X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การดัดขาลูก อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

บทความ 5 นาที
การดัดขาลูก อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

เพราะความรักความหวังดี และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงดัดขาลูกหลาน จนทำให้หนูน้อยคนนี้ต้องกระดูกหักถึงขั้นต้องใส่เฝือก

จากกรณีที่มีการแชร์โพสต์เคนเด็กวัย 7 เดือนที่กระดูกขาส่วนปลายหักสองชิ้นข้างขวาจนต้องใส่เฝือกนั้น สาเหตุเกิดจากความหวังดี ที่กลัวลูกหลานขาโก่ง จึงลงมือ ดัดขาลูก ให้ จนน้องมีอาการร้องไห้งอแงทุกครั้งที่จับขาน้อง เมื่อพาไปหาหมอ ผลเอ็กซเรย์ออกมาว่า ดัดขาลูก ส่งผลให้กระดูกขาส่วนปลายหักสองชิ้นข้างขวา ทำให้หนูน้อยรายนี้ต้องเข้าเฝือก

ดัดขาลูก-1

ดัดขาลูก-1

เคสนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง เพราะปกติแล้วนั้น ทารกแรกเกิดคลอดออกมาขาจะโก่งกันแทบทุกคน เพราะด้วยสรีระขอทารกตอนอยู่ในท้องนั้น พวกเขาจะต้องนอนคุดคู้ม้วนตัวอยู่ภายในท้องของคุณแม่ จึงเป็นธรรมดาเมื่อทารกออกมาขาจะโก่ง แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นร่างกายก็จะพัฒนาและขาตรงเองได้ในที่สุด

ส่วนเด็กที่ขาโก่งนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งก็เกิดจากกรรมพันธุ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปดัดขาพวกเขานะคะ แต่ทั้งนี้ขาโก่งของเด็กก็มีแบบที่ไม่ปกติด้วยเช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กขาโก่งแบบปกติ

 

ดัดขาลูก-2

ดัดขาลูก-2

 

Advertisement

ตามรูปด้านบนนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงเด็กที่มีขาโก่งโดยธรรมชาติที่เป็นมาตั้งแต่เกิด

โดยภาพที่ 1A ลักษณะขาเด็กจะโก่งออกนอก เข่าทั้งสองข้างจะห่างกัน และข้อเท้าชิดกัน ซึ่งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นในเด็กทุกคนหลังจากคลอดออกมาใหม่ๆ  ที่เป็นแบบนี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่เด็กเจริญเติบโต หรือขดตัวอยู่ในมดลูกของคุณแม่ซึ่งมีลักษณะกลมๆ

ภาพที่ 2B เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 2 ขวบ ขาเด็กจะตรงขึ้น

ภาพที่ 3C เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ ขาเด็กมีลักษณะเป็นขาเป็ด

ภาพที่ 4D เมื่อเด็กอายุได้ 7 ขวบ ขาเด็กจะกลับมาตรงเป็นปกติเหมือนขาผู้ใหญ่

ตามภาพนี้จะแสดงให้เห็นว่าเป็นขาโก่งที่ปกติ คือสามารถหายได้เองตามธรรมชาติเมื่อเด็กโตขึ้น

ดัดขาลูก-3

ดัดขาลูก-3

การสังเกตว่าเด็กขาโก่งผิดปกติ

แน่นอนว่าภาวะขาโก่งในเด็กนั้นเป็นไปตามธรรมชาติตั้งแต่แรกคลอด แต่หากเมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบ ขาไม่ตรงคือยังคงเป็นลักษณะขาโก่งอยู่(ตามรูป1A) และสามขวบก็โก่งมากขึ้น แนะนำว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะเมื่อลูกอายุโตขึ้นขาก็จะยิ่งโก่งมากขึ้น ผลทางสุขภาพที่ตามมาคือจะเจ็บปวดตรงหัวเข่า และข้อเข่าจะเสื่อม

วิธีการรักษาเด็กขาโก่งที่ผิดปกติ

ในเด็กที่มีภาวะขาโก่งที่ผิดปกติคือไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ การรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัด โดยตัดแต่งกระดูกให้ตรง ใส่เฝือกขารอกระดูกติด เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลมากที่สุด ยิ่งหากเป็นเด็กเล็กอายุน้อยๆ การผ่าตัดจะรักษาได้หายเร็วกว่าเด็กที่อายุโต เพราะเด็กเล็กๆ กระดูกจะติดเร็ว หลังผ่าตัดคุณหมอจะใส่เฝือกให้ประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นจะฝึกกายภาพให้เด็ก ยืน เดิน ออกกำลังกายเบาๆ ให้กล้ามเนื้อฟื้นความแข็งแรง ขาก็จะตรงเดินได้ตามปกติ

ความเชื่อว่าดัดขาลูกแต่เล็ก ขาจะไม่โก่งจริงหรือ?

ความเชื่อว่าดัดขาลูกแต่เล็ก ขาจะไม่โก่งจริงหรือ? โดยธรรมชาติแล้ว เด็กแรกเกิด แทบทุกคน จะเกิดมาพร้อมกับขา ที่โก่ง ซึ่งเรียกว่าโก่ง แบบธรรมชาติ และ ขาที่แม่ดูโก่ง ๆ โค้ง ๆ นั้นจะเริ่มเข้าที่ เมื่อลูกมีอายุประมาณ 2 ขวบ แต่อีกภาวะหนึ่ง เรียกว่าเป็น โรคขาโก่ง ที่เด็กจะมี ลักษณะขาโก่งออกด้านนอก หัวเข่าไม่ชิดกัน เวลาเดิน ขาจะถ่าง ๆ ออกจากกัน แบบนี้ จะไม่สามารถหายได้เอง หากสังเกตว่า เมื่อลูกอายุถึง 2 ขวบแล้ว แต่ขายังโก่งผิดปกติอยู่ แนะนำว่า อาการแบบนี้ ควรพาเจ้าตัวเล็กไปหาหมอ เพื่อตรวจแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้นะคะ เพราะเมื่อลูก อายุมากขึ้น ขาจะยิ่งโก่งมากขึ้น เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ตรงหัวเข่า และ ข้อเข่าของลูกได้ ความเชื่อที่ว่า ดัดขาลูกตั้งแต่เล็ก พยายามดัดขาลูก ให้ตรงนั้น จะช่วยแก้ปัญหาขาโก่ง ทำให้ลูกมีขาที่ ตรงสวย จริง ๆ แล้วตามหลักการแพทย์ ถือว่าเป็นความเชื่อ ที่ไม่ถูกต้อง และ ไม่ควรทำ เพราะขาของลูกน้อย ยังมีพัฒนาการไม่เต็มที่ การดัดขาลูก หากทำผิดวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ลูกน้อยได้

วิธีสังเกตว่าเจ้าตัวน้อยขาโก่ง หรือไม่

  • จับลูกนอน เหยียดขาตรง จับข้อเท้าให้ชิดกัน จับเข่าให้กระดูกสะบ้าหัวเข่า ทั้ง 2 ข้าง หันตรงไปด้านหน้า
  • วัดระยะ ระหว่างหัวเข่าด้านใน ทั้งสองข้าง ไม่ควรห่างเกิน 8 ซม.
  • ถ้าช่องว่างระหว่างขา มีความห่างมากกว่า 8 ซม. ในช่วงที่อายุเกิน 2 ขวบควรพาลูก ไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุ และ รักษาอาการ อย่างถูกวิธีนะคะ
  • สังเกตการเดินของลูกว่า มีการเดินกระเผลก เดินได้สะดวก หรือไม่ หรือ มีอาการเท้าปุก ร่วมด้วย หากพบความผิดปกติ ก็ควรหาลูกไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจให้ละเอียดเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากลูกอายุยังไม่เกิน 2 ขวบ คุณแม่ อาจจะเห็นว่าลูกมีขาโก่ง แต่การเดินปกติ ไม่มีอาการอื่น ร่วมด้วย ถือว่าเป็นธรรมชาติ ที่เด็กทุกคนต้องเป็น ตั้งแต่แรกเกิดอยู่แล้ว และ จะเริ่มเข้าที่ดี เมื่อโตขึ้น ไม่ควรไปดัดขาลูก หรือ วิตกกังวลไปก่อน สิ่งสำคัญก็คือการดูแลลูก ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และ เสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ที่เหมาะสมให้ กับลูกน้อยตามวัยกันนะคะ

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

ที่มา: เพจสมาคมแชร์ประสบการณ์การเป็นคุณแม่ และคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

10 ความเชื่อหลังคลอดเกี่ยวกับทารก

ดื่มเหล้าไม่รู้ว่าท้อง ลูกจะพิการไหม

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • การดัดขาลูก อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว