X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตราซาวนด์ นับลูกดิ้น อาหารและอาการแทรกซ้อน

บทความ 8 นาที
คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตราซาวนด์ นับลูกดิ้น อาหารและอาการแทรกซ้อน

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ นี้เหมาะสำหรับว่าที่คุณแม่ทุกคนค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ เพิ่งท้องเป็นครั้งแรก อาจจะไม่รู้ว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร และมีอาการอย่างไรบ้างในช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์ theAsianparent จึงรวบรวมข้อมูลสำคัญ เรื่องที่คุณแม่ควรรู้ มาฝากกัน

 

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ มีหัวข้ออะไรน่าสนใจบ้าง

  • การฝากครรภ์ ตรวจครรภ์
  • อัลตราซาวนด์ มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันยังไง
  • การนับลูกดิ้น วิธีทำให้ลูกดิ้น
  • วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์
  • คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมเรื่องสำคัญที่คนท้องต้องรู้
  • อาหารที่คนท้องห้ามกิน
  • เครื่องดื่มต้องห้ามของคนท้อง
  • อาการแทรกซ้อนที่แม่ท้องต้องระวัง

 

การฝากครรภ์ ตรวจครรภ์

เมื่อรู้ตัวว่าท้อง คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอตรวจเช็กสุขภาพ ความพร้อมของร่างกาย ความเสี่ยง โรคทางพันธุกรรม และอื่น ๆ เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ซึ่งการตรวจครรภ์นั้น คุณหมอจะตรวจอะไรบ้างมาดูกันเลย

 

ท้องไตรมาสแรก (เริ่มตั้งครรภ์ถึง 14 สัปดาห์)

  • ตรวจปัสสาวะหรือเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
  • ตรวจภายในเช็กมะเร็งปากมดลูก (ในรายที่มีข้อบ่งชี้)
  • ตรวจเลือดสำหรับฝากครรภ์ครั้งที่ 1 (เอดส์ กามโรค ตับอักเสบชนิดบี/ซี หมู่เลือดและคัดกรองโรคเลือดธาลัสซีเมีย)
  • ตรวจเลือดมารดาเพื่อคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ หรือตรวจเลือดวัดสารเคมีบ่งชี้ทารกเด็กดาวน์ซินโดรม
  • ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

ท้องไตรมาสที่ 2 (15-28 สัปดาห์ )

  • ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในรายที่มีความเสี่ยงสูง
  • เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ในรายที่มีความเสี่ยงสูง
  • ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

ท้องไตรมาสสุดท้าย (29-42 สัปดาห์)

  • สอนนับลูกดิ้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และบาดทะยัก
  • ตรวจเลือดฝากครรภ์ครั้งที่ 2 (เอดส์ กามโรค ตับอักเสบชนิดบี และความเข้มข้นของเลือด)
  • ตรวจคัดกรองการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสในช่องคลอดหรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

 

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อัลตราซาวนด์ มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันยังไง

  • 2 มิติ : การทำอัลตราซาวนด์แบบ 2 มิติ ภาพที่ได้จะเป็นภาพตัดขวางทีละภาพ ตามแนวคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งออกไปในแนบระนาบ ซึ่งจะเห็นเป็นเพียงเงาดำ ๆ เท่านั้น
  • 3 มิติ : สำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์ 3 มิติ จะใช้หัวตรวจส่งคลื่นเสียงในลักษณะของหลายระนาบไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการเก็บข้อมูลที่ติดต่อกัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่อง และทำการสร้างภาพออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ที่จะสามารถมองเห็นความลึกของภาพได้เสมือนจริง และสามารถหมุนดูไปมาได้
  • 4 มิติ : อัลตราซาวนด์ 4 มิติ จะมีการประมวลผลที่ซับซ้อนขึ้น โดยที่เครื่องจะทำการเก็บภาพ 3 มิติ แต่ละภาพ แล้วแสดงผลเรียงต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว จึงสามารถเห็นภาพทารกเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์มารดาได้ ตลอดจนสามารถเห็นถึงกิริยาอาการที่ทารกกำลังทำในขณะที่ตรวจด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 46 ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง

 

ความแตกต่างของการทำอัลตร้าซาวด์แต่ละแบบ

 

การนับลูกดิ้น วิธีทำให้ลูกดิ้น

ความถี่ที่เด็กดิ้นนั้นสำคัญมาก การนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นจะช่วยให้คุณรู้ว่าลูกแข็งแรงหรือไม่ มีพัฒนาการเป็นอย่างไร ในช่วงไตรมาสที่สาม เด็กควรขยับอย่างน้อย 10 ครั้งในเวลา 2 ชั่วโมง

  1. เปลี่ยนท่า โดยเฉพาะการนอนหงายหรือนอนคว่ำสักครู่
  2. กินอาหารหวาน ๆ แล้วรอสัก 2-3 นาที
  3. ฟังเพลง ลูกฉันดิ้นเยอะมากตอนที่ได้ยินเสียงออแกนในโบสถ์
  4. กดท้องด้านหนึ่ง และลองดูว่าเด็กจะกดกลับหรือไม่
  5. ดื่มน้ำเย็นจัด ๆ เพื่อให้ลูกตื่นตัว

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

ลูกในท้องตัวเล็กหรือไม่ ดูได้จากอะไร

  • น้ำหนักคุณแม่ ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ : สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นได้ ไม่ต้องกังวล
  • วัดความสูงของมดลูก : ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

 

สาเหตุที่ลูกในท้องตัวเล็ก

  • สาเหตุจากแม่: แม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • สาเหตุจากลูก: ลูกมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด
  • สาเหตุจากรก: ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกเกาะตำเหน่งที่ผิดปกติ มีการติดเชื้อที่รก

 

เพิ่มน้ำหนักตัวลูกในท้องต้องทำอย่างไร

  • อาหาร : เน้น “สารอาหารที่มีประโยชน์ (nutritions)” ไม่ใช่เน้น “พลังงาน (calories)” ทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลายและมาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร ทารกคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อแพ้ไข่ แพ้นม
  • พักผ่อน : การพักผ่อนไม่พอ ความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำได้ และพบว่าอาจช่วยให้สุขภาพลูกแข็งแรงด้วย

 

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อาหารที่คนท้องห้ามกิน

  • อาหารที่มีรสจัด : ไม่ว่าจะเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวานจัด หรืออาหารที่ใช้เครื่องปรุงแต่งมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงไว้ก่อนนะคะ กินแค่ให้มีรสชาติในปริมาณที่พอดี เพื่อไม่เสี่ยงต่ออาการปวดท้อง ท้องอืดแน่นเฟ้อ ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ ทั้งนี้รวมถึงพวกผลไม้ที่ให้ความหวานจัด เช่น ลำไย เงาะ น้อยหน่า เป็นต้น เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป
  • อาหารที่มีไขมันสูง : อย่างเช่น พวกของทอด พวกแป้ง หรืออาหารที่ใช้น้ำมันมาก ๆ เมื่อกินเข้าไปจะส่งผลให้แม่ท้องมีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มากขึ้น แถมยังได้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ยิ่งทานในปริมาณมาก ก็จะทำให้ท้องอืด แน่นท้อง ย่อยยาก อึดอัดไปกันใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ได้ค่ะ
  • อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง และอาหารที่เก็บได้นาน : อาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน มักจะมีสารเคมีเจือปน เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการเก็บ ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋องต่าง ๆ ไส้กรอก หมูแฮม แหนม หรือพวกอาหารตากแห้ง แต่หากจำเป็นต้องกิน ควรอ่านฉลากระบุส่วนประกอบและวันหมดอายุก่อน และนำมาปรุงสุกด้วยความร้อนอีกครั้งนะคะ
  • อาหารที่มีส่วนผสมของสารบอแรกซ์ : เช่น ลูกชิ้น ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของสารบอแรกซ์ในปริมาณมากไป จะทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารและลำไส้เป็นแผล เกิดอาการอาเจียน หรือท้องเดินได้
  • อาหารที่ปรุงด้วยผงชูรส : ความจริงแล้ว ในผงชูรสที่ให้รสอร่อยนั้น ไม่มีคุณค่าทางอาหารเลย ทั้งยังเป็นตัวทำลาย หรือมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมองทารกได้
  • อาหารดิบ ของหมักดอง : ขึ้นชื่อว่าเป็นของดิบ ของดองนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่แล้ว นอกจากไม่ผ่านการปรุงสุกหรือมีกระบวนการทำที่ไม่สะอาด เมื่อกินเข้าไปทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ท้องเสีย ท้องร่วง ซึ่งโรคเหล่านี้นั้นกระทบกับลูกในครรภ์โดยตรง
  • อาหารที่เพิ่มน้ำหนัก : ในช่วงตั้งครรภ์ แม้น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัมจากน้ำหนักตัวเดิมเท่านั้น หากน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ก็จะกลายเป็นไขมันส่วนเกินที่ยากจะกำจัด ซึ่งของกินอย่างพวกขนมหวาน ขนมเค้กหรือขนมปังที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ ไอศกรีม เครื่องดื่ม ผลไม้กระป๋องที่มีความหวานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นอาหารที่เพิ่มน้ำหนักตัวให้คุณแม่ได้ หากคุณแม่อยากกินเพื่อเพิ่มความสดชื่น หรือเพื่อเพิ่มพลังงานก็สามารถกินได้ในปริมาณที่พอดี หรือถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์นะคะ

 

อาหารคนท้องอ่อน

เครื่องดื่มต้องห้ามของคนท้อง

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้น ดื่มมากไปไม่ดีต่อลูกในท้องแน่ ๆ ทำให้เมื่อคลอดออกมาแล้ว อาจมีน้ำหนักตัวน้อย เติบโตช้า ศีรษะเล็ก ใบหน้าเล็ก คางสั้น มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือเกิดความพิการของหัวใจและหลอดเลือดได้ หรือถึงคิดว่าจะดื่มในปริมาณเพียงเล็กน้อยที่คงไม่มีอันตรายหรือกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ แต่ถ้าเลี่ยงหรือเลิกได้ จะดีต่อสุขภาพของแม่และลูกน้อยนะคะ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน : ชา กาแฟ โอเลี้ยง ช็อกโกแลต หากกินในปริมาณมากเกินพอดีต่อวันก็จะส่งผลกระทบได้ เช่น การดื่มชาแก่ ๆ จะทำให้ท้องผูกได้ง่าย ส่วนกาแฟนั้นถ้าดื่มมากเกินไปก็อาจทำให้คุณแม่ใจสั่นและนอนไม่หลับได้ค่ะ
  • น้ำอัดลม : ในน้ำอัดลมนั้น ประกอบไปด้วยน้ำ น้ำตาล และแก๊ส ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ถึงแม้ว่าการดื่มน้ำอัดลมนั้นจะช่วยสร้างความสดชื่นได้ก็จริง แต่ในแง่ของคุณประโยชน์ทางอาหารนั้นแทบจะไม่มีเลย นอกจากนี้ ความหวานจะไปเพิ่มน้ำหนักตัวทำให้คุณแม่อ้วนขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ! 8 เครื่องดื่มคนท้อง อร่อยดี มีประโยชน์ บำรุงคุณแม่และลูกน้อยในท้อง

 

เครื่องดื่มอันตราย

 

อาการแทรกซ้อนที่แม่ท้องต้องระวัง

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เนื่องจากโรคนี้ มันจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ส่วนผลเสียต่อทารกในครรภ์  โอกาสที่จะแท้งมีความเสี่ยงสูงขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดสูงขึ้น รวมถึงทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก

 

ภาวะรกเกาะต่ำ

มักพบกับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วหรือคลอดหลาย ๆ ครั้ง ยิ่งครรภ์หลัง ๆ จะยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น หรือแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด รวมไปถึงคุณแม่ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก เช่น มีก้อนเนื้องอกในมดลูกหรือมีแผลเป็นที่ตัวมดลูก หรือเคยมีประวัติผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อนก็อาจทำให้การเกาะตัวของรกกับผนังมดลูกผิดปกติไป เมื่อคุณแม่ใกล้คลอดจึงมักทำให้เกิดอาการตกเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

อาการนี้ จะเกิดกับคุณแม่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ กับกลุ่มความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งกลุ่มหลังเราจะพบบ่อยมาก โดยที่คุณแม่จะมีอาการบวม ตรวจปัสสาวะเจอไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ ถ้าอาการรุนแรงและรักษาได้ไม่ดี คนไข้จะชัก อาจจะมีเส้นเลือดในสมองแตกเสียชีวิตได้

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่ที่เคยใช้สมุดฝากครรภ์

สมุดฝากครรภ์ ได้ตอนไหน ไปฝากครรภ์แล้วยังไม่ได้เลย สมุดสีชมพู จะเป็นไรไหมคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ฝากครรภ์ราคา เท่าไหร่ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37

เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

ฝากครรภ์ที่ไหนดี 2566 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตราซาวนด์ นับลูกดิ้น อาหารและอาการแทรกซ้อน
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว