X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

บทความ 3 นาที
ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

ในเด็กเล็ก ๆ นั้น ขณะแปรงฟันบางครั้งจะกลืนยาสีฟันเข้าไปด้วย หากเป็นยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อาจส่งผลให้เกิดการสะสมในร่างกายได้ แล้วอย่างนี้จะให้ลูกเริ่มใช้ยาสีฟันมีฟลูออไรด์เมื่อไรดี เรามีคำตอบค่ะ

ฟลูออไรด์คืออะไร

ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันฟันผุสามารถใช้ได้ 2 วิธี

1.ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน  ฟลูออไรด์ชนิดนี้จะถูกส่งผ่านกระแสเลือดไปสู่ฟัน (systemic fluoride) ฟลูออไรด์ชนิดนี้ได้จากอาหาร  น้ำ  และผลิตภัณฑ์เสริม คือ  ยาเม็ดฟลูออไรด์  ยาน้ำฟลูออไรด์  จะมีประโยชน์มากในระยะการสร้างฟันที่อยู่ในเหงือกตอนที่ฟันกำลังขึ้น

2.ฟลูออไรด์เฉพาะที่  คือ  การใช้ฟลูออไรด์ให้สัมผัสกับฟันโดยตรง  สามารถทำได้โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์  การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์  การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์  มีประโยชน์สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีฟันขึ้นแล้วโดยจะช่วยลดหรือชะลอการเกิดฟันผุ

ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้จริงหรือไม่

ฟลูออไรด์สามารถป้องกันฟันผุได้  โดยฟลูออไรด์จะไปสะสมอยู่ในฟันทำให้ผลึกเคลือบฟันแข็งแรงมากขึ้น ทนต่อกรดที่ทำให้ฟันผุมากขึ้น  ฟลูออไรด์ยังมีผลต่อแบคทีเรีย  โดยจะไปลดการสร้างกรดของแบคทีเรีย  ลดการเกาะติดของคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน  นอกจากนี้ฟลูออไรด์ทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุที่ผิวฟันส่งผลให้ฟันผุในระยะเริ่มแรกหายเป็นปกติได้

ทพ.ประทีป พันธุมวนิช  กล่าวว่า   “จากการศึกษาวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ พบว่า “ฟลูออไรด์” สามารถใช้ป้องกันโรคฟันผุได้ และจะมีผลดียิ่งขึ้นถ้าใช้เป็นประจำ การผสมฟลูออไรด์ในยาสีฟันก็เพื่อให้ฟลูออไรด์สามารถทำปฏิกิริยากับฟันและอยู่ในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันที่ไม่ยุ่งยาก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเติมสารที่มีประโยชน์ต่อฟันและช่องปากในยาสีฟัน ดังจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน มีการเติมสารป้องกันการเสียวฟัน สารช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ สารช่วยป้องกันการเกิดหินปูนใหม่ ฯลฯ แต่ที่เห็นผลชัดที่สุดก็คือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ช่วยป้องกันโรคฟันผุอย่างได้ผล”

การเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หรือไม่มีฟลูออไรด์ มีข้อควรคำนึง ดังนี้

1.เลือกยาสีฟันควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยจะต้องใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับอายุของเด็ก
2.ในเด็กอายุช่วง 6 ปี ควรเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยให้ผู้ปกครองบีบยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวและสอนให้เด็กไม่ให้กลืนยาสีฟัน ควรดูแลเด็กแปรงฟันอย่างใกล้ชิด
3.เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ผู้ปกครองต้องดูแลขณะแปรงฟันอย่างใกล้ชิด
4.ยาสีฟันที่เหมาะสำหรับเด็กจะมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำกว่า 1,000 ppm อยู่ในช่วง 500 – 850 ppm ในประเทศไทยกำหนดให้มีฟลูออไรด์ในยาสีฟันได้ไม่เกิน 0.11% หรือ 1,100 ppm รูปแบบที่ใช้มี 2 ชนิด คือ โซเดียมฟลูออไรด์และโซเดียมโมโนฟลูออไรด์ฟอสเฟต

ยาสีฟันไม่มีฟลูออไรด์คืออะไร เหมาะกับใคร

Advertisement

ยาสีฟันไม่มีฟลูออไรด์หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า ยาสีฟันเด็ก  เนื่องจากเด็กยังควบคุมการกลืนได้ไม่ดี โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี  อาจกลืนยาสีฟันที่ใช้ในแต่ละครั้ง ซึ่งผลเสียขอาจจะทำให้ฟันตกกระแล้ว ถ้ากลืนมาก ๆ จะก่ออันตรายต่อร่างกายได้  ยาสีฟันไม่มีฟลูออไรด์จะไม่สามารถป้องกันฟันผุได้ เพียงแต่ช่วยให้ฟันและช่องปากสะอาดเท่านั้น   ดังนั้น  เมื่อเด็กรับประทานอาหาร  ขนมหรือหลังจากดื่มนมคุณแม่ควรให้เด็กบ้วนปากหรือดื่มน้ำตาม  ในเด็กทารก ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำทำความสะอาดช่องปากเพื่อลดการเกิดเชื้อโรคสะสมในช่องปากได้

ไขข้อข้องใจยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะในช่วงก่อน 2 ขวบ เด็กจะยังควบคุมการกลืนไม่ได้ สามารถป้องกันการกลืนโดยการใช้ผ้าสะอาดคอยเช็ดยาสีฟันและฟองออกทันทีขณะแปรง ก่อนลูกหุบปาก และใช้ยาสีฟันแต่เพียงเล็กน้อยแตะแปรงเป็นชั้นบาง ๆ หรือเท่าเมล็ดข้าว กดให้จมในขนแปรง และในช่วง 3 ขวบ หากลูกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์สม่ำเสมอ และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้ฟันผุ เช่น หลับคาขวดนม รับประทานลูกอม ขนมเป็นประจำ เป็นต้น ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน

การรับฟลูออไรด์ต่อเนื่องไปนาน ๆ จะเป็นอันตรายหรือไม่

1.สารฟลูออไรด์เป็นสารบำรุงฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ แต่ต้องรับประทานในขนาดที่เหมาะสม หากได้รับมากเกินไปอาจเกิดปัญหาฟันตกกระ (Dental fluorosis) เป็นสีขาวขุ่นจนถึงสีน้ำตาล

2.หากร่างกายได้รับฟลูออไรด์มากเกินขนาดอาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง กระหายน้ำ โดยจะเกิดหลังจากรับประทานฟลูออไรด์ 30 นาที – 24 ชั่วโมง หากเกิดอาการดังกล่าวให้ดื่มนมหรือพยายามทำให้อาเจียน หากไม่ดีขึ้นต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ข้อควรระวังในการใช้ฟลูออไรด์ให้ปลอดภัยกับเด็ก

1.เก็บผลิตภัณฑ์ที่มีฟลูออไรด์ให้พ้นมือเด็ก
2.ให้เคี้ยวหรืออมยาเม็ดฟลูออไรด์ก่อนกลืน
3.ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ใช้สำหรับเด็กให้ใช้ในปริมาณน้อย ๆ โดยบีบยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว
4.ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ หรือเด็กที่ไม่สามารถอมกลั้วปากได้
5.ผู้ปกครองควรดูแลเด็กขณะแปรงฟันหรือใช้ผลิตภัณฑ์ผสมฟลูออไรด์

เรื่องน่ารู้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญต่อยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยกำหนดให้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่จำหน่ายในท้องตลาด จะมีปริมาณเกิน 1,000 ส่วนในล้านส่วนไม่ได้ ประกอบกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้กำหนดให้ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อยู่ในช่วง 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน นอกจากนี้ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ก็มีส่วนร่วมในการกำหนดยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยรับรองยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 900-1,100ส่วนในล้านส่วน ว่าจะมีผลในการป้องกันโรคฟันผุ เมื่อใช้เป็นประจำ

หากคุณแม่ให้ลูกน้อยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณที่แพทย์แนะนำ ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะได้รับฟลูออไรด์เกินขนาดค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.si.mahidol.ac.th

https://www.manager.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 เคล็ดลับชวนเจ้าตัวเล็กมาแปรงฟัน

วิธีทำให้ลูกแปรงฟัน

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว