X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พลังแห่งการพูดคุย…เบบี๋ฉลาดรู้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

24 Apr, 2015
พลังแห่งการพูดคุยกับลูกในท้อง

พลังแห่งการพูดคุยกับลูกในท้อง

นับตั้งแต่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ แน่นอนว่าแม่ทุกคนย่อมมีความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และเริ่มสรรหาวิธีการที่จะทำให้ลูกน้อยแสนรักเกิดมาเป็นเด็กฉลาด อารมณ์ดี มีพัฒนาการสมวัย “การพูดคุย” ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การเรียนรู้เสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ
จะเริ่มคุยกับลูกในท้องได้เมื่อไหร่

จะเริ่มคุยกับลูกในท้องได้เมื่อไหร่

จริงๆ แล้วพ่อแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้ตั้งแต่เริ่มรู้ว่าเขาได้มาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว แต่ถ้าจะให้ดี หากเรารู้เพิ่มเติมอีกนิดว่า พัฒนาการทางร่างกายของลูกในแต่ละเดือนเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง ก็จะช่วยให้การพูดคุยระหว่างพ่อแม่กับลูกมีความสุข สนุกสนาน พร้อมกับเสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 1-3

คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 1-3

ถือเป็นช่วงของการเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท ในช่วงนี้คุณแม่ควรให้ความสำคัญ กับเรื่องอาหาร ยา และระมัดระวังสารเคมีที่จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องมากกว่า การพูดคุยอาจเป็นการซักซ้อมเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสมาชิกใหม่ของบ้าน และเพื่อความสุขความสบายใจของคุณแม่
คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 4-6

คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 4-6

ช่วงนี้ประสาทสัมผัสทางการได้ยินของลูกจะเริ่มพัฒนา จะได้ยินเสียงเต้นหัวใจ และเสียงพูดของแม่ชัดขึ้น ลูกจะเริ่มจดจำน้ำเสียงของแม่ได้ และมีการตอบสนองด้วยการดิ้นหรือเคลื่อนไหวไปมา เนื่องจากระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อมีการทำงานประสานเชื่อมต่อกันมากขึ้น จากที่คุณแม่ได้ซักซ้อมสร้างความคุ้นเคยกับลูกในช่วงไตรมาสแรกมาแล้วคุณแม่ควรพูดคุยเป็นเรื่องราวมากขึ้น บางครั้งอาจเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเล่านิทาน หรือฟังเพลงสบายๆ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้รวดเร็ว ในช่วงเดือนนี้คุณพ่ออาจเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยกับลูกได้แล้วเช่นกัน
คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 7-9

คุยกับลูกในท้อง เดือนที่ 7-9

เป็นช่วงที่ร่างกายของลูกเติบโตเป็นทารกที่สมบูรณ์ขึ้น ช่วงเดือนนี้ลูกจะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง หรือตอบโต้ เพื่อสื่อสารความต้องการให้แม่ได้รับรู้ การพูดคุยจึงมีความสำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูกบ่อยๆ เป็นประจำทุกวัน การเล่านิทานด้วยน้ำเสียงสูงต่ำอย่างมีชีวิตชีวา การฟังเพลงหรือร้องเพลงให้ลูกฟังจะช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างเครือข่ายใยประสาททางการได้ยินให้ทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อลูกคลอดออกมา จะทำให้เป็นเด็ก ร่าเริง แจ่มใส มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี
วันนี้...คุณได้คุยกับเจ้าตัวน้อยแล้วหรือยัง

วันนี้...คุณได้คุยกับเจ้าตัวน้อยแล้วหรือยัง

จะเห็นได้ว่า การพูดคุยกับเจ้าตัวน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่พ่อแม่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เป็นการสื่อสารที่เชื่อมสายใยความรัก ความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูกที่ดีที่สุด ทั้งยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจให้ลูกที่จะคลอดออกมาเป็นเด็กเฉลียวฉลาด อารมณ์ดี และมีพัฒนาการสมวัย
Tips ในการคุยกับลูกในท้อง

Tips ในการคุยกับลูกในท้อง

- ขณะคุยกับลูก คุณพ่อคุณแม่อาจลูบคลำท้องไปด้วย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกายของลูกไปในตัว
- คุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล และเป็นประโยคซ้ำๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับน้ำเสียง
- คุณแม่ไม่ควรพูดเรื่องทุกข์ใจ หรือร้องไห้กับลูก เพราะจะทำให้ลูกเกิดความเครียด ส่งผลต่ออารมณ์เมื่อลูกคลอดออกมา
ถัดไป
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img

บทความโดย

อัยย์รดา

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พลังแห่งการพูดคุย…เบบี๋ฉลาดรู้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
แชร์ :
  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว