X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเลี้ยงยาก แต่ยากยังไงก็จะเลี้ยงให้ดี!!

บทความ 3 นาที
ลูกเลี้ยงยาก แต่ยากยังไงก็จะเลี้ยงให้ดี!!

เจ้าหนูน้อยวัยเตาะแตะบางคนอาจจะเริ่มออกฤทธิ์ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มเหนื่อย ด้วยความซน ด้วยความแสบ หรือแม้แต่คำพูด ที่ทำให้คุณแม่นั่งกุมขมับ ลูกเลี้ยงยาก อะไรขนาดนี้!!

ถ้าคุณแม่พ่อคุณแม่เจอลูกลงไปนอนร้องไห้กับพื้นเพื่ออยากจะได้ของซักชิ้น หรือปฏิเสธที่จะกินของมีประโยชน์ที่สรรหามาให้ เริ่มโมโห ฉุนเฉียว ต่อต้าน แสดงออกถึงความคิดที่เริ่มเป็นอิสระแบบที่ไม่ฟังพ่อแม่เหมือนตอนช่วงวัย 1 ขวบ และพฤติกรรมที่ยุ่งยากอื่น ๆ ของเด็กน้อยในช่วงวัยเตาะแตะ อย่าเพิ่งคิดว่ากำลังประสบปัญหา ลูกเลี้ยงยาก กันอยู่นะคะ

10 ความพยายามของพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกเชิงบวกสำหรับ ลูกเลี้ยงยากลูกเลี้ยงยาก

#1 บอกความคาดหวังกับลูกไว้ล่วงหน้า

เป็นการดีที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะพูดถึงความคาดหวังอะไรจากตัวลูกในบริบทที่กำหนด เพื่อที่จะได้ให้ลูกเข้าใจและประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากเขารู้ว่าสิ่งที่พ่อแม่ต้องการคืออะไร และยังช่วยให้ลูกเข้าใจถึงเรื่องระเบียบวินัย เช่น ก่อนปล่อยให้ลูกเล่นของเล่นก็บอกล่วงหน้าได้ว่าหลังจากเล่นเสร็จแล้ว พ่อแม่ก็อยากให้ลูกช่วยเก็บของเล่นเข้าที่ด้วยนะจ๊ะ

#2 หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำในเชิงลบ

อย่างเช่น การปฏิเสธหรือออกคำสั่งกับลูกว่าด้วยคำว่า “ไม่ ห้าม อย่า” คำพูดเหล่านี้นอกจะเป็นการไปปิดกั้นพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กวัยกำลังอยากเรียนรู้แล้ว ยังเป็นการขัดใจไปกระตุ้นต่อมทำให้เจ้าหนูผู้เลี้ยงยากรู้สึกอยากต่อต้านขึ้นอีก ดังนั้นการใช้คำพูดด้วยการให้ ความสำคัญในการพยายามที่บอกกับลูกสิ่งที่ทำมันจะไม่ดี และอะไรคือสิ่งที่ลูกสามารถทำได้ดี

ลูกเลี้ยงยาก

#3 ให้ 2 ทางเลือกที่มีผลลัพธ์เหมือนกัน

Advertisement

นี่คือหนึ่งในเคล็ดลับที่ง่ายที่สุดสำหรับการเลี้ยงดูลูกน้อยวัยเตาะแตะที่เลี้ยงยาก การให้สองตัวเลือกที่มีผลลัพธ์เดียวกันนั้นทำให้เด็กน้อยรู้สึกว่าเขาเป็นคนคิดได้เอง ในขณะเดียวกันคุณแม่ก็ได้สมหวังในสิ่งที่ต้องการให้ทำด้วย ตัวอย่างเช่น “ลูกอยากจะใส่รองเท้าเองหรือให้แม่ใส่ให้” หรือ “ลูกอยากที่จะเก็บของที่เล่นในตอนนี้เลยหรือในสองนาทีให้หลัง” ผลลัพธ์เหมือนกันต่างกันที่คำถาม

#4 ให้คำเตือนล่วงหน้าและการใช้การจับเวลา

เด็ก ๆ นั้นจะทำได้ดี เมื่อคุณแม่ใช้การเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะหยุดความสนุกของเขา เช่น การบอกว่าอีก 5 นาทีเราจะเลิกเล่นแล้วไปอาบน้ำกันนะ หรือการใช้นาฬิกาจับเวลาส่งเสียงดัง ติ๊ด ๆ เมื่อถึงเวลา แม้ว่าลูกอาจจะพยายามที่จะยืดเวลาในการเล่นครั้งสุดท้ายออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เขาก็เริ่มรู้ว่า เวลาเล่นของเขาในช่วงนี้หมดแล้ว

ลูกเลี้ยงยาก

#5 นับ 1 ให้ถึง 3

ถ้าลูกไม่ฟังหรือยืนยันเพิ่มทางเลือกอื่นนอกจากสองทางเลือกที่แม่ให้ คุณแม่อาจจะลองยื่นคำขาดกับลูกดู เช่น “แม่จะนับ 1 ถึง 3 และแม่ต้องการให้ลูกตั้งใจฟังให้ดี ๆ หรือจะให้แม่ทำโทษด้วยการนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ การส่งสัญญาณนับเตือนล่วงหน้าจะช่วยให้ลูกได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมา ซึ่งจะช่วยแม่จัดการหนูน้อยได้ง่ายขึ้นอีกนิด

ลูกเลี้ยงยาก

#6 เอาใจใส่ต่อตัวลูก

ความรู้สึกว่ามีคนรับฟังและเข้าใจเป็นหนึ่งในของขวัญที่มีค่าที่สุดที่พ่อแม่สามารถให้ลูก ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กน้อยวัยเตาะแตะที่เลี้ยงยากที่มักชอบระเบิดอารมณ์ออกมา ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าหนูน้อยนั้นอาจยังไม่รู้จักว่าจะแสดงออกทางคำพูดในสิ่งที่พวกเขารู้สึกได้อย่างไร ดังนั้นการใส่ใจต่อความรู้สึกลูก พยายามแปลความหมายในคำพูดและความรู้สึกของลูก แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่รับฟัง จะทำให้ลูกสามารถประมวลผลอารมณ์ของตนได้ง่ายขึ้น และพัฒนาภาษาเพื่อใช้คำพูดและอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น

ลูกเลี้ยงยาก

 #7 กอดเพื่อปลอบใจ

การกอดเป็นอิทธิพลที่ทรงพลังที่สุด ยิ่งตอนที่ลูกร้องไห้งอแงอย่างรุนแรง การเข้าไปกอดและปลอบประโลมด้วยถ้อยคำที่นุ่มนวลจะช่วยให้ลูกบรรเทาอารมณ์ลงและช่วยให้รู้สึกดีได้เร็วขึ้น

#8 ถ้าพูดคุยกันไม่รู้เรื่องก็อย่าเพิ่งเข้าไปคุย

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้ทางเลือก ให้ความเอาใจใส่อย่างมากแล้ว แต่ลูกก็ยังคงไม่ฟัง บางครั้งสถานการณ์แบบนี้จะเป็นการดีที่สุดก็คือปล่อยไปแบบนั้นไปซักพัก การใช้อารมณ์มีแต่จะทำให้เรื่องแย่ไปกว่านี้ แต่อย่าลืมว่าลูกจะต้องไม่อยู่เพียงลำพังแม้ในขณะที่เขากำลังหัวเสียก็ไม่ควรแยกตัวออกมาจากลูกนะคะ

แม้พฤติกรรมการเลี้ยงยากของลูกในช่วงวัยวัยเตาะแตะจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หัวเสียบางในบางครั้ง แต่พ่อแม่ก็คือต้นฉบับที่จะส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กดีขึ้นต่อไปในอนาคต บางครั้งก็จำเป็นต้องปล่อยวางกับลูกผู้ยังไม่รู้อิโหน่อิดเหน่ที่เพิ่งผ่านพ้นเลข 1 มาไม่เท่าไหร่ อยู่กับปัจจุบันและสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขทุกอย่างของเจ้าตัวเล็กให้ผ่านไปได้กันนะคะ.


credit content : parentingfromtheheartblog.com

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

เช็กหน่อยไหม ลูกเลี้ยงยาก vs. เลี้ยงง่าย

ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น “โรคเอาแต่ใจตัวเอง”

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกเลี้ยงยาก แต่ยากยังไงก็จะเลี้ยงให้ดี!!
แชร์ :
  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว