X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีทำให้ลูกพูดเบา ๆ หน่อย

บทความ 5 นาที
วิธีทำให้ลูกพูดเบา ๆ หน่อย

เด็กจะมีระดับเสียง 2 ระดับ คือ ดัง กับดังมาก เวลาออกไปข้างนอกคุณต้องคอยบอกลูกว่าพูดเบา ๆ หน่อยกันหรือเปล่า ถ้าใช่ เรามี 6 วิธีแก้ปัญหาลูกชอบพูดเสียงดัง

ลูกพูดเสียงดัง แก้อย่างไรดี

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่อยู่ในวัยกำลังเตาะแตะกันก่อน เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยที่ลูก ๆ เริ่มที่จะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเองได้แล้ว การที่ลูกพูดเสียงดัง เป็นสิ่งหนึ่งที่พวกเขายังไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ความดังของเสียง และนั่นเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับลูก ๆ ดังนั้น วันนี้เรามีวิธีการรับมือกับ ลูกพูดเสียงดัง เวลาที่พวกเขาร้องตะโกนเสียงดังมาฝากค่ะ

ลูกพูดเสียงดัง-1

ลูกพูดเสียงดัง-1

1. ก่อนอื่นสำรวจสภาพแวดล้อมของเราเองก่อนว่า เปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดังอยู่หรือเปล่า เพราะสาเหตุหนึ่งที่ลูกชอบร้องตะโกนหรือพูดเสียงดังนั้น ก็มาจากการที่เราเปิดสื่อต่าง ๆ เสียงดัง โดยลูกอาจจะพูดธรรมดาแล้ว แต่เราอาจจะไม่ได้ยิน ลูกจึงจำเป็นต้องตะโกนก็เป็นได้ เมื่อสำรวจดูแล้วว่า เราเปิดเสียงดังปกติ แต่ลูกยังคงร้องตะโกนอยู่ สิ่งแรกที่เราไม่ควรทำเลยก็คือ การตะโกนใส่หน้าลูกให้หยุดร้องตะโกนนั่นเอง

2. เบี่ยงเบนความสนใจ เวลาที่ลูกกำลังทำพายุเสียงที่ดังกระหน่ำอยู่ หากทำอย่างไรพายุก็ยังไม่หยุด สิ่งที่เราทำได้ก็คือ การเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ยกตัวอย่างเช่น การเปิดเพลง และชวนลูกร้องเพลงหรือเต้นไปด้วยกัน หรือไม่ก็ชวนลูกทำเสียงลอกเลียนสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น วิธีการเหล่านี้นี่แหละ ที่จะช่วยให้ลูกลืมช่วงเวลานั้น และสนุกสนานไปกับการทำสิ่งอื่นแทน

3. สอนให้ลูกรู้จักวิธีการใช้เสียง การสอนให้ลูก ๆ รู้ว่า เวลาไหนควรทำเสียงดัง และที่ไหนบ้างที่ควรทำหรือไม่ควรทำนั้น ย่อมเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ เราอาจจะสอนให้ลูกรู้ว่า เวลาที่หนูอยู่ในบ้านหรือไปข้างนอก พูดกับแม่ด้วยน้ำเสียงปกติแม่ก็ได้ยินแล้วละจ้ะ แต่ถ้าหนูอยากตะโกนร้องเสียงดัง หนูควรไปตะโกนเล่นที่สนามเด็กเล่นน่าจะสนุกกว่านะจ้ะ เป็นต้น

Advertisement

4. พาตัวลูกไปที่อื่น ข้อนี้เราอาจจะเจอบ่อย ๆ และแน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนก็กำลังทำวิธีนี้อยู่ เพราะเวลาที่เราไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม หรือโรงพยาบาล เราคงไม่อยากให้ลูกร้องตะโกนเสียงดังรบกวนคนอื่นกันอยู่แล้ว ดังนั้น เวลาที่ลูกร้องแล้วเรานำตัวลูกออกไปจากตรงจุดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้วค่ะ

5. ให้รางวัล หรือคำชม ทุกครั้งเวลาที่ลูก ๆ ร้องตะโกนเสียงดัง แล้วลูกสามารถหยุดได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้คำชมเชยหรือรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ กับลูก ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่อะไร แต่เพื่อให้ลูกมีกำลังใจ และรู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วอยากที่จะทำตัวดีเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ชมอีก

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังประสบกับปัญหาลูก ๆ ชอบร้องตะโกนเสียงดังกันอยู่แล้วละก็ อย่าลืมนำวิธีการเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ

ลูกพูดเสียงดัง-2

ลูกพูดเสียงดัง-2

วิธีปราบเด็กดื้อ แม้ว่าที่ผ่านมา เด็กๆชอบจะทำอะไรก็ตามด้วยความไร้เดียงสา ในขณะที่ผู้ใหญ่ก็มักพูดกันว่า ‘เด็กไม่รู้…ไม่ผิด’ แต่ในความไม่รู้นั้น มันเกิดความถามตามมาว่า พ่อแม่ควรสอนให้เขารู้หรือไม่ว่า การร้องไห้งอแงจะเอาของเล่นโดยไม่ฟังเหตุผลของพ่อแม่ การเอาแต่ใจตนเองอยากไปไหนมาไหนแล้วแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หรือการที่พ่อแม่สอนให้ช่วยเหลืองานบ้าน แต่เขากลับไม่อยากทำเพียงเพราะห่วงเล่นอย่างเดียวนั้นมันเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่น่ารัก

และแน่นอนว่า หลายครอบครัวที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ บางคนหาทางออกโดยการตามใจลูกเสียทุกอย่างเพียงเพราะไม่อยากได้ยินเสียงร้องไห้งอแง หรือเบื่อที่จะฟัง รำคาญที่จะพูด ขณะที่บางคนอาจหาทางออกด้วยการลงไม้ลงมือ ทำโทษลูกตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็นเด็กมีปัญหามากที่สุด

ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้แนะวิธีที่พ่อแม่ควรปฏิบัติกับลูกอย่างถูกวิธีดังนี้

1. “เรียกลูก” เรียกให้เด็กสนใจฟังคุณ และหันมามองคุณก่อนจะบอกให้เด็กทำอะไร เช่น “ต้อม…มองหน้าแม่ ซิ… แม่จะบอกอะไรหน่อยครับ”

2. “ชมลูก” ชมเด็กทันทีที่เด็กหันมาให้ความสนใจที่คุณ เช่น “ดีมากครับ…ที่หันมามองแม่”

3. “พูดดี” ให้ใช้คำพูดที่ง่าย สั้น และชัดเจนทีละคำสั่ง เช่น “เอาล่ะ…ช่วยเอาผ้านี่ไปใส่ตะกร้าให้แม่ทีครับ”

ส่วนสิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เสมอเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกนั้นมีดังนี้
1. “อย่าสั่ง-คาดหวัง” สิ่งที่คุณต้องการให้เด็กทำต้องเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ อย่าสั่งหรือคาดหวังให้เด็กทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก

2. “อย่าพูดซ้ำ” ควรบอกให้เด็กทำงานทีละชิ้นเพียงครั้งเดียว ให้เวลา 5 วินาที สำหรับเด็กในการทำตามที่คุณบอก อย่าพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3

3. “อย่ายัดเยียด” หลีกเลี่ยงการบอกให้เด็กทำงานชิ้นที่ 2 ในขณะที่เขากำลังทำงานชิ้นแรกอยู่

4. “อย่าโลเล” ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเด็ดขาดเอาจริงกับเด็กเวลาเด็กต่อต้านคุณ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะบอกให้เด็กทำอะไร

และเมื่อเด็กเชื่อฟัง ทำตามที่พ่อแม่บอกแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติมีดังนี้
1. “ชมทันที” ควรให้คำชมทันทีที่เด็กเริ่มทำตามที่คุณบอก เช่น“ดีมากครับ…ที่น้องโจลุกมาเก็บของเล่นทันทีที่แม่เรียก…แม่พอใจมากเลย”

2. “ชมอีกครั้ง” และให้คำชมอีกครั้งเมื่อเด็กทำงานที่คุณสั่งสำเร็จ เช่น “เยี่ยมจริงๆ…แม่เห็นเลยว่าหนูตั้งใจล้างจานพวกนี้จนสะอาด…เก่งมากคะ”

3. “ภาษากาย” อย่าลืมภาษากาย!!…แสดงความชื่นชมโดยการหอม กอด ลูบหัว ฯลฯ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

แต่ทว่า หากลูกดื้อเกินกว่าที่คาดไว้ เมื่อเขายังไม่ทำตามสั่งภายใน 5 วินาที…พ่อแม่ควรทำดังนี้
1. “นับ 1…” พ่อแม่ควรเริ่มนับ “1…2…3” (ต้องมีการคุยกับเด็กเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่ คุณบอกจะเกิดอะไรตามมา)

2. “ถึง 3…งานเข้า!!” หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอก ต้องเอาจริง เด็ดขาดในการลงโทษตามกฎที่ตกลงกันไว้ เช่น ริบของเล่น หักค่าขนม ปิดทีวี ปิดเกม ตัดสิทธิในที่เด็กชอบ ฯลฯ อย่าดีแต่บ่น…ขู่ หรือใจอ่อน

3. “เงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหว” เพิกเฉยหากเด็กทำท่าทางไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความหงุดหงิดไม่พอใจ เช่น บ่น งอน ปึงปัง โวยวาย ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นกลเม็ดที่พ่อแม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งเด็กที่ดื้ออาจเชื่อฟังมากขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่พูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์ ให้โอกาสเขาได้เลือกสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้ทำ (แต่สิ่งที่พ่อแม่กำหนดต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับได้) เช่น

ลูกพูดเสียงดัง-3

ลูกพูดเสียงดัง-3

หากคุณต้องการให้เด็กอาบน้ำและแปรงฟัน คุณอาจจะพูดกับเด็กว่า “โอ๋…ได้เวลาอาบน้ำ แปรงฟันแล้วครับ…แม่ให้เลือกเอาว่าโอ๋จะอาบน้ำก่อน หรือแปรงฟันก่อนดีครับ” หากเด็กไม่ยอมเลือกอะไรเลย เตือนเด็กอีกครั้งว่าบทลงโทษของเราสำหรับเด็กที่ไม่เชื่อฟัง คืออะไรโดยใช้คำพูดทำนองนี้ แม่ก็จำเป็นต้องทำตามกฎที่เราคุยกันไว้

 

ที่มาจาก  https://www.babybbb.com/article_detail.php?nid=295 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท่องเที่ยว ท่องอดีต พาลูกเรียนรู้วัฒนธรรม ณ สุโขทัย เมืองประวัติศาสตร์

ลูกพูดไม่ชัดเกิดจากอะไร และแก้ไขได้อย่างไร ปัญหาลูกพูดไม่ชัด

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ณัฐพร จันทร์โชคพงษ์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีทำให้ลูกพูดเบา ๆ หน่อย
แชร์ :
  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว