ลูกเริ่มเรียกร้องเยอะไปแล้ว อะไรคือสาเหตุและจะรับมือยังไงดี
ลูกเริ่มเรียกร้องเยอะไปแล้ว อะไรคือสาเหตุและจะรับมือยังไงดี แม้ว่าการเรียกร้องจะเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กๆ ทุกคน แต่แบบไหนที่เรียกว่าเยอะจนน่าเป็นห่วงกันละ
เด็กๆ เรียกร้องเรื่องอะไรบ้าง
หลักๆ แล้วคือเรื่องความต้องการทางกายภาพค่ะ เช่น หิว ปัสสาวะ หรืออุจจาระ แต่นอกจากนี้เด็กๆ จะมีเรื่องทางอารมณ์และความไม่สบายตัว เช่น ท้องอืด รู้สึกอึดอัดท้อง ต้องการการสัมผัสหรือกอดจากพ่อแม่ เป็นการสั่งงานทางสมองเพื่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจค่ะ
ลูกมีอาการพวกนี้ไหม
อาการเบื่องต้นเหล่านี้ อาจต้องสงสัยค่ะ ว่าลูกจะเป็นเด็กที่เรียกร้องมากกว่าปกติ
- ร้องไห้บ่อยและเยอะ
- เป็นเด็กไฮเปอร์
- ร่างกายขาดน้ำ
- เข้าเต้าบ่อย
- เรียกคุณพ่อคุณแม่เยอะ
- ตื่นบ่อย นอนไม่ยาว
- งอแงแบบไม่ทราบสาเหตุ
- คาดเดาพฤติกรรมไม่ได้
- ติดอุ้มแบบวางไม่ได้
- ร้องไห้หรืองอแงไปเสียทุกเรื่อง
- ไม่สามารถปลอบตัวเองได้
- ติดพ่อแม่มากเกินไป
สาเหตุและการรับมือ
สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกเรียกร้องมากขนาดนี้ บางอย่างมากจากแนวทางการเลี้ยงดูลูกของคุณพ่อคุณแม่ที่สามารถปรับแก้ได้ บางอย่างก็เป็นสิ่งที่ต้องทำใจยอมรับมันให้ได้ค่ะ
1.ลูกนอนหลับไม่เพียงพอ
การพักผ่อนนอนหลับในเด็กเล็กๆ จะเป็นมากนะคะ เด็กๆ ใน 1-2 เดือนแรก กิจกรรมส่วนใหญ่คือการนอน เด็กๆ ยังปรับตัวกับโลกภายนอกไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่หากเด็กๆ ถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ไม่พาเข้านอนสักที เด็กๆ ก็จะหงุดหงิดและงอแงเนื่องจากง่วงนอนได้ค่ะ
2.ลูกเราไม่เหมือนเด็กคนอื่น
หากเวลาที่พาลูกออกไปไหนมาไหน เเล้วคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกเรานั้นเเปลกแยก ขณะที่เด็กคนอื่นนั่งเล่นกันเรียบร้อย แต่ลูกเราต้องมีแม่ประกบอยู่ข้างๆ ตลอดเวลา หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มีสังคมแบบการนั่งเม้ามอยกันอยู่เป็นกลุ่มของแม่ๆ เพราะต้องตอบสนองเวลาที่ลูกเรียก มันไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แค่เพราะลูกยังเรียกร้องหาคุณพ่อคุณแม่อยู่ค่ะ และเชื่อเถอะว่าในโซเชียลนั้นมีคุณแม่ที่เจอกับเรื่องพวกนี้อยู่ค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่คนเดียวที่มีปัญหานี้หรอก
3.ลูกไม่มีตารางเวลา
การดำเนินชีวิตตามตารางเวลาหลวมๆ ไว้คือเรื่องที่จำเป็นต่อเด็กๆ ค่ะ นั่นเพราะเป็นวินัยเริ่มต้น ที่เด็กๆ จะต้องปรับตัวให้ได้ค่ะ เมื่อผ่านไปสักระยะเด็กๆ จะเริ่มมีกำหนดการและกิจวัตรที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจต่อเด็กๆ อีกด้วยค่ะ กลับกันเด็กที่ไม่มีตารางเวลา หรือกิจวัตรที่แน่นอนใดๆ เลย จะทำให้เด็กๆ อยากทำในสิ่งที่อยากทำ โดยไม่สนใจหรือยึดติดกับสิ่งใดเลย
4.ยาก แต่ไม่ยากเกินไป
แม้เด็กๆ ที่เรียกร้องมากมายจะรับมือด้วยยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ค่ะ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลี้ยงลูก และสนับสนุนลูก อย่างที่ลูกต้องการ ไม่ใช่อย่างที่คุณต้องการ รับมือด้วยการปรับแนวทางการเลี้ยงลูกให้เข้ากับตัวของลูก แล้วคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่เหนื่อยยากมากอย่างที่เคยเจอมาก็ได้นะคะ
5.คุณรึเปล่า ที่ทำลูกเรื่องมาก
เวลาเห็นครอบครัวอื่นเลี้ยงลูก ไม่เห็นว่าลูกจะเรื่องมาก เรียกร้องเยอะ แบบลูกเราเลย หากคิดแบบนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องถอยหลัง มาพินิจพิเคราะห์การเลี้ยงลูกของตัวเอง แบบที่ไม่คิดเข้าข้างตัวเองดูค่ะ เพราะยังไงเด็กๆ ก็ต้องการในสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่บางทีพ่อแม่ก็ให้ได้อย่างมีข้อจำกัด นั่นจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่จะบอกลูกให้ยอมรับว่าลูกเรื่องมากได้ แต่ต้องทำอย่างมีขอบเขตนั่นเองค่ะ
6.ลูกเข้านอนกับความรู้สึกแย่ๆ เสมอ
ความรู้สึกแย่ๆ อย่างอิจฉา ผิดหวัง หงุดหงิด มันเกิดขึ้นง่ายมากๆ ยิ่งในเด็กๆ ยิ่งง่ายกว่าผู้ใหญ่ค่ะ ซึ่งไม่ใช่เด็กทุกคนที่หัวถึงหมอนแล้วจะหลับก่อนไฟปิด ลูกอาจจะเป็นเด็กที่นอนหลับยาก ซึ่งนั่นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่กำหนดว่า ลูกเป็นเด็กดีหรือไม่ หรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่เป็นพ่อแม่ที่ดีหรือไม่ เช่นกัน แม้ตอนนี้จะมีปัญหานี้อยู่ แต่มันคือปัญหาที่ไม่คงอยู่ไปตลอดค่ะ อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวสักพัก คุณพ่อคุณแม่กำลังเรียนรู้วิธีรับมือกับลูก ในขณะที่ลูกก็กำลังเรียนรู้วิธีปรับตัวในโลกนี้อยู่ค่ะ
7.ลูกจะแฮปปี้ก็ตอนที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่
เด็กทุกคนมีความสุขตอนที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ทั้งนั้นแหละค่ะ แต่เด็กบางคนก็ดูเหมือนจะติดคุณพ่อคุณแม่เอามากๆ จนบางทีคุณแม่อาจจะปวดหัวเอาดื้อๆ เนื่องจากกระดิกตัวทำอะไรไม่ได้เลย แม้แต่ตอนกลางคืน อยากจะให้ลูกนอนคนเดียวก็ยังทำไม่ได้ และนั่นมันก็ทำให้คุณแม่ทั้งเหนื่อยและกังวลเป็นอย่างมาก แต่ถ้าคุณแม่พยายามพักผ่อนในเวลาที่ลูกหลับ โดยที่สามารถนอนกับลูกอย่างปลอดภัยได้ ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ แม้ว่าจะมีงานบ้านล้านแปดอย่างรออยู่ คุณพ่อก็ควรจะต้องเป็นคนจัดการนะคะ
8.นอนหลับไม่เคยเต็มอิ่มอีกต่อไป
เอาละ นี่ไม่ใช่เรื่องเแปลกค่ะ เป็นแค่ไม่กี่ปี เมื่อลูกนอนได้ยาวมากขึ้น ก็หายห่วงแล้วละค่ะ ทางแก้ขั้นแรกคือสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกนอนหลับได้ดีที่สุด เช่น ควรเป็นห้องที่มืดที่สุด อากาศไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป และไม่มีเสียงรบกวนค่ะ
แต่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเรียกร้องมาก หรือพ่อแม่ที่มีลูกไม่ค่อยเรียกร้องเท่าไหร่ การอดหลับอดนอนคือส่วนหนึ่งของการมีลูกที่เป็นสากลสุดๆ ค่ะ
9.แยกจากลูกแทบไม่ได้เลย
จริงๆ แล้วถ้าจะว่ากันตามหลักของธรรมชาตินั้น เด็กจะพร้อมแยกจากพ่อแม่เมื่อเขาพร้อมค่ะ โดยแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ไม่เกี่ยวกับอายุ ส่วนใหญ่แล้วเด็กทุกคนเมื่อมีความมั่นใจเด็กๆ จะกล้าที่จะปล่อยมือคุณพ่อคุณแม่ และเดินไปข้างหน้าโดยไม่แม้แต่จะเหลียวหลังมามองด้วยซ้ำ แต่กว่าจะถึงวันนั้นจงสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้ลูกเสมอค่ะ เพื่อเตรียมพร้อมเขาสำหรับวันที่จะต้องไปโรงเรียนหรือแยกจากคุณพ่อคุณแม่
10.การร้องไห้ของลูก สะเทือนใจพ่อแม่
การร้องไห้ของลูกนั้น มันไม่ใช่เรื่องปริศนาหรือมีรหัสที่ซ่อนอยู่ ลูกๆ ร้องไห้เพื่อขอบางสิ่งบางอย่าง นั่นชัดเจนที่สุดค่ะ ทั้งเรื่องหิวหรือห้องน้ำ หรือเป็นเพียงแค่การปลอบประโลม แต่สิ่งที่แน่นอนคือ ไม่มีอะไรที่แย่เกินกว่าการอุ้มหรือกอดคุณพ่อคุณแม่ จะทำให้ลูกไม่รู้สึกดีขึ้นไม่ได้ หายใจเข้าลึกๆ ค่ะ เรื่องเหล่านี้จะผ่านไปเพียงแค่ครั้งเดียว จะมีอีกกี่ปีกันที่คุณจะสามารถอุ้มลูกได้ ไม่นานเขาก็โตเกินไป กลายเป็นเด็กที่มั่นใจ จนคุณเองน่ะแหละที่กลับคิดถึงวันคืนเก่าๆ เหล่านั้นแทน
ที่มา Bellybelly
บทความที่น่าสนใจ
5 สัญญาณบอกว่า ลูกนอนน้อยไป เสี่ยงพัฒนาการถดถอย
อยากให้ลูกฉลาด มีพัฒนาการดี ต้องรีบพาลูกเข้านอน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!