X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก

บทความ 3 นาที
ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก

มีข่าวดังไปทั่วโลกข่าวหนึ่ง เมื่อเรื่องราว ของเด็กสาวชาวแคนาดาเชื้อสายเวียดนาม ชื่อเจนนิเฟอร์ แพน ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือ Toronto Life เกี่ยวกับการจ้างวานฆ่า พ่อและแม่แท้ๆ ของตนเอง เมื่อปี 2010 ศาลได้สิ้นสุดการพิจารณาคดีเมื่อ มกราคม ปีนี้ และตัดสินจำคุกตลอดชีวิต เจนนิเฟอร์ แพน ในวัยเพียง 29 ปีของเธอ

ความคาดหวังของพ่อแม่

ความคาดหวังของพ่อแม่

ความคาดหวังของพ่อแม่ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย พ่อแม่ทุกคนย่อมมีความคาดหวังในตัวลูกทุกคน ไม่มากก็น้อย เช่น คาดหวังให้เป็นคนดี เรียนเก่ง เข้ากับคนอื่นได้ดี มีความสุข คาดหวังให้ลูกได้เดินในเส้นทางที่ดี เพื่อโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิต แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าให้ความคาดหวังของพ่อแม่เป็นสิ่งที่ทำร้ายลูก  ดังนั้น พ่อแม่ควรระวังให้ความคาดหวังของตนเองเหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยเกินไป รวมทั้ง แนวทางการดูแลลูกเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองคาดหวังนั้น ต้องไม่ทำให้เกิดความทุกข์ใจทั้งต่อลูกและต่อตนเอง  สิ่งที่พ่อแม่ต้องพึงระลึกไว้เสมอ คือ ลูกไม่ใช่ตัวแทนของพ่อแม่ ไม่ได้เป็นสิ่งชดเชยในสิ่งที่ตนเองไม่มีในวัยเด็ก ลูกเป็นหน่วยย่อยที่เป็นอิสระ ความคาดหวังที่พ่อแม่มี  เป็นเพราะความรักและความปรารถนาดี ไม่ใช่เพื่อตัวพ่อแม่เอง

หากความคาดหวังของพ่อแม่ ไม่ใช่สิ่งที่ลูกต้องการ อาจกลายเป็นทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ดังข่าวเศร้าสลดและช็อคโลกของ เจนนิเฟอร์ แพน  ที่อยากให้บุคคลที่มีพระคุณและรักเธอที่สุด ตายออกไปจากชีวิตของเธอ จากบทความใน Toronto Life  กล่าวว่า เจนนิเฟอร์ แพน ถูกเลี้ยงดูด้วยความเข้มงวด จากความคาดหวังของพ่อแม่ ชาวเวียดนามที่อพยพมาอยู่ในแคนาดา  ตั้งแต่ปี 1979 โดยพ่อแม่ทำงานอย่างหนัก เพื่อสร้างฐานะ  พ่อและแม่มีความคาดหวังสูงที่จะให้เป็นลูกเป็นคนเก่งในทุกเรื่อง  โดยเฉพาะเรื่องการเรียน  เพื่อให้โดดเด่นอยู่ในสังคมตะวันตก ได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร  แม้ว่าไม่สามารถกล่าวโทษได้ว่า การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด กดดัน และมีความคาดหวังของพ่อแม่สูง  เป็นสาเหตุให้เด็กคนหนึ่งสามารถจ้างวานฆ่า พ่อแม่ของตนเองได้  เจนนิเฟอร์ แพน  อาจมีความผิดปกติทางจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้การแก้ปัญหาผิดไปจากปกติมาก ตั้งแต่การโกหกเป็นเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีความคิดที่จะฆ่าพ่อแม่ของตนเองได้  อย่างไรก็ตามคงปฎิเสธไม่ได้ว่า การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด กดดัน และตั้งความคาดหวังสูง เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญหาทางจิตใจแก่เด็ก และท่ามกลางค่านิยมด้านการศึกษาในประเทศไทย เป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องหันกลับมามอง

ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก

Advertisement

ความคาดหวังของพ่อแม่ แค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี

  1. ความคาดหวังที่ตรงกับศักยภาพของเด็ก เช่น เด็กบางคนอาจเก่งด้านภาษา ในกรณีนี้ควรให้การสนับสนุนในการเรียนด้านภาษา แทนการบังคับให้เรียนสายวิทยาศาสตร์ เพียงเพราะพ่อแม่ต้องการให้สอบเข้าคณะแพทย์ วิศวะ เป็นต้น หรือในบางรายอาจมีปัญหาด้านสติปัญญา ความคาดหวังเรื่องการเรียนเป็นความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้   แต่เด็กอาจมีความสามารถด้านอื่น เช่น วาดภาพ เป็นต้น หากพ่อแม่ทราบจุดเด่นและจุดด้อย ควรส่งเสริมเด็กให้ถูกทาง ไม่ใช่ส่งเสริมตามที่พ่อแม่ต้องการให้เป็น เมื่อเด็กได้เรียน หรือได้ทำในสิ่งที่รัก จะสามารถทำได้ดี ย่อมทำให้มีความสุขในการทำสิ่งนั้นและย่อมทำให้เกิดการพัฒนาและประสบความสำเร็จในอนาคต
  2. การมีส่วนร่วมในการตั้งความคาดหวังร่วมกัน พ่อแม่ควรให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในสิ่งต่างรวมถึงแนวทางและความคาดหวังในการเรียนของตนเอง เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น แม้ว่าในบางครั้ง ความคาดหวังของเด็กเป็นสิ่งที่ดูไม่เหมาะสม และการตัดสินใจในที่สุด พ่อแม่จะเป็นคนตัดสินก็ตาม แต่การให้เด็กมีส่วนร่วม จะทำให้เด็กเข้าใจเหตุผลของพ่อแม่มากขึ้น ไม่ใช่ต้องทำเพราะพ่อแม่สั่ง ซึ่งจะทำให้เด็กยินดี ร่วมมือกับพ่อแม่ในการทำตามแนวทางที่กำหนด และช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวได้มาก
  3. ความคาดหวังของพ่อแม่ที่ไม่มากเกินไป เนื่องจากความคาดหวังที่มากเกินจะนำไปสู่การทำสิ่งที่มากเกินขอบเขตปกติ เช่น เด็กบางคนต้องเรียนหนังสือทั้งที่โรงเรียนและกวดวิชา วันละ 12 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ทำให้เด็กเครียดเกินไป ไม่มีเวลาในการผ่อนคลาย หรือทำในสิ่งที่รักอย่างอื่น แม้ว่าพ่อแม่บางรายจะบอกว่า ลูกยินดีที่จะเรียนเอง แต่พ่อแม่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ชีวิตที่มีความสุขในวัยเด็กได้หายไป และไม่สามารถย้อนเวลากลับมาทวงคืนได้อีก  ความคาดหวังที่มากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อเวลาผิดหวัง หากผลลัพธ์ไม่ได้อย่างที่พ่อแม่คาดหวัง พ่อแม่อาจหวังอย่างมาก  บางรายเกิดปฏิกิริยาด้านลบจากพ่อแม่อย่างมาก  เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกพยายามมากขึ้น แต่นั่นคือผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อจิตใจเด็ก หากกรณีที่เด็กได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลลัพธ์ไม่ได้อย่างที่ใจพ่อแม่ต้องการ  พ่อแม่ควรให้กำลังใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ แสดงความชื่นชมต่อความพยายาม และตั้งความคาดหวังกันใหม่
  4. ความคาดหวังของพ่อแม่ที่ไม่น้อยเกินไป ดังที่กล่าวในตอนต้น ความคาดหวัง ต้องมีไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในบางครอบครัวที่ค่อนข้างพร้อม จะไม่ตั้งความคาดหวังใดๆ ให้เด็กใช้ชีวิตอย่างสบาย ไม่เข้มงวดเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องการเรียน จึงพบว่า เด็กกลุ่มที่พ่อแม่ไม่แสดงความคาดหวังใด มีแนวโน้มจะขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ ขาดความมุมานะพยายามในการทำสิ่งต่างๆ และอาจไม่ได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ถูกทาง  ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตน้อยกว่าศักยภาพที่มี  จึงกลายเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้

ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก

พึงระลึกไว้เสมอว่า ความคาดหวังของพ่อแม่ มีผลต่อจิตใจของลูก แน่นอนว่าลูกทุกคนไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ การคาดหวังอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากลูกทำไม่ได้ตามที่พ่อแม่คาดหวัง จงอย่าตำหนิ ดุด่า แสดงความผิดหวัง หรือสิ้นหวังในตัวลูก เพราะ สิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดคือกำลังใจจากพ่อแม่ และความเชื่อมั่นในตัวลูก  แม้ในครั้งนี้ลูกจะทำไม่สำเร็จ แต่ควรแสดงอออกให้ลูกรู้ ว่าพ่อแม่จะยังคงเชื่อมั่น และยังมีความหวังในตัวลูกเสมอ คือสิ่งสำคัญ

 

ที่มาจาก : https://www.parentsone.com/5-types-of-parents/

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การเลี้ยงลูกแบบผิดๆ ที่คุณอาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว..ดูคลิปแล้วจะรู้

10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้เป็นสุภาพบุรุษ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พญ.โสรยา ชัชวาลานนท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ความคาดหวังของพ่อแม่ คืออาวุธร้าย ทำลายลูก
แชร์ :
  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว