การนอนของทารกแรกเกิด
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่า พฤติกรรม การนอนของทารกแรกเกิด แต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยหรือสภาพแวดล้อมก็เป็นได้ หากพ่อแม่เข้าใจก็สามารถรับมือและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อยได้
รู้จัก เข้าใจ การนอนของทารก
การนอนหลับของทารกโดยปกติมีสองระยะ คือ
- ระยะที่มีการกลอกลูกตา จะเป็นช่วงที่ทารกยังหลับไม่สนิท มีการกลอกตาไปมา อัตราการหายใจและชีพจรไม่สม่ำเสมอ และฝัน
- ระยะที่ไม่มีการกลอกลูกตา การเต้นของชีพจรและอัตราการหายใจจะสม่ำเสมอแล้ว ทารกนอนนิ่งสงบหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก ในช่วงที่หลับลึกที่สุดร่างกายจะผ่อนคลาย ตื่นยาก จะไม่มีการฝัน หายใจช้าและสม่ำเสมอ
การนอนของเจ้าตัวน้อย ทารกแรกเกิด
การนอนของทารก จะประกอบไปด้วยการนอนของสองระยะนี้สลับกันไปตลอดทั้งคืน ซึ่งในช่วงแรกทารกจะมีการนอนจะน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และจะเพิ่มนานขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น ระยะของการกลอกลูกตาจะสั้นลง ทารกอาจตื่นและอยู่เงียบ ๆ ได้ในช่วงสุดท้ายของการนอนแต่ละรอบ และสามารถกลับไปหลับต่อได้เอง
การนอนของทารกในแต่ละวัย
- การนอนของทารก วัยแรกเกิด 0-2 เดือน นอนวันละประมาณ 16-20 ชั่วโมง มักตื่นขึ้นมากินนมคืนละ 2-3 ครั้ง
- เข้าสู่วัยทารกอายุ 2-3 เดือน จะนอนวันละประมาณ13-16 ชั่วโมง จะตื่นขึ้นมากินนมกลางคืน 1 ครั้ง และเมื่อเข้าสู่อายุ 4 เดือน ทารกประมาณร้อยละ 90 อาจหลับยาว 8 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นขึ้นมากินนม
- วัยเตาะแตะนอนวันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง ทารกในวัย 9 เดือน ร้อยละ 70-80 จะหลับยาวตลอดคืน ถ้าได้นอนอย่างพอเพียงก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและอารมณ์ของลูกน้อย เด็กจะตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ไม่งอแง เหนื่อยง่าย พร้อมที่จะเรียนรู้ตามพัฒนาการได้อย่างสมวัย และการได้นอนหลับยาวนั้นจะส่งผลดีต่อลูกน้อย ที่ Growth Hormone ในร่างกายจะทำงานในขณะหลับ จะช่วยให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ด้วย
ทำไมลูกถึงชอบตื่นนอนตอนการคืน สร้างสุขนิสัยการนอนของทารกให้ดีได้อย่างไร อ่านต่อ >>
คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่า พฤติกรรมการนอนของทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจหลับง่ายตลอดคืน บางคนไม่ยอมนอนและตื่นบ่อย หรือเด็กบางคนอาจตื่นตอนกลางคืนเพื่อมากินนมมากกว่า 1 ครั้ง ยังไม่ยอมนอนหลับยาว ๆ ทั้งนี้พ่อแม่สามารถสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังเล็ก เช่น
- ใช้เวลากลางวันที่ลูกตื่นควร กอด อุ้ม เล่นกับลูกให้เต็มที่ และเมื่อถึงเวลาเข้านอนควรสร้างบรรยากาศการนอนโดยไม่ต้องเปิดไฟให้สว่าง ไม่เล่นกับลูกเมื่อถึงเวลาเข้านอน หรือตื่นมาให้นมเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วยความเงียบ การที่พ่อแม่สร้างบรรยากาศการนอนของลูกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกัน จะช่วยทำให้ลูกน้อยเข้าใจและปรับตัวในช่วงเวลาการนอนได้ง่าย
- ไม่ควรให้ลูกนอนในช่วงบ่ายยาวนานหลายชั่วโมง เพราะอาจไม่ยอมเข้านอนง่ายในเวลากลางคืน หรือปล่อยให้ลูกนอนดึกเดินไป
- จัดช่วงเวลานอนที่เหมาะสมกับช่วงเวลาตามลูกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
การนอนของทารก
หากเจอลูกตื่นขึ้นมาร้องไห้บ่อยในตอนกลางคืนนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของทารกในวัย 6 เดือนแรก ซึ่งพออายุมากขึ้นลูกก็จะเริ่มหลับยาวขึ้น แต่หากลูกน้อยชอบร้องหรือตื่นนอนในตอนกลางคืน อาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่น หิว ผ้าอ้อมเปียกแฉะ เล่นในเวลากลางวันมากเกินไป หรือตื่นขึ้นมาเพื่อแสดงว่าลูกต้องการให้แม่อยู่ข้าง ๆ ฯลฯ คุณแม่ควรตอบสนองลูกน้อยด้วยการเข้าไปกอด ลูบหัว หรือตบหลังเบา ๆ หรือลองให้นมลูก หากลูกยังไม่หยุดร้องอาจยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตไว้ เช่น เนื่องจากเจ็บป่วย อาการโคลิค เป็นต้น
ที่มา : www.chulakid.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
เข้าใจธรรมชาติการนอนของทารกในครรภ์
7 วิธีทําให้เบบี๋หลับง่ายช่วยแม่มือใหม่สบายขึ้น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!