X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายบนโลกโซเชียล

บทความ 5 นาที
โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายบนโลกโซเชียล

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย บนโลกออนไลน์ อยากจะเตือนสติพ่อแม่ อย่ามัวแต่เห่อลูก ลงรูปลูกมากเกินไปจนละลายความปลอดภัยของลูกเอาได้

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายบนโลกโซเชียล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของงานวิจัย “101S เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก&พัฒนาการสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการโพสต์รูปลูกลงในโซเชียลว่า

พฤติกรรมการโพสต์รูปลงโซเชียลมีเดียของพ่อแม่ เป็นพฤติกรรมใหม่ของพ่อแม่ในยุคนี้ที่เรียกว่า Sharenting ซึ่งถ้าลูกยังเล็กอยู่พ่อแม่สามารถแชร์รูปลูกได้ แต่ถ้าลูกมีอายุได้ประมาณ 3 ขวบ มีความรู้สึกนึกคิด สามารถแสดงความเห็นของตัวเองได้ พ่อแม่จะต้องขออนุญาตจากลูกก็ลงรูปทุกครั้ง

แน่นอนว่าการโพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ เราสามารถอัพเดตเรืื่องราวต่างๆ พัฒนาการของลูก หรือความน่ารักสดใส ที่เราต้องการบันทึกไว้ดูในอนาคตข้างหน้า หรือแม้แต่จะแชร์ให้คนอื่นเห็น แต่การที่พ่อแม่แชร์ทุกอย่างโดยลืมไปว่าที่จริงแล้ว บนโซเชียลมีเดียยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่นั่นเอง ดังนั้น ก่อนที่พ่อแม่จะลงรูปลูกไม่ว่าจะบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์ ก็ควรลงอย่างระมัดระวังนะคะ รวมถึงควรนึกใช้คำและรูปภาพที่ไม่โป๊ และไม่ควรใช้คำหยาบคาย เพราะอย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียไม่สามารถลบออกไปได้ เวลาลูกโตขึ้นอาจจะเห็นรูปที่ไม่เหมาะสม และเกิดความอับอายได้นะคะ

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย

โพสต์รูปลูกลงโซเชียลอันตรายแค่ไหน

Advertisement

จากการสำรวจพ่อ แม่ 569 คน ที่มีลูกอายุตั้งแต่ 0-4 ขวบ ที่ ร.พ. C.S. Mott Children’s Hospital มหาวิทยาลัย มิชิแกน สหรัฐอเมริกาใน The Wall Street Journal พบว่า โดยเฉลี่ย พ่อ และแม่ จะโพสต์รูปราว 1,000 รูป บนสื่อสังคมออนไลน์ก่อนที่ลูกจะมีอายุถึง 5 ขวบ ส่วนใหญ่แล้ว พ่อ แม่ จะโพสต์รูปลูกโดยพลการโดยที่ไม่ได้บอกลูกก่อนและพ่อ แม่ จำนวนมากไม่มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว รวมทั้งรูปส่วนใหญ่จะมีสถานที่ที่ถ่ายรูปบอกไว้ด้วย ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมีพฤติกรรมบนสื่อออนไลน์ ดังนี้

  • เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับลูกตัวเองมากเกินไป 74 เปอร์เซ็นต์
  • เผยแพร่ข้อมูลมากจนกระทั่งสามารถสืบไปถึงที่อยู่ของลูกได้ 51 เปอร์เซ็นต์
  • เผยแพร่ข้อมูลที่น่าอับอายเกี่ยวกับลูก 56 เปอร์เซ็นต์
  • เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับลูก 27 เปอร์เซ็นต์

จากข้อมูลของ i-SAFE Foundation พบว่าเด็กหนึ่งในสามมีประสบการณ์จากการถูกคุกคามทางโลกออนไลน์ แต่มากกว่าครึ่งของเด็กไม่ปริปากบอกเรื่องเหล่านี้กับ พ่อ แม่ ซึ่งเท่ากับว่าเด็กกำลังเผชิญความเสี่ยงด้วยตัวเองเพียงลำพัง

อย่างกรณีล่าสุดที่เป็นข่าวใหญ่ หลายคนคงจะจำได้ในกรณีที่น้องเป่าเปาถูกคนแปลกหน้าหยิก จนทำให้น้องร้องไห้เสียดังกลางงานอีเว้นท์ ซึ่งนักข่าวหลายสำนักก็ประโคมข่าวว่า เป็นเพราะความหมั่นไส้ปนความหมั่นเขี้ยวของเด็ก ที่น้องเป็นลูกดารา มีชื่อเสียง พ่อแม่พาออกงานอีเว้นท์บ่อย และชอบโพสต์รูปลูกลงโซเชียล แน่นอนว่าทันทีที่คนเป็นพ่อเป็นแม่รู้เรื่อง รวมถึงกลุ่มแฟนคลับของน้องที่ทราบข่าวก็เกิดการไม่พอใจขึ้น จากเหตุการณ์นี้ ดร.ปนัดดา ได้เอ่ยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เด็กอาจมีความเป็นไปได้ที่จะจำได้ และจำไม่ได้ ส่วนมากที่ฝังใจ จะมาจากเหตการณ์นั้นรุนแรงมาก หรือ ถูกกระทำบ่อยๆ ทุกวันเป็นระยะเวลานาน

ดร.ปนัดดา ยังได้บอกอีกว่า กาารที่พ่อแม่โพสต์รูปเด็กไม่ใช่มีเฉพาะความน่ารัก ความน่าเอ็นดูอย่างเดียว แต่มันยังเป็นการบอกถึงข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่อาศัย อายุ กิจกรรมที่ลูกกำลังทำ สถานที่ที่กำลังจะไป ระยะเวลา หรืออะไรก็ตาม ที่มันกลายเป็นข้อมูลที่ให้เกิดการลักพาตัวเด็ก หรือการทำร้ายลูกน้อยของเราได้ ซึ่งตามพัฒนาการมนุษย์ของเด็กเล็กวัย 0-3 ปี เด็กจะต้องมีพัฒนาการด้านการรับรู้ตัวตน หรือ sense of self ซึ่งมันจะส่งต่อไปพัฒนาการด้านอื่นๆ ของน้องอีก 4 ด้าน รวมถึงสมองด้วย

โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย

โพสต์รูปลูกอย่างไรให้ปลอดภัย

พัฒนาการการรับรู้ตัวตนของเด็กคืออะไร

การที่เด็กรู้ตัวว่า ตนเองมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง แยกความคิด ความต้องการของตนเองออกจากแม่ และผู้อื่นได้ เด็กรับรู้ว่า คำพูด และการกระทำของตนเองที่แสดงออกมา มีผลกับผู้อื่น และคำพูดและการกระทำของผู้อื่น ก็มีผลกับตัวเองเช่นกัน ซึ่งประสบการณ์ที่สะสมในช่วง 3 ปีแรกนี่เอง จะเป็นต้นกำเนิดของ ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง ความชอบ แรงบันดาลใจ การตีความโลกใบนี้ และเป้าหมายในชีวิต

ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพในช่วงวัย 0-3 คือ ประสบการณ์ความรัก ความอบอุ่น และความผูกพันที่ได้รับจากพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้ ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพ ที่สำคัญและขาดไม่ได้อีกประการ คือ การให้โอกาสเด็กได้ใช้ทักษะสมอง EF ในการคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ลองผิดลองถูก ใช้ความพยายาม จนเกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งการสะสมประสบการณ์แห่งการทำอะไรให้สำเร็จด้วยตนเองนี้ เป็นกุญแจสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกคนให้ก้าวผ่าน พัฒนาการด้านการรับรู้ตนเองไปให้ได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากส่งผลให้เด็กรับรู้ว่าตนเองเป็นคนมีความสามารถ มีค่า และมีความภาคภูมิใจตนเอง ไม่จำเป็นต้องหาความสุข ความพึงพอใจจากความนิยมที่คนอื่นมอบให้

วิธีโพสต์รูปลูกบนโซเชียลมีเดียที่ถูกต้อง

  1. ควรเขียนข้อความโดยใช้คำพูดที่เหมาะสมกับลูก ให้นึกถึงลูกในอนาคตถ้าลูกมาเจอแล้วจะรู้สึกอย่างไร
  2. อย่าแชร์สถานที่ที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูก เช่น ที่อยู่โรงเรียน ข้อมูลสุขภาพ
  3. เลือกรูปลงที่มีเสื้อผ้าปิดมิดชิด ดูตามความเหมาะสม
  4. ไม่ควรแชร์สถานที่ (ปิด location) ทุกครั้ง อย่าบอกว่าตอนนี้ลูกอยู่ที่ไหน
  5. ถ้าลูกโตแล้ว ควรขออนุญาตลูกก่อนว่ารูปนี้ พ่อหรือแม่โพสต์ลงได้ไหม
  6. เลือกตั้งค่ารูปภาพหรือข้อความให้เป็นส่วนตัว หรือเฉพาะเพื่อนที่อยากให้เห็นเท่านั้น

ที่มา: thepotentia, isranews

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

10 โรงเรียนนานาชาติที่ค่าเทอมแพงที่สุด

วิธีเลี้ยงลูกสาวสำหรับคุณพ่อ เลี้ยงยังไงให้ได้ใจลูกสาว

ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊คอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายบนโลกโซเชียล
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว