ทนายเกิดผล แก้วเกิด ไขข้อข้องใจ ผัวเมียไม่ได้จดทะเบียน หากเลิกกัน ลูกจะเป็นอย่างไร ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร
ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร
มีคำถามว่า ชายหญิงอยู่กินด้วยกันตามประเพณี มีลูกด้วยกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วต่อมาภายหลังต่างเลิกร้างกันไป
ฝ่ายชายเอาลูกไปด้วย โดยฝ่ายหญิงไม่ยินยอม ฝ่ายชายทำได้หรือไม่ และจะมีความผิดอะไรหรือไม่
ในเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ซึ่งบัญญัติว่า
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของหญิงนั้น
หมายความว่า ลูกทุกคน เป็นลูกของผู้หญิงฝ่ายเดียว ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ์ในตัวบุตร
มารดาจึงมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมาย และ มีอำนาจดังนี้
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้ว แม่เท่านั้นที่มีอำนาจปกครองบุตร กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นที่กักบุตรไว้ได้
คำว่า ” #บุคคลอื่นหมายความรวมถึงชายที่เป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย” ตามฎีกาที่ 3461/2541 วินิจฉัยว่า
ฎีกาที่ 3461/2541#บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) #การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ #และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
พิพากษายืน
หรือแม้ มารดาจะเคยยินยอมหรือตกลงให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายบิดา ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ ฝ่ายบิดา จะยกเหตุนี้มาอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว #การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลย #จึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)
ดังนั้น หากฝ่ายชาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อ ลุงป้าน้าอาปูและย่า พาลูกหรือหลานไปโดยแม่เด็กไม่ยินยอม ย่อมมีความผิดฐาน #พรากผู้เยาว์
คุณแม่ทั้งหลาย สบายใจได้ #แชร์ต่อๆไปให้คลายกังวล
เลิกกัน! ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร
ที่มา : https://www.facebook.com/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ไม่อยากหย่า การรักษาชีวิตคู่ ต้องตั้งสติ! หยุดเลยอย่าพูด 8 คำนี้กับสามีหรือภรรยา
12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมายต้องรู้
วิธีบอกลูกพ่อแม่เลิกกัน พ่อแม่ควรบอกลูกตอนไหน
เชื้อชั่วๆ ท้องแล้วไม่รับ ฟ้องได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง จัดการยังไงกับผู้ชายประเภทนี้
www.facebook.com/photo.php?fbid=419715115106257&set=a.113116982432740.1073741828.100012033163351&type=3&theater
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!