TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

บทความ 3 นาที
ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

ทำไงดี เมื่อลูกอายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่คว่ำ ไม่รู้ว่าลูกมีปัญหาพัฒนาการช้าหรือเปล่า

แม่กังวลใจ ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ กลัวว่าลูกพัฒนาการช้า หรือมีอาการผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งปกติแล้ว หากลูกน้อยมีอายุ 6 เดือน จะสามารถ พลิกคว่ำ พลิกหงาย ได้แล้ว ทารก 6 เดือนบางคน ชอบที่จะกลิ้งตัวไปมา แถมบางคนยังเริ่มคลานได้แล้วด้วย

พอเห็นแบบนี้ แม่ก็อดกังวลใจไม่ได้ เพราะ ลูก 6 เดือน เข้าไปแล้ว ยังไม่คว่ำ สักที ทั้งนี้ หากจะดูพัฒนาการทารกว่า จะเริ่้มคว่ำได้เมื่อไหร่นั้น ต้องสังเกตก่อนว่า ลูกชันคอได้หรือยัง

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

เมื่อไหร่ลูกจะคว่ำได้

ช่วงแรกเกิด กล้ามเนื้อคอทารกจะยังไม่แข็งแรง ทารกจะเริ่มยกศีรษะได้ช่วง 1 – 2 เดือน แล้วจะคอแข็งจริง ๆ สักอายุ 3 – 4 เดือน

ดังนั้น เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 4 ทารกจะสามารถยันตัวขึ้น พลิกตัวได้บ้าง หรือบางคนก็พลิกคว่ำได้แล้ว เพราะในเดือนที่ 4 นั้น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง และสะโพก จะแข็งแรงขึ้น และในช่วงอายุ 5 – 6 เดือน ทารกมักจะพลิกคว่ำ พลิกหงาย ได้บ้างแล้ว เพราะในวัยนี้ จะสามารถใช้มือยันตัวขึ้น โดยที่ข้อศอกเหยียดตรงขณะที่นอนคว่ำ จึงเริ่มพลิกจากท่านอนหงายเป็นท่าพลิกคว่ำได้

แต่เมื่อลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน หากเปรียบเทียบกับบ้านอื่น อาจจะเห็นพัฒนาการอื่น ๆ เพิ่มเติม จนคุณแม่กลัวว่า ลูกจะพัฒนาการช้าหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกาย และสรีระของตัวทารกเอง ถ้าลูกจ้ำม่ำ เจ้าเนื้อ ก็อาจจะคว่ำได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

วิธีที่จะช่วยให้ทารก ฝึกคว่ำได้

อย่างแรกคือ แม่ไม่ควรอุ้มน้องบ่อย ๆ แต่ลองฝึกให้ลูกนอนคว่ำ หรือลองฝึกพัฒนาการทารก ดังนี้

  • ฝึกลูกน้อยด้วยการอุ้มทารกมานั่งตัก โดยจับลูกให้นั่งห่างจากแม่เล็กน้อย เพื่อึกให้กล้ามเนื้อคอ และหลังแข็งแรงขึ้น
  • อุ้มท่าอุ้มแบบหิ้วมือเดียว โดยใช้มือข้างหนึ่งของคุณแม่หิ้วประคองตรงช่วงหน้าอกลูกไว้
  • จัดบริเวณ หรือทำคอกกั้นให้ลูกได้หัดพลิกคว่ำ เลี่ยงการใช้เปลผ้าห่อหุ้มทารก เพราะลูกจะไม่สามารถพลิกตัวได้
  • ในบริเวณที่ปลอดภัย ซึ่งแม่ได้จัดไว้นั้น ลองหาลูกบอลสีสด ๆ กลิ้งไปกลิ้งมา หรือหา กรุ๋งกริ่ง มาเล่นกับลูก ฝึกให้ลูกหันมองตาม สลับไปสลับมา ลูกจะได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อคอ
  • แขวนของเล่นหรือโมบาย ห่างจากลูกราว 1 ฟุต ให้ลูกมองตาม
  • แม่ต้องเล่น และพูดคุยกับลูก ทำเสียงต่าง ๆ ดึงดูดความสนใจ หรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อฝึกให้ทารกน้อยหันคอไปมา

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกวัย 6 เดือนมีพัฒนาการผิดปกติ

บทความ : อยากรู้ว่าพัฒนาการทารกผิดปกติ! เช็กได้จากสัญญาณเหล่านี้

  • ไม่พลิกคว่ำหงาย อาจมีปัญหาที่ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
  • ยังยันตัวเองขึ้นจากท่านอนคว่ำไม่ได้
  • ใช้ท่านั่งเป็นรูป W มีขาเหยียดเกร็ง เวลาคืบคลาน อาจเกิดปัญหา กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ
  • ยังไม่คว้าของเล่น หรือเอื้อมมือหยิบจับ อาจส่งผลให้มีความผิดปกติ ในการมองเห็น การเรียนรู้ และด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กตามมาได้
  • ยังไม่หันตามเสียงเรียก หรือสนใจมองตามฟังเสียงคนพูด อาจมีความผิดปกติในการได้ยิน และความเข้าใจด้านภาษา
  • ยังไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ อาจมีปัญหาด้านการมองเห็น
  • ยังไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากการมีคนเลี้ยงหลายคน ทำให้ไม่เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับแม่ หรือคนที่เลี้ยงคนใดเพียงคนเดียว

หากกังวลว่าลูกจะมีพัฒนาการช้า หรือแม้กระทั่งรู้สึกไม่สบายใจ คุณแม่สามารถปรึกษา กุมารแพทย์ระบบประสาท กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในเด็ก เพื่อที่จะหาคำตอบได้อย่างถูกต้องที่สุด และพัฒนาลูกให้เติบโตได้อย่างสมวัย

 

อ้างอิง

babyscience.info

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกคอแข็งกี่เดือน ไขข้อข้องใจ? เมื่อใดทารกเริ่มชันคอ

พัฒนาการทารก ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี มีพัฒนาการอะไรบ้าง

ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว