โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียaที่รุนแรง สามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 24 ชม1 และพบว่า 1ใน 5 ของผู้ป่วยพิการตลอดชีวิต1 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงจัดทำแผนนโยบายที่จะขจัดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบให้หมดไป “defeat meningitis by 2030” ซึ่งหนึ่งในแผนงานคือ ทำให้คุณแม่ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น เพื่อให้ลูกน้อยของเราปลอดภัยห่างไกลจากโรคร้าย
รู้จัก ‘เจ้าเยื่อหุ้มสมองอักเสบ’ หนึ่งในวายร้ายแก๊งโรค IPD ให้มากขึ้น
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส เป็น 1 ในโรคที่เรียกว่า IPD (Invasive Pneumococcal Disease) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งทำให้ลูก ๆ ของเราป่วยได้ โรคนี้พบบ่อยในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี #ยิ่งเด็กยิ่งเสี่ยง 2 เดือนแรกของลูกน้อยก็เสี่ยงต่อโรคนี้แล้ว2
ความรุนแรงของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ซึมลง ความดันเลือดต่ำ เด็กเล็กอาจมีอาการชักได้
โดยเฉพาะเด็กทารกที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรค IPD มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50%3
เด็กบางคนที่รอดชีวิตจากโรคนี้ พบว่า มีพัฒนาการลดลง สูญเสียการได้ยิน พิการทางสมอง มีอาการชักและการเคลื่อนไหวผิดปกติ3
การติดต่อของโรค
เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอสามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก่อให้เกิดโรคไม่เท่ากัน ในประเทศไทยพบว่า มี 13 สายพันธุ์ที่พบบ่อย (ร้อยละ 90)4 ได้แก่ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19F และ 23F
ซึ่งสายพันธุ์ 19A พบปัญหาดื้อต่อยาปฏิชีวนะสูง ทำให้รักษาได้ยาก และพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี5
วิธีการป้องกัน
- ล้างมือให้สะอาดอยู่เป็นประจำ
- ปิดปากเวลาไอ หรือ ใส่หน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้อื่น เช่น น้ำมูก น้ำลาย
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่คนอยู่กันอย่างหนาแน่นหรือแออัด
- ฉีดวัคซีน IPD เพื่อป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนป้องกันโรค IPD เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่นเดียวกับวัคซีนทุกชนิด ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยนะคะ
ขอเชิญชวนคุณแม่ทุกท่านมาร่วมกันปลุกกระแสวันเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วยกัน
เพื่อให้คุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้
โดยการเปลี่ยนกรอบรูปโปรไฟล์ Facebook เป็น หยุดเชื้อเพื่อลูก
ได้ที่ Link >> https://bit.ly/2S0a3am
มาร่วมกันเอาชนะเจ้าโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบไปด้วยกัน
โดยการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ลูกน้อยห่างไกลจากโรคร้ายกันเถอะ!!
__________________________
Reference
- Defeating meningitis by 2030: a global road map, Draft 8 April 2020. Accessed 22 April 2020. https://www.who.int/immunization/research/development/DefeatingMeningitisRoadmap.pdf
- Imohl M et al. Serotype distribution of invasive pneumococcal disease during the first 60 days of life. Vaccine. 2010;28:4758-4762
- World Health Organization. Pneumococcal vaccines WHO position paper–2012. Wkly Epidemiol Rec. 2012;87(14):129-144.
- Rhodes J, et al. Pneumococcal Bacteremia Requiring Hospitalization in Rural Thailand: An Update on Incidence, Clinical Characteristics, Serotype Distribution, and Antimicrobial Susceptibility, 2005-2010. PLoS One. 2013;8(6).
- Phongsamart W, Srifeungfung S, Chatsuwan T, et al.Changing trends in serotype distribution and antimicrobial susceptibility of Streptococcus pneumoniae causing invasive diseases in Central Thailand, 2009-2012. Human Vaccines & Immunotherapeutics. 2014;10(7):1866-1873.
[a]เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้แก่
- Meningococcus
- Pneumococcus
- Haemophilus influenzae
- Group B Streptococcus
สนับสนุนโดย
Pfizer (Thailand) Limited
Floors 36 and 37, United Center Building
323 Silom Road, Silom, Bangrak, Bangkok 10500
Tel (66) 2761 4555
PP-PNP-THA-0298
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!