คนท้องโดนยุงกัด ภัยที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม ใครจะรู้ว่าเจ้ายุงตัวเล็ก ๆ ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์มากมายขนาดนี้ วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับคุณแม่โดนยุงกัดขณะตั้งครรภ์มาฝาก มาดูกันว่าจะเป็นอันตรายขนาดไหน และส่งผลอย่างไรบ้าง
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้ซิกา
คนท้องโดนยุงกัด
โรคไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นเชื้อไวรัสตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 จากลิงที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าซิกา ประเทศยูกันดา และต่อมามีการพบเชื้อในคนเมื่อปี พ.ศ.2495 ในประเทศยูกันดา หลังจากนั้น มีการระบาดของโรคซิกา ในประเทศแถบ แอฟริกา อเมริกา เอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก
สำหรับประเทศไทย มีการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากนั้นมีการพบผู้ป่วยทุกปีประมาณ 2-5 ราย เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย เชื้อไวรัสซิกาเป็นเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และไข้เหลือง สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
อาการเมื่อได้รับเชื้อไวรัสซิกา
คนท้อง โดนยุงกัด
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกที่คลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ
โดยทาง เพจหมอแล็บแพนด้า เคยโพสต์เตือนแม่ตั้งครรภ์ว่าอย่าให้ยุงกัด โดยข้อความระบุว่า “ใครที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ระวังอย่าให้ยุงกัดนะครับ เพราะเราอาจจะติดเชื้อไวรัสซิกาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคได้ ไม่ใช่แค่ยุงลายที่นำโรคนะ การให้เลือด หรือการแพร่เชื้อจากแม่ไปยังลูกในท้องก็แพร่เชื้อได้เหมือนกันถ้าใครเป็น อาการจะไม่หนักอะไร ส่วนใหญ่จะมีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน แต่ถ้าตั้งครรภ์อยู่แล้วโดนยุงที่มีเชื้อกัด อาจจะทำให้ลูกที่คลอดมาพิการหัวเล็ก สมองเล็ก (microcephaly) หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นการป้องกันอย่าให้ยุงกัดคือหัวใจที่สำคัญที่สุดใช้ยาทาป้องกันยุงกัด นอนในมุ้ง ใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกันด้วยนะคร้าบ”
หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกาเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยการถูกกัดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค หญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไปที่มีการติดเชื้อ อาจจะไม่มีอาการแสดง มีเพียง 1 ใน 4 คนเท่านั้นที่จะแสดงอาการ และมีอาการที่ไม่รุนแรง อาการส่วนใหญ่มีไข้ต่ำ ๆ ผื่นขึ้นตามร่างกาย อาจพบมีเยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ และข้อ อ่อนเพลีย ซึ่งจะเกิดอาการหลังจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด 2 – 7 วัน
การวิเคราะห์เบื้องต้นจากการวิจัยโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศบราซิลพบว่ามีความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ต่อการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดของทารกในครรภ์โดยเฉพาะการติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการวิจัยเพื่อหาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด โดยการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การรักษาผู้ป่วย
คนท้องโดนยุงกัด
ด้านวิธีการรักษาส่วนใหญ่เป็นการดูแลรักษาตามอาการเป็นหลัก เนื่องจากโรคซิกายังเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในอวัยวะภายใน และหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์
ทารกสามารถรับเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่
ข้อมูลในปัจจุบันเรื่องการถ่ายทอดเชื้อไวรัสซิกาว่า สามารถถ่ายทอดสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์ หรือทารกแรกเกิดยังมีจำกัดมาก อย่างไรก็ตามมีรายงานเกี่ยวกับการถ่ายทอดสู่ทารกในช่วงแรกเกิดในโรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทำให้ต้องมีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากแม่สู่ลูก และผลกระทบต่อทารก ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาควรได้รับการติดตาม และดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด
ในบางรัฐของประเทศบราซิลที่มีการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสซิกาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ พบมีการเพิ่มขึ้นของทารกแรกเกิดที่มีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของการวิจัยที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของบราซิล ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดเป็นความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งกำลังมีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ทั้งนั้นทางองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอเมริกาแนะนำให้มีการดูแลก่อนคลอดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : 1 , 2
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำความรู้จัก 5 โรคพบบ่อยในเด็กวัยเรียน พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษา และเทคนิครับมือฉบับคุณแม่มืออาชีพ
อยากรู้ต้องได้รู้ ผ้าอ้อมผ้า VS. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แบบไหนดีต่อสุขภาพลูกน้อยแรกเกิด และตอบโจทย์พ่อแม่ยุคใหม่ได้ดีกว่ากัน
สูตรอาหารเมนูไข่ สำหรับเด็ก 1 ขวบ ประโยชน์เยอะ เสริมสร้างร่างกายลูกให้แข็งแรง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!