X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประจำเดือนหลังคลอด เป็นยังไง ไขข้อกังวลคุณแม่มือใหม่

บทความ 5 นาที
ประจำเดือนหลังคลอด เป็นยังไง ไขข้อกังวลคุณแม่มือใหม่

ประจำเดือนหลังคลอด เรื่องที่คุณแม่มือใหม่กังวล มาหาคำตอบกันว่าเป็นอย่างไร!

 

ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่หลาย ๆ ท่าน บอกว่าแฮปปี้ดีมาก เพราะช่วงเราท้องผิวพรรณดูสวย นอกจากนั้น ยังไม่ต้องนั่งพะวง กับการมีประจำเดือนไป 9 เดือนเต็ม การไม่มีประจำเดือนหมายถึง การที่เราไม่ต้องทรมานกับอาการไม่สบายตัวต่าง ๆ แต่หลังคลอดแล้ว คุณแม่มือใหม่หลายคน อาจสงสัยว่า แล้วประจำเดือนจะกลับมาไหม และประจำเดือนหลังคลอด นั้นมันจะเป็นอย่างไร

โดยปกติแล้ว ประจำเดือนหรือรอบเดือน จะเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งร่างกายของผู้หญิงเรา จะมีฮอร์โมน 2 ชนิด คือ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยระดับฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ จะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ ในแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ทำให้ประจำเดือนเกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง แต่ในขณะตั้งครรภ์นั้นจะไม่มีการตกไข่

เพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปตามปกติ จึงทำให้ไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อคุณแม่คลอดแล้ว อิทธิพลของฮอร์โมนต่าง ๆ จะยังคงมีอยู่ไปอีกสักระยะ ทำให้ยังไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนจึงยังไม่มานั่นเอง แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะกลับมาเมื่อไหร่ เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

การกลับมาของ ระบบการตกไข่ และประจำเดือนหลังคลอด อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าคุณแม่ จะให้นมลูกด้วยตัวเองหรือไม่ และคุณแม่หลาย ๆ คนอาจพบว่า วงจรของประจำเดือน เปลี่ยนแปลงไปหลังคลอด ไม่เหมือนกับตอนก่อนตั้งครรภ์

ในกรณีที่ คุณแม่ไม่ได้ให้นมบุตร ตามปกติแล้ว ร่างกายของคุณแม่ จะมีกลไกในการตกไข่ และมีประจำเดือนภายหลังคลอดประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ร่างกาย กำลังเข้าสู่สภาวะปรับตัวคืนสมดุล และมีการขับน้ำคาวปลาจนหมดแล้ว กล่าวคือ ร่างกายของคุณแม่เริ่มแข็งแรงดีแล้ว ในขณะที่ คุณแม่ที่ให้นมบุตรเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้เสริมนมชนิดอื่น ก็อาจจะเริ่มมีประจำเดือนช้าออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระบบฮอร์โมน ของผู้หญิงแต่ละคน บางคน อาจไม่มีประจำเดือนเลย ตลอดระยะเวลาให้นมบุตรก็เป็นได้ นั่นเป็นเพราะ ฮอร์โมนโปรแลคติน กำลังทำหน้าที่ของมัน คือการผลิตน้ำนม ซึ่งจะมีผลทำให้ ไม่เกิดการตกไข่ และมดลูกก็จะไม่มีการสร้างผนังมารองรับการตกไข่ และกลายเป็นประจำเดือน

Advertisement

สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่เริ่มมีประจำเดือนนั้น ประจำเดือนที่กลับมาใหม่ ๆ อาจมีลักษณะเป็นก้อน และเริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เหมือนประจำเดือนปกติ ในเดือนถัด ๆ ไป เช่นเดียวกัน การมีประจำเดือน ก็อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่อ่อนเพลียไปบ้าง เหมือนเช่นเคย อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย และในช่วงแรก ๆ ประจำเดือนอาจจะยังมา ไม่สม่ำเสมอ คุณแม่บางราย อาจมีประจำเดือนมา 1 เดือนแล้วเว้นระยะหายไป 1-2 เดือน บางคน อาจมีเลือดออกมากกว่าที่เคย หรือมีประจำเดือนในปริมาณที่น้อยมาก ทั้งหมดนี้ คือระยะในการปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายนั่นเอง

นอกจากนี้ คุณแม่อาจต้องเข้าใจว่า การมีประจำเดือนแบบกระกริบประปอย หรือไม่มีประจำเดือนหลังคลอดนั้น ไม่ใช่การคุมกำเนิดที่ให้ผลได้ 100% กลไกการคุมกำเนิดด้วยการให้นมบุตร และไม่มีประจำเดือนนั้น มีประสิทธิภาพเพียงแค่ 60-70% เท่านั้น ดังนั้น อย่าลืมปรึกษาสูตินารีแพทย์ หากท่านต้องการจะคุมกำเนิดให้ได้ผล 100%

ในขณะเดียวกัน คุณแม่ที่ให้นมบุตร อาจพบว่า น้ำนมมีรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไป หรือปริมาณน้ำนม อาจลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงขณะที่ยังไม่มีประจำเดือน ซึ่งเป็นผลมาจาก การปรับเปลี่ยนของระบบฮอร์โมนในร่างกาย แต่ก็จะไม่ส่งผลมากนัก ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งนักโภชนาการ แนะนำให้คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ต้องกังวลมากนัก

สูตินารีแพทย์ แนะนำให้คุณแม่หมั่นสังเกตตัวเอง และอาการมีประจำเดือนหลังคลอด พร้อมทั้งยังคงคุมกำเนิด อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะกับแต่ละคน   และหากมีอาการผิดปกติ ก็ให้รีบไปพบแพทย์นะคะ

ประจำเดือนหลังคลอด

ประจำเดือนหลังคลอด

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอด กลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท่านอนหลังผ่าคลอด คนท้องหลังคลอดควรนอนท่าไหนสบายที่สุด ไม่เจ็บแผล

แม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้มั๊ย กินน้ำเย็น ไม่ดี จริงหรือ ผู้ใหญ่เตือนว่าจะไม่มีนมให้ลูก

ขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้ ขั้นตอนคลอดลูกแต่ละสเต็ป

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ประจำเดือนหลังคลอด เป็นยังไง ไขข้อกังวลคุณแม่มือใหม่
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว