คุณเพิ่งจะกล่อมลูกให้เข้านอนได้สำเร็จ ดังนั้นคุณก็ค่อย ๆ เดินไปหยิบน้ำสักแก้วมาดื่มให้ชื่นใจ พอเดินไปได้แค่ครึ่งทางเท่านั้นแหละ คุณก็ได้ยินเสียงลูกร้องไห้ตื่นนอน เพราะคุณดันไปเหยียบของเล่นมีเสียงของลูกเข้า ลูกเลยตื่นขึ้นมา นี่ฉันอดนอนมาตั้งหลายวันแล้วนะ แถมยังไม่มีทีท่าว่าจะได้นอนหลับเกินกว่ากระพริบตาได้เลยสักที คุณเป็นหนึ่งในแม่ ที่นอนไม่พอแบบนี้หรือเปล่าคะ ถ้าใช่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติเลยค่ะ เพราะว่าทั้งแม่มือเก่า มือใหม่ ส่วนมากก็เจอกับปัญหานี้กันทั้งนั้น อาจจะต่างกันที่ระดับว่าใครอดนอนมากน้อยกว่ากัน เท่านั้นเอง ฉันเป็น แม่ลูกอ่อน และฉันนอนไม่เคยพอ เรื่องธรรมดาน่ะ แม่มือใหม่ใครๆ ก็ นอนไม่พอ เตรียมใจไว้ได้เลย
แม่ลูกอ่อน นอนไม่พอ เรื่องปกติจะตายไป
นับว่าเป็นเรื่องปกติที่ช่วงแรก ๆ ของการมีลูกนั้นคุณจะนอนไม่พอ เพราะว่าเด็กแรกเกิดจะกินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง นั่นก็หมายความว่าคุณต้องตื่นมาให้นมลูกทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมงนั่นเอง ดังนั้นคุณจึงควรนอนหลับ และตื่นนอนพร้อมลูกเพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่พอ
บรรดาแม่ทั้งหลายมักพยายามใช้ช่วงเวลาที่ลูกหลับให้คุ้มค่าที่สุด โดยการทำงานบ้าน ซักผ้า และใช้เวลากับลูกคนอื่น ๆ แต่ที่สำคัญคุณควรหาเวลาพักผ่อนดูแลตัวเองด้วยนะคะ เพราะว่าเวลาที่เราอ่อนล้า เราจะหงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย ทำให้คนรอบข้างไม่มีความสุข
บทความใกล้เคียง: สร้างนิสัยการนอนของเด็ก
แม่ลูกอ่อนนอนไม่พอเรื่องปกติจะตายไป
ผลที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ แม่ลูกอ่อนเป็นแบบนี้ไหมคะ
เวลานอนไม่พอ ไม่ใช่แค่คุณจะหาวตลอดวันเท่านั้น แต่ยังมีผลอย่างอื่นอีกด้วย ไม่มีสมาธิในการทำกิจวัตรประจำวัน คุณอาจจะกำลังเอานมไปเก็บไว้ในตู้กับข้าว แล้วเอาข้าวสารไปเก็บไว้ในตู้เย็นแทนก็ได้ หงุดหงิดอารมณ์ไม่ดี จนคุณอาจทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ เช่น อารมณ์เสียกับจานสกปรก ที่ยังค้างอยู่ในอ่างล้างจาน หงุดหงิดที่มีแขกมาร่วมแสดงความยินดีกับสมาชิกใหม่ โดยไม่ได้นัดล่วงหน้า โมโหที่สามีลืมเก็บของเล่นลูกเพียงแค่ชิ้นเดียว ร่างกายฟื้นตัวได้ช้า หลังจากคลอดลูก ร่างกายของคุณต้องการการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว หากคุณไม่ได้รับการพักผ่อนเต็มที่ และเพียงพอร่างกายของคุณจะฟื้นตัวช้า
แม่ลูกอ่อนนอนไม่พอเรื่องปกติจะตายไป
ฝึกลูกนอนให้เป็นเวลา
บทความ : ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!
การนอนหลับของทารก เป็นหนึ่งในพัฒนาการของเด็กเช่นเดียวกัน ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถทำได้ภายใน 4 – 5 สัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกคลอดออกมา เพราะว่าเด็กยังมีพัฒนาการทางด้านระบบประสาทไม่ดีพอ ต้องรอให้ทารกอายุได้ประมาณ 4 เดือนก่อน พ่อแม่จึงจะเริ่มฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาได้ ซึ่งก็ต้องค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ ฝึกลูกกันไป ให้ลูกน้อยได้พัฒนาเรื่องการนอนด้วยตัวเอง
โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่า ทารกยังไม่มีวงจรการนอนหลับแบบปกติ จนกว่าพวกเขาจะมีอายุ 6 เดือน ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องอดทนรอไปจนกว่าลูกน้อยจะพร้อมในการฝึกการนอนเป็นเวลา
แม่ลูกอ่อนนอนไม่พอเรื่องปกติจะตายไป
วิธีพาลูกเข้านอนในแต่ละวัน
สำหรับคุณแม่ ที่ต้องพาลูกเข้านอนในช่วงกลางวัน แนะนำว่า ให้ลูกเข้านอนในช่วงเวลาไม่เกินบ่าย 2 หรือ บ่าย 3 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนอนนานเกินไปจนไม่สามารถนอนตอนกลางคืนได้ โดยที่ระหว่างวันคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้เล่นได้อย่างเต็มที่ หรือถูกกระตุ้นด้วยการพูดคุย การร้องเพลง การอ่านหนังสือ การให้เจ้าตัวน้อยได้เล่นระหว่างวันจะทำให้ลูกนอนหลับได้ดีในตอนกลางคืน
สำหรับในช่วงกลางคืน แนะนำว่า คุณแม่ควรทำให้ลูกหลับภายในระยะเวลา 30 นาที และควรพาลูกเข้านอนก่อนเวลา 20:00 น. เพราะถ้าหากลูกนอนดึกไปมากกว่ากว่านี้จะยิ่งทำให้ลูกหลับยากขึ้น และตื่นกลางดึกบ่อย คุณแม่ก็จะเหนื่อยมากขึ้น และได้พักผ่อนน้อยลงไปอีก ซึ่งวิธีการกล่อมลูกให้นอนหลับ มีดังต่อไปนี้
วิธีกล่อมลูกนอนหลับ
1. หรี่ไฟในห้องนอนลง อย่าให้สว่างเกินไป หรือมืดเกินไปจนคุณมองไม่เห็น
2. อ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟัง
3. ร้องเพลงเบา ๆ เพื่อขับกล่อมให้ลูกนอน
4. นวดผ่อนคลายลูกเบา ๆ
5. ใช้ผ้าห่อตัวลูก แต่อย่าให้แน่นเกินไป และควรเว้นบริเวณช่วงจมูกไว้ด้วย เพื่อป้องกันโรคไหลตายในทารก
6. หากลูกติดผ้าหรือตุ๊กตาก็ควรหยิบมาให็ลูกกอด
7. ตบหลังลูกเบา ๆ เป็นจังหวะให้ลูกเคลิ้มจนหลับไป
8. ใช้เสียงธรรมชาติให้ลูกหลับ ที่เรียกว่า White Noise เช่น เสียงพัดลม เสียงฝน
9. อุ้มลูกแล้วโยกตัวไปมา จนกว่าลูกเคลิบเคลิ้มแล้วหลับไป
ที่มา : webmd.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
10 อาหารแม่หลังคลอด อาหารแม่ลูกอ่อน อาหารเรียกน้ำนม อาหารของคุณแม่
7 วิธีเตรียมตัวเป็นพ่อแม่มือใหม่ พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อนต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนที่ลูกจะคลอด
นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความใฝ่รู้ สอนลูกให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!