TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัมภีร์ธรรมชาติการนอนของทารกแรกเกิด ที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

บทความ 3 นาที
คัมภีร์ธรรมชาติการนอนของทารกแรกเกิด ที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

พ่อแม่มือใหม่ควรรู้หลังพาลูกกลับบ้านแล้ว จะต้องรับมือกับธรรมชาติการนอนของทารกอย่างไร เพราะพฤติกรรมการนอนของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากคุณแม่เข้าใจกลไกการนอนของลูกจะทำให้รับมือกับปัญหาการนอนและการให้นมลูกได้อย่างถูกวิธีนะคะ

การนอนของทารกแรกเกิด

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่า พฤติกรรม การนอนของทารกแรกเกิด แต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยหรือสภาพแวดล้อมก็เป็นได้ หากพ่อแม่เข้าใจก็สามารถรับมือและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อยได้

รู้จัก เข้าใจ การนอนของทารก

การนอนหลับของทารกโดยปกติมีสองระยะ คือ

  1. ระยะที่มีการกลอกลูกตา จะเป็นช่วงที่ทารกยังหลับไม่สนิท มีการกลอกตาไปมา อัตราการหายใจและชีพจรไม่สม่ำเสมอ และฝัน
  2. ระยะที่ไม่มีการกลอกลูกตา การเต้นของชีพจรและอัตราการหายใจจะสม่ำเสมอแล้ว ทารกนอนนิ่งสงบหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก ในช่วงที่หลับลึกที่สุดร่างกายจะผ่อนคลาย ตื่นยาก จะไม่มีการฝัน หายใจช้าและสม่ำเสมอ
การนอนของทารก

การนอนของเจ้าตัวน้อย ทารกแรกเกิด

การนอนของทารก จะประกอบไปด้วยการนอนของสองระยะนี้สลับกันไปตลอดทั้งคืน ซึ่งในช่วงแรกทารกจะมีการนอนจะน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และจะเพิ่มนานขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น ระยะของการกลอกลูกตาจะสั้นลง ทารกอาจตื่นและอยู่เงียบ ๆ ได้ในช่วงสุดท้ายของการนอนแต่ละรอบ และสามารถกลับไปหลับต่อได้เอง

การนอนของทารกในแต่ละวัย

  • การนอนของทารก วัยแรกเกิด 0-2 เดือน นอนวันละประมาณ 16-20 ชั่วโมง มักตื่นขึ้นมากินนมคืนละ 2-3 ครั้ง
  • เข้าสู่วัยทารกอายุ 2-3 เดือน จะนอนวันละประมาณ13-16 ชั่วโมง จะตื่นขึ้นมากินนมกลางคืน 1 ครั้ง และเมื่อเข้าสู่อายุ 4 เดือน ทารกประมาณร้อยละ 90 อาจหลับยาว 8 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นขึ้นมากินนม
  • วัยเตาะแตะนอนวันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง ทารกในวัย 9 เดือน ร้อยละ 70-80 จะหลับยาวตลอดคืน ถ้าได้นอนอย่างพอเพียงก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและอารมณ์ของลูกน้อย เด็กจะตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ไม่งอแง เหนื่อยง่าย พร้อมที่จะเรียนรู้ตามพัฒนาการได้อย่างสมวัย และการได้นอนหลับยาวนั้นจะส่งผลดีต่อลูกน้อย ที่ Growth Hormone ในร่างกายจะทำงานในขณะหลับ จะช่วยให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ด้วย

ทำไมลูกถึงชอบตื่นนอนตอนการคืน สร้างสุขนิสัยการนอนของทารกให้ดีได้อย่างไร อ่านต่อ >>

การนอนของทารก

คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่า พฤติกรรมการนอนของทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจหลับง่ายตลอดคืน บางคนไม่ยอมนอนและตื่นบ่อย หรือเด็กบางคนอาจตื่นตอนกลางคืนเพื่อมากินนมมากกว่า 1 ครั้ง ยังไม่ยอมนอนหลับยาว ๆ ทั้งนี้พ่อแม่สามารถสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังเล็ก เช่น

  • ใช้เวลากลางวันที่ลูกตื่นควร กอด อุ้ม เล่นกับลูกให้เต็มที่ และเมื่อถึงเวลาเข้านอนควรสร้างบรรยากาศการนอนโดยไม่ต้องเปิดไฟให้สว่าง ไม่เล่นกับลูกเมื่อถึงเวลาเข้านอน หรือตื่นมาให้นมเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วยความเงียบ การที่พ่อแม่สร้างบรรยากาศการนอนของลูกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกัน จะช่วยทำให้ลูกน้อยเข้าใจและปรับตัวในช่วงเวลาการนอนได้ง่าย
  • ไม่ควรให้ลูกนอนในช่วงบ่ายยาวนานหลายชั่วโมง เพราะอาจไม่ยอมเข้านอนง่ายในเวลากลางคืน หรือปล่อยให้ลูกนอนดึกเดินไป
  • จัดช่วงเวลานอนที่เหมาะสมกับช่วงเวลาตามลูกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
การนอนของทารกแรก

การนอนของทารก

หากเจอลูกตื่นขึ้นมาร้องไห้บ่อยในตอนกลางคืนนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของทารกในวัย 6 เดือนแรก ซึ่งพออายุมากขึ้นลูกก็จะเริ่มหลับยาวขึ้น แต่หากลูกน้อยชอบร้องหรือตื่นนอนในตอนกลางคืน อาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น หิว ผ้าอ้อมเปียกแฉะ เล่นในเวลากลางวันมากเกินไป หรือตื่นขึ้นมาเพื่อแสดงว่าลูกต้องการให้แม่อยู่ข้าง ๆ ฯลฯ คุณแม่ควรตอบสนองลูกน้อยด้วยการเข้าไปกอด ลูบหัว หรือตบหลังเบา ๆ หรือลองให้นมลูก หากลูกยังไม่หยุดร้องอาจยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตไว้ เช่น เนื่องจากเจ็บป่วย อาการโคลิค เป็นต้น


ที่มา : www.chulakid.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เข้าใจธรรมชาติการนอนของทารกในครรภ์

7 วิธีทําให้เบบี๋หลับง่ายช่วยแม่มือใหม่สบายขึ้น

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คัมภีร์ธรรมชาติการนอนของทารกแรกเกิด ที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว