X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคเท้าปุก สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติและวิธีรักษาโรคเท้าปุก

บทความ 5 นาที
โรคเท้าปุก สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติและวิธีรักษาโรคเท้าปุกโรคเท้าปุก สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติและวิธีรักษาโรคเท้าปุก

ลูกเป็นโรคเท้าปุก เพราะแม่ท้องหรือเปล่า เท้าปุกมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

โรค เท้าปุก เป็นโรคความผิดปกติที่เท้าซึ่งมักเกิดกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้มีเท้าบิดผิดรูปหรือผิดตำแหน่ง และอาจเกิดกับเท้าเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยแพทย์จะแนะนำให้เด็กที่เป็นโรคนี้เข้ารับการรักษาทันทีหลังคลอด เพราะหากปล่อยไว้จนเด็กเข้าสู่วัยที่เริ่มยืนหรือเดินได้แล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ แต่เด็กส่วนใหญ่ก็จะหายเป็นปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด

โรคเท้าปุก

โรค เท้าปุก

เท้าปุก Clubfoot

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเมื่อเห็นลักษณะเท้าของลูกผิดปกติ มักเป็นกังวลว่าลูกอาจจะเดินไม่ได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป หรืออาจพิการ แต่ความจริงแล้ว โรคเท้าปุกถือว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ผลดีเลยทีเดียว ถ้าเด็กได้รับการรักษาตั้งแต่ อายุยังน้อยๆ ก็สามารถดัดให้เข้ารูปร่างใกล้เคียงปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด

เท้าปุกอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้ โดยเท้าจะมีลักษณะที่บิดหมุนเข้าด้านในและมีปลายเท้าที่จิกลงดังรูป ผู้ปกครองมักกังวลว่าเด็กจะเดินไม่ได้เมื่อโตขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ยังเด็กก็สามารถเดินได้ โดยใช้ส่วนหลังเท้าเป็นส่วนที่ลงน้ำหนักและสัมผัสพื้น เมื่อโตขึ้นส่วนนั้นจะมีลักษณะหนาและด้านขึ้นมา และรูปเท้าแบบนี้ทำให้เด็กไม่สามารถใส่รองเท้าแบบปกติทั่วไปได้

ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เพราะจากการศึกษาเด็กที่มีเท้าปุก พบความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเท้าปุกได้หลากหลาย ทั้งเรื่องของพันธุกรรม การมีกระดูกบริเวณข้อเท้าที่ผิดรูปแต่กำเนิด การเคลื่อนของกระดูกบริเวณข้อเท้า ในเด็กบางคนพบว่ามีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบางมัดที่ผิดปกติหรือหายไป บางคนพบว่ามีพังผืดอยู่ในกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า บางคนพบว่ามีเส้นเลือดบางเส้นที่ผิดปกติหรือขาดหายไป สิ่งเหล่านี้อาจเป็นผลที่ตามมาหรือเป็นสาเหตุของเท้าปุกก็ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

เท้าปุกพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ

คือแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ เราเรียกว่า Idiopathic clubfoot ซึ่งยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ แบบที่เท้าของเด็กมีลักษณะแข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้ และแบบที่มีเท้าอ่อน สามารถจัดให้เข้ารูปได้ เด็กบางคนที่เท้าผิดรูปไม่มากและมีลักษณะที่อ่อนดัดได้ง่าย เชื่อว่าเป็นผลมาจากท่าของเด็กที่อยู่ในท้องมารดา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเท้าปุกที่เป็นผลจากโรค หรือความผิดปกติบางอย่างที่จะพบในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่น โรคเยื่อหุ้มข้อแข็งติด หรือเกิดจากการรัดของเยื่อหุ้มรก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเรียกว่า Acquired clubfoot

กลุ่มที่มีเท้าอ่อน สามารถดัดให้เข้ารูปได้ตั้งแต่แรกเกิด แพทย์จะสอนวิธีการดัดเท้าให้มารดากลับไปทำให้ลูกบ่อยๆ และนัดกลับมาดูเป็นระยะๆ เท้าจะค่อยๆ กลับเข้ามาสู่รูปร่างปกติได้ แต่ถ้ามารดาไม่สามารถดัดเท้าให้ลูกได้ หรือดัดแล้วไม่ถูกวิธี แพทย์อาจทำการดัดเท้าและใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขา ประมาณ 2-3 ครั้งจนเท้าอยู่ในรูปร่างปกติ และมักจะหายภายในสามเดือน หรือหายได้ง่ายด้วยการดัดหรือใส่เฝือกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น

เท้าปุกที่เกิดจากการขดตัวของทารกในครรภ์โดยที่เท้าบิดเข้าใน หลังจากคลอดแล้วรูปเท้าปุกจะหายได้เอง ภายใน 2 ถึง 3 เดือนหลังคลอด ภาวะนี้บางคนเรียกว่า Positional clubfoot ซึ่งควรให้แพทย์ที่ชำนาญเป็นคนตรวจแยก เพราะถ้าไม่ใช่เท้าปุกแบบ positional clubfoot จริงๆ เด็กอาจจะขาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องตามเวลาอันควร

กลุ่มที่มีเท้าแข็ง แพทย์จะทำการดัดเท้า และใส่เฝือกยาวตั้งแต่ปลายเท้าถึงต้นขาตั้งแต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก และเปลี่ยนเฝือกทุก 1-2 สัปดาห์จนครบ 6 ครั้ง รูปร่างของเท้าจะค่อยๆ ดีขึ้นจนเกือบปกติ แต่ข้อเท้ามักจะยังกระดกขึ้นได้ไม่สุดเหมือนปกติ แพทย์จะทำการตัดเอ็นร้อยหวาย และใส่เฝือกยาวต่ออีก 3 สัปดาห์จะได้ผลดีในรายที่รักษาช่วงก่อน 6 เดือน และแข็งไม่มากนัก ยิ่งดัดและเข้าเฝือกได้เร็วเท่าไรโอกาสได้ผลดีจะมากขึ้นเท่านั้น

 

เท้าปุก มักมีอาการอย่างไรบ้าง? 

ผู้ป่วยโรคเท้าปุกจะมีลักษณะขาและเท้าที่ผิดปกติ ดังนี้

  • เท้าโค้งงอผิดรูป หลังเท้าพลิกลงพื้น และส้นเท้าบิดเข้าด้านใน หากไม่ได้รับการรักษาอาจพบว่าเท้าบิดเข้าด้านในมากขึ้น จนเด็กต้องใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักขณะยืนหรือเดิน
  • กล้ามเนื้อน่องของขาข้างที่มีเท้าผิดปกติจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
  • เท้าข้างที่ผิดปกติมีขนาดเล็กกว่าเท้าข้างที่เป็นปกติโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 นิ้ว

ทั้งนี้ เท้าที่บิดผิดรูปมักไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แต่ผู้ป่วยควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการยืนหรือการเดินในอนาคตได้

 

ลูกเป็นโรคเท้าปุก

หากพบลูกมีรูปเท้าผิดปกติ ควรรีบรักษาอย่าปล่อยทิ้งไว้ อาจเดินผิดปกติ แพทย์เตือน! หากพบความผิดปกติของรูปเท้าในเด็กแรกเกิดควรรีบรักษา ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเดินผิดปกติ แนะคุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน ป้องกันลูกน้อยห่างไกลจากโรคเท้าปุก

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเท้าปุก เป็นโรคที่มีความผิดปกติของรูปเท้าตั้งแต่กำเนิด โดยเท้าจะมีลักษณะบิดหมุนเข้าด้านใน ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวของกระดูกเท้า และรูปร่างของกระดูกเท้าบางตำแหน่งผิดปกติ รวมถึงการหดสั้นของเอ็น กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อนของเท้า ทำให้เกิดการผิดรูป อาจเกิดได้ทั้งสองข้างหรือเพียงข้างเดียว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ กินอะไรหลีกเลี่ยงโรคเกาต์ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับโรคเกาต์

 

เท้าปุก เกิดได้ตั้งแต่ในท้อง สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติ มีอะไรบ้าง วิธีรักษาโรคเท้าปุกไม่อยากให้ลูกคลอดออกมาเท้าผิดรูป! วิธีป้องกันโรคเท้าปุก แม่ต้องห้ามทำอะไร

โรคเท้าปุก

สาเหตุของโรคเท้าปุก

โรคเท้าปุกเกิดจากการมีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณเท้าสั้นกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเด็กที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้ อาจเสี่ยงต่อโรคเท้าปุกมากกว่าเด็กคนอื่น ๆโรคเท้าปุกแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุ คือ

  1. เกิดจากตำแหน่งทารกในครรภ์ถูกผนังมดลูกกดทับ
  2. แบบไม่ทราบสาเหตุ
  3. เกิดจากกลุ่มอาการหรือโรคทางระบบประสาท โดยปัจจัยเสี่ยงเกิดจากพ่อแม่ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเท้าปุก แม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์อาศัยในมดลูกที่มีน้ำคร่ำน้อย ท่าเด็กในครรภ์ที่มีการกดเบียดผนังมดลูก รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง

 

เมื่อลูกเป็นโรคเท้าปุก

โดยปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเท้าปุกจากการสังเกตลักษณะผิดปกติของเท้าทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจต้องใช้การอัลตราซาวด์ตรวจดูลักษณะเท้าของทารกตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน และไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับทารกแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนรักษาล่วงหน้าและเริ่มทำการรักษาให้เร็วยิ่งขึ้น นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวถึงการวินิจฉัยอาการโรคเท้าปุกว่า การวินิจฉัยอาการโรคเท้าปุกแพทย์จะพิจารณาดูลักษณะรูปเท้า และอาจเอกซ์เรย์ ดูตำแหน่งรูปร่างของกระดูกเท้า รวมถึงการตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุร่วมด้วย

 

วิธีรักษาโรคเท้าปุก

  • โรคเท้าปุกสามารถรักษาให้หายได้ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ โดยการรักษาจะต้องเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์
  • เริ่มจากการดัดเท้า และใส่เฝือกเพื่อให้รูปเท้าค่อย ๆ กลับมาปกติ
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย หรือย้ายเอ็นกล้ามเนื้อเพื่อให้รูปเท้ากลับมาปกติ
  • ในเด็กแรกเกิดแพทย์จะแนะนำให้รักษาทันทีหลังคลอด เพราะหากปล่อยไว้เมื่อเด็กโตขึ้นอาจเดินผิดปกติ

 

การรักษาโรคเท้าปุกสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ดังนี้

  • การดัดเท้าและเข้าเฝือก โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้เด็กที่มีอาการไม่รุนแรงให้เข้ารับการรักษาภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยให้เข้าเฝือกแบบพอนเซตี้ (Ponseti Method) คือ การดัดเท้าที่มีลักษณะผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติทีละน้อยด้วยการเข้าเฝือกแข็งเพื่อคงรูปเท้าเอาไว้และเปลี่ยนเฝือกทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นเด็กจะต้องใส่เฝือกอ่อนหรืออุปกรณ์ดามเท้า เพื่อช่วยป้องกันเท้าคืนตัวผิดรูปอีก ซึ่งจะต้องใส่ไว้ตลอดเวลาในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากถอดเฝือกแข็ง ยกเว้นตอนอาบน้ำ จากนั้นจึงใส่เฉพาะตอนกลางคืนต่อไปอีกจนอายุประมาณ 4-5 ปี
  • การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณเท้าสั้นและตึงจนไม่สามารถดัดเท้าได้ แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดยืดเส้นเอ็นบริเวณเข่าและเท้า หรือผ่าตัดย้ายเอ็นกล้ามเนื้อเพื่อให้สามารถดัดเท้ากลับมาเป็นรูปร่างปกติได้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องผ่าตัดยืดเส้นเอ็นร่วมกับผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก โดยแพทย์จะใช้แผ่นโลหะหรือสลักเกลียวยึดเท้าเอาไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงเข้าเฝือกแข็งเพื่อค่อย ๆ ดัดเท้าให้มีรูปร่างเป็นปกติต่อไป

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเท้าปุก

ผู้ป่วยโรคเท้าปุกที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่น ๆ มักสามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติโดยไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจประสบปัญหาเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก หรือหารองเท้าที่พอดีกับเท้าได้ยาก เพราะเท้าข้างที่ผิดปกติมักมีขนาดเล็กกว่าเท้าข้างที่ปกติ

ส่วนผู้ป่วยที่ไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • โรคข้ออักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบบริเวณข้อต่อ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตามข้อและมีอาการข้อติดแข็ง
  • ลักษณะการเดินผิดปกติ เพราะใช้ด้านข้างเท้าหรือหลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักแทนการใช้ฝ่าเท้า ทำให้ปวดเท้าและใส่รองเท้าไม่ได้ นอกจากนั้น การเดินที่ผิดปกติอาจส่งผลให้เกิดแผลหรือตาปลาที่เท้าตามมาด้วย
  • ผู้ป่วยอาจรู้สึกกังวลต่อภาพลักษณ์ของตนเอง จนอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้ในอนาคต

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

วิธีป้องกันโรคเท้าปุก แม่ต้องห้ามทำอะไร

โรคเท้าปุกสามารถป้องกันได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน และพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อตรวจอัลตราซาวด์พร้อมทั้งดูพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่ในครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำและวางแผนการรักษาล่วงหน้าได้ โดยวิธีป้องกันโรคเท้าปุก ได้แก่

  • แม่ท้องห้ามสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เด็กในครรภ์เป็นโรคเท้าปุก
  • แม่ท้องห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ ไม่ดื่มเหล้าหรือสุรา ไม่ดื่มเบียร์ งดดื่มแอลกอฮอล์

 

เท้าปุก เกิดได้ตั้งแต่ในท้อง สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติ มีอะไรบ้าง วิธีรักษาโรคเท้าปุกไม่อยากให้ลูกคลอดออกมาเท้าผิดรูป! วิธีป้องกันโรคเท้าปุก แม่ต้องห้ามทำอะไร

โรคเท้าปุก

ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่าลืมรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้คุณหมอตรวจร่างกายอย่างละเอียด และติดตามดูพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคเท้าปุกและโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ที่มา www.pobpad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อุทาหรณ์! ลูกโดนจับดัดขาจนหัก! เหตุเพราะคนหวังดี กลัวลูกจะขาโก่ง

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

ภาวะเลือดจางในคนท้อง โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ เลือดจางตอนท้องต้องกินอะไร วิธีป้องกันโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

เน้นชัด-อาการเจ็บท้องเตือนก่อนคลอด-แบบนี้คลอดชัวร์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • โรคเท้าปุก สาเหตุลูกรูปเท้าผิดปกติและวิธีรักษาโรคเท้าปุก
แชร์ :
  • เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

    เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

  • โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

    โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

    เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

  • โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

    โรคเท้าปุก พบบ่อยในเด็กเล็ก รักษาหายง่าย พ่อจ๋าแม่จ๋าหมดกังวลใจได้!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ