X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

บทความ 5 นาที
ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

ใกล้คลอด ห้ามทำอะไร โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ รอคอยที่จะเห็นหน้าลูก จนแม่ ๆ บางคนลืมใส่ใจสุขภาพในช่วงนี้ ควรระวังอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ใกล้คลอด ข้อห้ามคุณแม่ท้องแก่ ห้ามทำอะไรบ้าง 

ใกล้คลอด

ใกล้คลอด

  • ห้ามละเลยสัญญาณอันตราย

เมื่อคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดบีบในระดับที่ไม่รุนแรง หรือปวดเสียวแปลก ๆ หากมีอาการดังกล่าวให้ระวังเอาไว้ก่อนค่ะ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ หากปวดท้องคลอดต้องไปพบแพทย์โดยด่วน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์?

  • เลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

ถึงแม้ว่ายาจะหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ยาบางชนิดก็อันตรายและส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ และอาจกระตุ้นการคลอดได้ การที่คุณแม่ใช้ยารักษาโรค หรือแม้แต่อาหารเสริม ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

  • ห้ามเดินทางไกล
Advertisement

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะคุณแม่ที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ควรงดเดินทางไกล เพราะในช่วงนี้อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และคลอดก่อนกำหนด

  • ซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือ ขับขี่รถ

การซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือขับขี่รถ จะส่งผลกระทบกระเทือนกับลูกในท้อง และยังต้องระวังอุบัติเหตุรอบตัว จึงทำให้มดลูกต้องมีการเกร็งตัวอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะแม่ท้องใกล้คลอด ควรให้คนอื่นขับแทนจะดีที่สุด

  • สับปะรด

แม่ท้องสามารถกินสับปะรดได้ แต่ควรกินในปริมาณที่พอดี หากกินมากเกินไป อาจส่งผลให้มดลูกบีบตัวรุนแรง และในสับปะรดนั้น มีเอนไซม์ หากได้รับมากเกินไป จะทำให้เป็นการเร่งคลอด ปากมดลูกอ่อนตัวลง และอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

ใกล้คลอด

ใกล้คลอด

  • ห้ามเครียด

ขณะที่ร่างกายมีความเครียด จะส่งผลให้ร่างกายอยากอาหาร ทำให้คุณแม่ต้องรับประทานอาหารเข้าไปในปริมาณที่มาก ทำให้คุณแม่มีน้ำหนักมาก และการที่คุณแม่มีความเครียดสูง ทารกก็รับรู้ได้เช่นกัน หลังคลอดทารกจะมีพฤติกรรมที่เลี้ยงยาก และงอแง

  •  อย่าออกกำลังกายหักโหม

สำหรับไตรมาสที่ 3 หากคุณแม่ออกกำลังกายอย่างหักโหม ร่างกายจะแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนไม่ทัน ทำให้ทารกเกิดภาวะหายใจผิดปกติได้เช่นกัน

  • ห้ามใส่ส้นสูง

คุณแม่ตั้งครรภ์ มักเข้าพบแพทย์เพราะปวดหลังอยู่บ่อย ๆ หากคุณแม่ใส่ส้นสูง ส่วนหนึ่งก็มาจากรองเท้าได้ด้วยเช่นกัน การที่คุณแม่ใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา เอว และหลัง เกิดความตึงเครียด และเกิดอาการปวดตามมา และยิ่งไปกว่านั้นคุณแม่ที่อยู่ในไตรมาสที่ 3 หากใส่ส้นสูง จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงของแม่ตั้งครรภ์เสียสมดุล และอาจทำให้ลื่นล้มและแท้งบุตรได้

  • ห้ามนอนดึก

แม่ตั้งครรภ์ต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง หากคุณแม่นอนน้อย จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

  • ห้ามอดอาหาร ลดน้ำหนัก

ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากคุณแม่อดอาหาร ทารกก็จะมีอัตราการคลอดก่อนกำหนดสูง และสมองพิการได้ หากคุณแม่กลัวอ้วนหลังคลอด แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รับรองว่าน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว

  • ห้ามดื่มนมเกิน 2 แก้ว

หากคุณแม่ดื่มนมมากเกินความจำเป็น ทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการแพ้ได้ง่าย เช่น แพ้โปรตีนนมวัว

  • ห้ามใส่ชุดรัดแน่นพอดีตัวเกินไป

เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น คุณแม่ควรใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายอย่างมากโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีกลิ่นตัว กลิ่นอวัยวะเพศที่แรงขึ้น การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ทำให้เกิดกลิ่นอับมากขึ้น และยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี หายใจไม่สะดวกอาจหน้ามืดเป็นลมได้

  • ห้ามยืนหรือนอนเป็นเวลานาน 

ไม่ควรเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้ขาและเท้าบวมมากขึ้น อาจเกิดเส้นเลือดขอดที่ขา ทำให้ปวดหลังง่าย แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากนี้คุณแม่ก็ไม่ควรนอนนานด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักครรภ์จะไปกดทับกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง อีกทั้งน้ำหนักครรภ์อาจไปกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ร่างกายเกิดอาการบวม รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจทำให้หน้ามืดได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชั่วโมง พยายามเปลี่ยนท่านั่งหรือยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ เพื่อช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น

  • ห้ามสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคนท้องโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไปจนถึงการสูบบุหรี่ และสารเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง และมีโอกาสแท้งได้

  • ห้ามมีเซ็กส์ 

การมีเซ็กส์ตอนที่ใกล้คลอดอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กเกิดการแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์คลอดได้ ซึ่งผลดังกล่าวจะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกได้

  • เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง

กิจกรรมหรืองานบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อทารกน้อยในท้องได้ เช่น การเล่นกีฬาที่มีแรงปะทะมาก เช่น บาสเกตบอล การดำน้ำลึก รวมถึงการเผชิญสารเคมีอันตรายทั้งหลาย เช่น การทำงานบ้านที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมจากสารเคมีต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมที่ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ มีอะไรบ้างคนท้องควรรู้

ท้องแก่ใกล้คลอด อาการไหนที่แม่ท้องต้องระวัง

ใกล้คลอด

ใกล้คลอด

  • น้ำเดิน หรือน้ำคร่ำเดิน 

เป็นอาการค่อนข้างชัดว่าใกล้คลอดแล้ว คุณแม่จะมีน้ำเหลวใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด ส่วนมากจะไหลในปริมาณที่ไม่เยอะ แต่บางรายอาจมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก โดยพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องแม่

  • เจ็บท้องคลอด 

คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ มีอาการตึงหรือบีบรัดที่ครรภ์ โดยเริ่มปวดไล่มาตั้งแต่มดลูกลงไปยังก้นอย่างสม่ำเสมอหรือไล่จากล่างขึ้นบนสลับกัน ปวดเป็นจังหวะ และมีรูปแบบในการปวดที่คาดเดาได้ เช่น มีอาการปวดทุก ๆ 8 นาที ปวดอยู่นานประมาณ 30-70 วินาที แม้อาการเจ็บท้องจะเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายกับอาการปวดเตือนที่เป็นการเจ็บท้องหลอก (False Labor) ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่สับสนได้อยู่บ้าง โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจดูอีกครั้งว่าสภาพร่างกายของแม่มีความพร้อมและปากมดลูกเปิดกว้างมากพอหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีรับมือการเจ็บท้องคลอด

  • มูกเลือดออกทางช่องคลอด

ปกติปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ที่มา : samitivejhospitals,childingeverything,nakornthon

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว