ร่างกายของคุณแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- ขนาดมดลูกที่โตขึ้นทำให้ไปดันซี่โครงกระดูกด้านล่างขึ้นมา เป็นผลให้คุณแม่มีอาการจุกเสียดขึ้นมาบ้างเวลาที่ขยับตัว ลุก นั่ง หรือนอน
- อาจมีอาการของกรดไหลย้อน ที่เป็นผลมาจากฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน ทำให้การย่อยอาหารในกระเพาะช้าลง
- น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกอึดอัดมากขึ้น
- การนอนหลับ ด้วยขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่นอนหลับได้ไม่ค่อยดี
- อาการปวดหลัง น้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังมากขึ้น บวกกับส่วนรับน้ำหนักด้านล่างคือกระดูกเชิงกรานขยายตัวเตรียมคลอด หลังจึงต้องรับน้ำหนักเต็มที่ จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังขึ้นมาได้
- ปวดปัสสาวะบ่อย ทารกในครรภ์มีขนาดร่างกายที่ใหญ่ขึ้นทำให้มดลูกขยายตัว น้ำหนักตัวและการดิ้นของทารกจะกดลงบนกระเพาะปัสสาวะ เป็นผลทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 7
- อวัยวะเพศ ทารกในครรภ์มีการแบ่งเพศชายหญิงขึ้นอย่างชัดเจน ในทารกเพศหญิงจะมีการพัฒนาช่องคลอดขึ้นมาจนเป็นร่องลึก ในทารกเพศชายจะมีการพัฒนาลูกอัณฑะขึ้นมา
- ทารกสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
- ทารกเริ่มลืมตา และระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์ แต่สีของนัยน์ตายังไม่ใช่สีที่ถาวร ซึ่งต้องหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว 2-3 เดือน ถึงจะมีการปรากฎขึ้นมาว่าสีนัยน์ตาที่แท้จริงเป็นสีไหน เช่น ดำ น้ำตาล ฟ้า เขียว เป็นต้น
- เซลล์สมองและระบบประสาท ช่วงนี้สมองของทารกพัฒนาขึ้นจนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วน เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง
- ทารกเริ่มมีผิวที่หนาขึ้น เพราะมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้นมาก
- ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน
- ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง มีเหลือไว้เฉพาะที่บริเวณไหล่ และหลัง
- ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 7
ถึงแม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายแล้วก็ตาม ร่างกายของคุณแม่ และทารกในครรภ์ก็ยังต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่เหมือนเดิม ยิ่งในคุณแม่จะต้องทานอาหารที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปจากร่างกาย เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งสารอาหารทั้งสองอย่างนื้ทารกจะดึงเอาจากร่างกายของคุณแม่ไปเพื่อใช้ในการสร้างกระดูก ส่วนธาตุเหล็กจะนำไปสร้างเม็ดเลือดให้กับทารก ดังนั้นคุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารทั้งแคลเซียม ธาตุเหล็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนม การทานเนื้อสัตว์ ธัญพืช ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก งาดำ โยเกิร์ต เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
อาการคนท้องเดือนที่ 8 ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 – 32
100 สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ในช่องการตั้งครรภ์เดือนที่ 7
อาหารสำหรับคุณแม่ท้องไตรมาส 3
การตั้งครรภ์เดือนที่ 6 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!