตั้งแต่ทารกน้อยยังอยู่ในครรภ์ ยิ่งเจ้าหนูคลอดออกมาแล้วอย่าหยุดอ่านค่ะ!!!คุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยอนุบาล ทำอย่างไร ติดตามอ่าน

ปลูกฝังรักการอ่านให้ลูกตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยอนุบาล

ลูกรักการอ่านเริ่มที่พ่อแม่!!!

สอนลูกรักการอ่าน

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังสามารถทำได้ตั้งแต่เจ้าหนูยังอยู่ในครรภ์ แต่สิ่งสำคัญคือการ “ต่อยอด” เมื่อทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว การอ่านหนังสือให้ลูกฟังแม้เขาจะอยู่ในวัยทารก คุณพ่อคุณไม่ต้องกังวลไปนะคะว่า อ่านไปแล้วลูกจะเข้าใจหรือ มีประโยชน์อย่างไรหากอ่านไปแล้วลูกไม่เข้าใจ มาดูกันค่ะว่า ทำไมจึงควรอ่านหนังสือให้ลูกฟังแม้ว่าเขาจะยังไม่เข้าใจก็ตาม !!!

1. แรกเริ่มการอ่านหนังสือให้ทารกในครรภ์ คือ การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง เด็กจะมีความจำเกี่ยวกับคำ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้ยิน แต่เด็กจะคุ้นชินกับคำ และประโยคที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ยิ่งถ้าพ่อแม่มีการต่อยอดหลังลูกคลอดออกมา เด็กก็จะยิ่งมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น และเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

บทความแนะนำ แม่ท้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดทารกตั้งแต่ในครรภ์

2. การต่อยอดเพื่อสอนลูกรักการอ่าน การอ่านหนังสือ โดยเฉพาะสำหรับลูกที่ยังเล็ก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของหนังสือแต่อย่างใด ยิ่งมีหนังสือมาก จะยิ่งทำให้เด็กอ่านมาก แต่ในความเป็นจริงการอ่านหนังสือเริ่มจากความประทับใจหนังสือเพียงไม่กี่เล่มหรือแม้แต่เล่มเดียวก็ตาม การที่ลูกให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปซ้ำมาเช่นนี้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเป็นนักอ่านได้มากกว่าเด็กที่ถูกบังคับให้อ่านหนังสือมากมาย

Advertisement

3. ทุกเสียงที่คุณพ่อและคุณแม่อ่านเป็นคำ ๆ ให้ลูกฟังจะกระตุ้นให้สมองของลูกบันทึกและสร้างวงจรของคำศัพท์ต่าง ๆ เอาไว้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ยิ่งถ้าอ่าน สอนลูกรักการอ่าน และการใช้คำจากหนังสือสอนลูกในวัยก่อน 3 ขวบมากเท่าไร เด็กจะมีชุดของคำเป็นหมื่น ๆ คำ ซึ่งคำมีผลต่อสติปัญญามาก

4. หนังสือที่มีรูปเล่มดี ภาพประกอบสวย ใช้สีสด ๆ ย่อมดึงดูดเด็กเล็กได้มากกว่าหนังสือที่ดูเรียบๆ ก็จริงอยู่ หากลูกเริ่มโตพูดคุยกันได้เข้าใจ โดยเฉพาะในวัยอนุบาล หนังสือที่ลูกจะอ่านหรือรักที่จะอ่าน ย่อมอยู่ที่เนื้อหาหรือเรื่องราวที่เด็กรู้สึกสัมผัสได้ เชื่อมโยงได้กับการเรียนรู้รอบ ๆ ตัว สัมพันธ์กับผู้คนและบรรยากาศที่ทำให้เด็กได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่าง และเปิดช่องทางให้เด็กได้คิด ได้ถาม ได้สงสัย และครุ่นคิดด้วยตนเอง ทำให้เกิดการพัฒนาด้านการคิด วิเคราะห์ต่อไป

บทความแนะนำ สุดยอด 3 เคล็ดลับอ่านหนังสือกับลูกวัยหัดพูด

5. สิ่งสำคัญ พ่อแม่ไม่ควรคาดหวังหรือเปรียบเทียบการอ่านของลูกกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะเด็กแต่ละคน แต่ละวัย มีพัฒนาการด้านการอ่านแตกต่างกันไป และไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนจะมีนิสัยรักการอ่านเท่าๆ กัน เป้าหมายสำคัญของการอ่านและนิสัยรักการอ่าน อยู่ที่การอ่านเป็น และสามารถใช้การอ่านเป็นสะพานเชื่อมโยงสู่พัฒนาการในด้านต่างๆ ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรนำลูกมาเปรียบเทียบกันว่า ใครอ่านมากกว่า หรือสนใจอ่านหนังสือประเภทใดมากน้อยกว่ากัน แล้วคะยั้นคะยอบังคับลูกเพื่อให้เหมือนคนอื่น

อ่าน เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกรักการอ่าน คลิกหน้าถัดไป

เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ลูกรักการอ่าน

1. สภาพแวดล้อม

สอนลูกรักการอ่าน

เด็กที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่การอ่านและหนังสือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในบ้าน และเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมต่างๆ จะสนใจการอ่านและสามารถได้รับการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้ง่าย ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่คนที่สนใจหนังสือหรือรักการอ่าน ก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดหวังให้ลูกสนใจหนังสือหรือรักการอ่านได้ เว้นเสียแต่ว่าเด็กจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว เช่น บางครอบครัวที่คุณปู่ คุณย่า รักการอ่านและมีเวลาอยู่กับหลาน ๆ มากกว่าคุณพ่อคุณแม่ซึ่งต้องออกไปทำงาน เด็กก็อาจมีนิสัยรักการอ่านตามคุณปู่คุณย่าได้เช่นกัน

2. ความสัมพันธ์และความประทับใจที่มีหนังสือเป็นส่วนประกอบ

สอนลูกรักการอ่าน

องค์ประกอบ หมายถึง บรรยากาศประทับใจที่มีการอ่านและหนังสือเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น แม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอน หลานอ่านหนังสือให้ยายฟัง พ่อเล่าเรื่องจากหนังสือที่อ่านให้ลูกฟัง อาตั้งใจซื้อหนังสือมาให้เป็นของขวัญ เป็นต้น บรรยากาศที่สะท้อนความสัมพันธ์อันใกล้ชิดอบอุ่นเช่นนี้ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างนิสัยรักการอ่าน และควรเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและเป็นกันเอง

บทความแนะนำ ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ทำอย่างไรให้เด็กรักการอ่าน

3. สอนให้ลูกเข้าใจประโยชน์ของการอ่าน

สอนลูกรักการอ่าน

การสอนให้ลูกรักการอ่าน สอนให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการอ่าน สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น พาลูกออกไปข้างนอก ชี้ชวนให้ลูกดูป้ายบอกทาง อ่านชื่อซอย ชื่อถนน ชื่อร้านค้าที่เดินผ่าน เป็นต้น ทำให้ลูกรู้และเข้าใจได้เองว่า หากเราอ่านหนังสือเป็นก็จะทำให้ไปไหนมาไหนได้ถูก รู้จักสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น การทำเช่นนี้เป็นการกระตุ้นให้ลูกสนใจและรักการอ่าน เพราะเห็นประโยชน์สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. การเขียนแสดงความรู้สึกนึกคิด

สอนลูกรักการอ่าน

พัฒนาการด้านการอ่านและเขียน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป เด็กที่ได้รับการสนับสนุนให้เขียน รวมทั้งวาดภาพ เพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการของตนเอง การเขียนช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารออกมาเป็นตัวอักษรได้ การสนับสนุนให้เด็กเล็กหรือเด็กในวัยก่อนอนุบาลหรือวัยอนุบาลเขียน ไม่ควรเน้นที่ความถูกต้อง การสะกดคำ หรือหลักไวยากรณ์ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าการเขียนเป็นสิ่งสร้างข้อผิดพลาดและคำตำหนิ แต่ควรให้คำแนะนำวิธีการเขียนถูกต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตนเองทำผิดจะทำให้รู้สึกไม่กล้าเขียนได้

5. การสนับสนุนให้กำลังใจ

. การเขียนแสดงความรู้สึกนึกคิด พัฒนาการด้านการอ่านและเขียน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป เด็กที่ได้รับการสนับสนุนให้เขียน รวมทั้งวาดภาพ เพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการของตนเอง การเขียนช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารออกมาเป็นตัวอักษรได้ การสนับสนุนให้เด็กเล็กหรือเด็กในวัยก่อนอนุบาลหรือวัยอนุบาลเขียน ไม่ควรเน้นที่ความถูกต้อง การสะกดคำ หรือหลักไวยากรณ์ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าการเขียนเป็นสิ่งสร้างข้อผิดพลาดและคำตำหนิ แต่ควรให้คำแนะนำวิธีการเขียนถูกต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตนเองทำผิดจะทำให้รู้สึกไม่กล้าเขียนได้

นิสัยรักการอ่าน คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถบังคับลูกได้ แต่สามารถกระตุ้นและสนับสนุนได้ โดยให้กำลังใจเมื่อลูกสนใจหนังสือ อ่านหนังสือ หรือเขียนหนังสือ วิธีการให้กำลังใจควรเป็น การซักถามชื่อเรื่อง ผู้แต่ง เนื้อหา การให้เด็กอธิบายสิ่งที่ตัวเองอ่าน การพูดคุยอย่างเป็นกันเองเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือ การเล่าประสบการณ์หรือเรื่องราวเสริม การขอดูรายละเอียดบางส่วนของหนังสือ วิธีที่แสดงความสนอกสนใจอย่างจริงจังทำนองนี้ ดีกว่าการกล่าวคำชมเชยเฉยๆ ซึ่งหากกระทำซ้ำๆ หรือยกยอกันมากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลในทางลบได้ง่าย

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://libsci.buu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

7 เทคนิคอ่านหนังสือช่วยพัฒนาสมองให้ลูก

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อสอนลูกอ่านหนังสือ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ปลูกฝังรักการอ่านให้ลูกตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยอนุบาล
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว