TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

บทความ 5 นาที
พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี นั้นมีความแตกต่างกัน คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กแต่ละช่วงวัย ว่าหนูทำแบบนี้ คุณแม่ควรรับมือแบบไหน

พฤติกรรมเด็กแรกเกิด

พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้แม่ต้องรับมือแบบไหน

พฤติกรรมเด็ก 0-12 เดือน

  • เด็กวัยนี้เพลิดเพลินกับการนำทุกอย่างเข้าปาก ทั้งมือ เท้า อาหาร ของเล่น รองเท้า และอีกมากมาย
  • เมื่อลูกร้องไห้ แสดงว่าเขามีความต้องการบางอย่าง แต่ลูกยังไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้ ว่าเขาง่วง หิว ต้องการให้กอด หรือต้องการให้เปลี่ยนผ้าอ้อม
  • กลัวคนแปลกหน้า และรู้สึกไม่สบายใจเมื่อคนคุ้นเคยไม่อยู่ใกล้ๆ
  • ชอบจ้องหน้าคน ทั้งในชีวิตจริง ในหนังสือ และในกระจก

พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

เด็กน้อยกำลังปรับตัวให้เข้ากับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจ ตอนนี้ลูกยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ต่อสัญญาณที่ลูกพยายามสื่อสารเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ และคลี่คลายปัญหาต่างๆ ให้ลูกโดยเร็ว ทำให้เขารู้สึกว่าโลกใบนี้ปลอดภัยสำหรับเขา ให้นมและอาหารตามวัยเมื่อลูกหิว ปลอบโยนเมื่อลูกกลัว กอดด้วยความรักเมื่อลูกต้องการอ้อมแขนของคุณ สิ่งเหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานทางจิตใจให้กับลูก มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่น ภูมิใจในตนเอง รวมถึงมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วย

บทความแนะนำ เช็คพัฒนาการลูกน้อยขวบปีแรก สิ่งที่ลูกควรทำได้ในแต่ละช่วง

พฤติกรรมเด็ก 2 ขวบ

พฤติกรรมเด็ก 1-2 ขวบ

  • มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้มากขึ้น
  • ยังไม่เข้าใจในเรื่องของเจตนา หรือความหมายของการกระทำใดๆ เช่น เมื่อลูกกัด ไม่ได้เพื่อจะทำร้าย ลูกคว้าของเล่นจากเด็กคนอื่นๆ ไม่ได้เพื่อจะแกล้งให้ไม่พอใจ แต่เป็นเพราะเขารู้เพียงว่าสิ่งต่างๆ มีไว้สำหรับคว้า จับ หรือกินเท่านั้น
  • มีความอยากรู้ อยากสำรวจ เด็กวัยนี้ชอบดึงสิ่งต่างๆ ลงมา หรือโยนของไปบนพื้น เพื่อจะดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป
  • ยังไม่รู้จักการแบ่งปัน
  • อาจดูเหมือนเจ้ากี้เจ้าการและเห็นแก่ตัว แต่คุณพ่อคุณแม่จำไว้ว่า อะไรก็ตามที่ลูกวัยนี้สนใจหรือคิดว่าเป็นของเขา เขาจะไม่ยอมให้ใครเอาไปเด็ดขาด
  • เริ่มเข้าใจในเรื่องความเป็นเจ้าของและพัฒนาความเป็นตัวตนมากขึ้น
  • สองคำที่ลูกชอบพูดคือ “ของผม/ของหนู” และ “ไม่”
  • มักจะตื่นในช่วงเวลากลางคืน
  • ในช่วงปลายของวัยนี้ ลูกอาจจะท้าทายคุณมากขึ้น เพื่อทดลองว่าเขาจะสามารถทำอะไรได้มากแค่ไหน
  • การเกรี้ยวกราดหรืออาละวาดของลูก เป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ที่เขายังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น หงุดหงิด โกรธ เสียใจ ผิดหวัง และอับอาย เป็นต้น
  • เริ่มที่จะเล่นกับเด็กคนอื่นมากกว่าเล่นคนเดียว

พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • เด็กวัยนี้ยังคงมีช่วงความสนใจสั้น จึงเหมาะที่คุณพ่อคุณแม่จะใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจลูกเมื่อคุณไม่ต้องการให้เขาทำสิ่งใดๆ ก็ตาม
  • ชื่นชมลูก เมื่อเห็นว่าลูกทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  • สอนให้ลูกรู้จักว่าสิ่งไหนไม่ดี ไม่ควรทำ
  • เพิกเฉยในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บ้าง เพราะลูกมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมาก ควรให้ลูกคุ้นเคยกับเรื่องที่สำคัญก่อน
  • ลูกเริ่มเข้าใจสิ่งที่คุณบอก แต่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะทำตามที่บอกได้ทันทีนะคะ คุณต้องแนะนำเขาด้วยความอดทน เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา
  • อ่อนโยนต่อลูกเมื่อเขายังทำไม่ถูกหรือทำไม่ได้ พยายามทำความเข้าใจว่า ลูกทำดีที่สุดแล้ว หากคุณคาดหวังมากเกินไปอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีความวิตกกังวลมากขึ้น ท้าทายมากขึ้น หรือขาดความมั่นใจเมื่อเข้าสู่วัยสามขวบ
  • สอนลูกให้รู้จักใช้คำแสดงความรู้สึก เช่น ลูกเสียใจที่ต้องเก็บของเล่น เพราะลูกยังอยากเล่นต่อใช่ไหมจ๊ะ

อ่าน พฤติกรรมเด็ก 3 ขวบ คลิกหน้าถัดไป

พฤติกรรมเด็ก 3 ขวบ

พฤติกรรมเด็ก 3 ขวบ

  • ชอบทดสอบความเป็นอิสระของตัวเอง อยากรู้ว่าพ่อแม่จะปล่อยให้เขาทำอะไรได้แค่ไหน และเมื่อถูกขัดใจ ก็จะเริ่มอาละวาด
  • ต้องการเป็นผู้ควบคุม ไม่ต้องการถูกควบคุม เมื่อถูกขัดใจ ก็จะเริ่มอาละวาด
  • เมื่อผิดหวังเสียใจ ก็จะเริ่มอาละวาด
  • จะแสดงความเกรี้ยวกราดและอาละวาดมากขึ้น
  • บางเรื่องก็อยากจะทำด้วยตัวเอง ไม่ยอมให้ใครช่วย แต่บางเรื่องที่ควรทำเองกลับอยากให้คนอื่นทำให้ เช่น อุ้มหนูหน่อย แม่ทำให้หนูหน่อย
  • ชอบพูดว่า “ไม่” แม้อาจจะหมายความว่า “ใช่”
  • ช่างเลือกมากขึ้น เช่น ไม่เอาแปรงสีฟันอันนี้จะเอาอันที่มีเอลซ่า ไม่เอาแซนวิชสี่เหลี่ยมจะเอาแซนวิชสามเหลี่ยม เป็นต้น
  • อาจพูดตะกุกตะกัก ยังถ่ายทอดสิ่งที่คิดเป็นคำพูดได้ไม่ดีนัก
  • พยายามจะควบคุมสภาพแวดล้อม โดยอยากที่จะวางแผนทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง หรือลองทำสิ่งที่ท้าทาย
  • อาจสับสนระหว่างความจริงกับความเชื่อ เริ่มเล่นโดยมีเพื่อนสมมติ
  • ยังคงไม่เข้าใจเรื่องการแบ่งปัน และยังคงยึดมั่นในการแสดงความเป็นเจ้าของ
  • อาจแสดงออกว่าอิจฉา เมื่อพ่อแม่ให้ความสนใจกับเด็กคนอื่น

พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • คุณอาจต้องใช้ความอดทนเพิ่มมากขึ้นในการรับมือกับพฤติกรรมของลูกวัยนี้ แต่ขอให้ท่องไว้ว่า พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้คงอยู่ตลอดไปหรอกนะ
  • บอกให้เขารู้เวลาที่เขาทำดี รู้ไหมว่า ลูกอยากรู้ว่าคุณมีความสุขแค่ไหนเวลาที่เขาทำดี
  • อ่อนโยนกับลูกเวลาที่ลูกทำผิด เชื่อเถอะว่า ลูกอยากทำในสิ่งที่ถูกต้องแต่ระหว่างทางอาจมีหลายสิ่งที่ลูกก็อยากทำเช่นนั้น ดังนั้น อย่าได้ลงโทษรุนแรงในความผิดพลาดของเขาเลย แต่ควรใช้ความผิดพลาดนั้นมาเป็นโอกาสในการสอนลูกดีกว่า
  • อย่าตั้งกฎให้มากนัก เพราะการตั้งกฎที่มากเกินไปอาจทำให้ลูกสับสน แต่ควรยึดมั่นกับกฎที่ได้ตั้งไปแล้ว อย่าทำให้ลูกเรียนรู้ว่า บางครั้งการไม่ทำตามกฎก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร เพราะนั่นจะทำให้การฝึกลูกยากขึ้นอีก
  • ใช้คำว่า “ไม่” อย่างอ่อนโยนและพอเหมาะ เปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจ ทดลอง และเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ให้คำแนะนำแต่ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของลูก
  • ให้อิสระและพื้นที่ในการเล่น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและการเล่นตามจินตนาการ สนับสนุนความพยายามในการเล่นอย่างสร้างสรรค์ของลูก เพื่อให้ลูกได้รับรู้ถึงความศักยภาพที่ตัวเองมี
  • สนับสนุนการตัดสินใจภายใต้ตัวเลือกที่คุณกำหนด เช่น ลูกอยากจะอาบน้ำก่อนหรือเลือกชุดนอนก่อนดีจ๊ะ? ลูกอยากจะใส่เสื้อสีแดงหรือสีเหลืองวันนี้?
  • อย่ารู้สึกผิดหากตัวคุณเองต้องการเวลาในการเติมพลังให้ตัวเอง เพื่อที่คุณจะได้มีแรงในการรับมือกับลูกอีกครั้ง เมื่อคุณชาร์จพลังมาอย่างเต็มที่แล้ว
  • ฝึกกิจวัตรในการพาลูกเข้านอน เพื่อที่ทั้งคุณและลูกจะได้พักผ่อนและหลับฝันดี ด้วยนิทานก่อนนอน การโอบกอด จูบ บอกรัก และกล่าวคำว่า ราตรีสวัสดิ์

คุณแม่ได้ทราบถึง พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี แล้วนะคะ อย่างที่ทราบดีว่า 3 ปีแรกของชีวิตลูกนั้นเป็นช่วงที่ความสำคัญที่สุด หากคุณแม่เข้าใจและรับมืออย่างเหมาะสมจะเป็นการสร้างพื้นฐานชีวิตที่ดีให้กับลูกต่อไปในอนาคต

ที่มา www.heysigmund.com/developmental-stage/

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เลี้ยงลูกในขวบปีแรกอย่างไรไม่เรียกว่าพลาด

วิธีรับมือเมื่อลูกอาละวาด

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว