X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่?

บทความ 3 นาที
แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่?แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่?

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจมีความกังวลใจว่าน้ำนมแม่ที่ท้องเสียจะทำให้ลูกท้องเสียหรือไม่ แม่ท้องเสียให้นมลูกได้ไหม และ ลูกท้องเสียต้องงดนมแม่หรือไม่ มาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กันค่ะ

แม่ท้องเสียให้นมลูกได้ไหม

แม่ท้องเสีย ให้นมลูกได้ไหม?

ข้อมูลจากเพจนมแม่แบบแฮปปี้ ยืนยันว่า น้ำนมแม่ไม่มีเชื้อที่จะทำให้ลูกท้องเสีย เพราะส่วนที่มีการติดเชื้อคือทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายซึ่งระบบการขับถ่ายและระบบทางเดินอาหาร เป็นคนละส่วนกับเต้านมที่ผลิตน้ำนม เชื้อที่ทำให้ท้องเสียจึงไม่ออกมาทางน้ำนม แต่ออกมากับอุจจาระและอาเจียน

เช่นเดียวกับ พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล ได้อธิบายไว้ในเพจนมแม่ว่า “เชื้อโรคในลำไส้แม่จะอยู่เฉพาะในลำไส้ ไม่ผ่านเข้ากระแสเลือดเพราะมีการกรองชั้นที่หนึ่ง คือ ผนังหลอดเลือดค่ะ เชื้อโรคจะติดตะแกรงผนังหลอดเลือดที่ลำไส้ผ่านเข้าเลือดไม่ได้   ในเลือดจึงไม่มีเชื้อโรค  ทีนี้น้ำนมแม่ผลิตจากเต้านมแม่ใช่ไหมคะ จะต้องมีระบบไหลเวียนพาเลือดมาที่ต่อมผลิตน้ำนมในเต้านม เลือดก็ต้องมาผ่านตะแกรงชั้นที่สองคือผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเต้านม และตะแกรงชั้นที่สามคือผนังของต่อมผลิตน้ำนม กว่าจะกลั่นออกมาเป็นน้ำนมได้ ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เชื้อจากลำไส้แม่จะเข้าสู่น้ำนมแม่ เพราะต้องผ่านการกรองตั้งสามชั้นค่ะ น้ำนมแม่ที่ท้องเสียจึงไม่มีเชื้อโรค แม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้แน่นอน”

ลูกจะติดเชื้อไวรัสท้องเสียจากแม่ได้หรือไม่

ลูกสามารถติดเชื้อไวรัสท้องเสียจากแม่ได้ แต่ไม่ใช่จากน้ำนม โดยจะเป็นการติดจากมือของแม่ที่อาจจะล้างไม่สะอาด มีเชื้อไวรัสเกาะอยู่ พอมาอุ้มลูกแล้วลูกเอาปากมาสัมผัสกับมือแม่ เชื้อไวรัสก็เข้าสู่ลูกโดยวิธีจากมือแม่สู่ปากลูก คุณแม่จึงควรล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อจากมือแม่เข้าสู่ปากลูก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกท้องเสีย

เมื่อแม่ท้องเสียควรทำอย่างไร

1) ดื่มน้ำ จิบน้ำเกลือแร่ อย่าให้ขาด
2) แม่ต้องล้างมือสะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และก่อนอุ้มลูก
3) ทานยาได้ แต่ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยคุณแม่สามารถตรวจสอบว่ายาที่คุณหมอจ่ายมานั้นมีผลต่อน้ำนมแม่หรือไม่ ได้ที่ www.e-lactancia.org

แล้วถ้าลูกท้องเสียล่ะควรงดนมแม่หรือไม่? คลิกหน้าถัดไป

ลูกท้องเสียต้องงดนมแม่หรือไม่

ลูกท้องเสียต้องงดนมแม่หรือไม่?

พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล แนะนำให้ทานนมแม่ต่อไปได้ ไม่จำเป็นต้องงดนมแม่  “กินนมแม่ต่อดีที่สุดเลยค่ะ อย่างที่บอกไปแล้ว นมแม่มีสารภูมิต้านทานที่นมผงไม่มี นมแม่ยังมีสารทำให้เยื่อบุผิวงอกขึ้นมาได้เร็วด้วยนะคะ ภาษาแพทย์เรียก Epidermal Growth Factor(EGF)  เยื่อบุลำไส้ที่ถูกเชื้อโรคทำลายไป ฟื้นตัวได้เร็วกว่าเพราะ EGF นี่แหละค่ะ นมผงก็ไม่มีสารนี้อีกเช่นกัน”

นอกจากนี้ทารกที่กินนมแม่จะได้สารป้องกันการติดเชื้อที่มีเฉพาะในนมแม่ เท่านั้น คือ IgG, macrophage, lysozyme, lactoferrin ฯลฯ ทําให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง อาการป่วยจะเป็นระยะสั้นกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่

ทำไมลูกทานนมแม่ยิ่งถ่ายเป็นน้ำ?

ในกรณีที่ทารกมีอาการท้องเสียนาน เป็นเพราะเยื่อบุลําไส้ถูกเชื้อโรคทําลาย ทําให้ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตสได้น้อยลง เมื่อกินแลคโตสเข้าไปแต่ไม่ถูกย่อย จะไปดูดน้ำเข้ามาในลําไส้มากขึ้น จึงถ่ายเป็นน้ำจํานวนมาก

การแก้ไขภาวะท้องเสีย ไม่ใช่การหยุดกินนมแม่ แต่ควรให้น้ำนมแม่ต่อ เพื่อให้ได้รับสารช่วยทำลายเชื้อโรค และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมลำไส้ ส่วนในกรณีที่ต้องการลดปริมาณแลคโตสในนมแม่ ควรใช้วิธีปั๊มนมหรือบีบนมส่วนหน้า ซึ่งมีแลคโตสสูงออกไปเก็บไว้ก่อน (เก็บไว้ใช้ได้หลังจากหายดีแล้ว) เพื่อให้ลูกได้กินนมส่วนหลังซึ่งมีแลคโตสน้อยกว่า หรือ ไม่ต้องเน้นให้ลูกกินนมมากเกินไป แต่เน้นให้กินอาหารที่ดูดซึมง่าย เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก ใส่เกลือเล็กน้อย กินน้ำเกลือแร่ กินผงแลคโตบาซิลลัสเพื่อช่วยซ่อมแซมลำไส้ อาการท้องเสียจะดีขึ้นเร็วกว่ากินนมชนิดอื่น

ดังนั้น แม่ท้องเสีย หรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นนมชนิดอื่น เพราะนมแม่ไม่มีเชื้อโรค ทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกัน และทำให้ผิวลำไส้กลับมาเป็นปกติเร็วขึ้นด้วย

ที่มา : เพจนมแม่แบบแฮปปี้, เพจนมแม่, breastfeedingthai.com

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อุจจาระของทารกนั้นสำคัญไฉน

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยิ่งยาวยิ่งดี

 

บทความจากพันธมิตร
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
ผู้เชี่ยวชาญแนะ พลังจากสารอาหารในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดี ท้องสบาย ร่างกายแข็งแรง
ผู้เชี่ยวชาญแนะ พลังจากสารอาหารในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดี ท้องสบาย ร่างกายแข็งแรง
จบปัญหา นมสต็อกเหม็นหืน ด้วย SUNFAMILY Application จาก SUNMUM แอปเดียวอยู่หมัด
จบปัญหา นมสต็อกเหม็นหืน ด้วย SUNFAMILY Application จาก SUNMUM แอปเดียวอยู่หมัด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่?
แชร์ :
  • อาหารที่ควรกินเมื่อท้องเสีย ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้

    อาหารที่ควรกินเมื่อท้องเสีย ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้

  • เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

    เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • อาหารที่ควรกินเมื่อท้องเสีย ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้

    อาหารที่ควรกินเมื่อท้องเสีย ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้

  • เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

    เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ