X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แพ้ท้องหนักมาก แต่ลูกออกมาไอคิวสูง คุณแม่จะยอมไหม???

บทความ 3 นาที
แพ้ท้องหนักมาก แต่ลูกออกมาไอคิวสูง คุณแม่จะยอมไหม???

คุณแม่ที่กำลังท้องกำลังไส้ไม่มีใครหรอกค่ะ ที่จะชอบอาการแพ้ท้อง เพราะคลื่นไส้กับอาเจียนตอนเช้าๆ ไม่ได้เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีเลย แต่ถ้าบอกว่าการที่คุณแม่มีอาการแบบนี้บ่งบอกว่าลูกจะเป็นเด็กฉลาด ทุกคนคงร้องกันเสียงหลง แบบนี้ก็ได้เหรอ

ยิ่งแพ้ท้องหนัก ลูกยิ่งฉลาด

ผลการศึกษาและเฝ้าสังเกตของโรงพยาบาลเด็กจากโตรอนโต เก็บข้อมูลจากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จำนวน 850,000 คน จาก 5 ประเทศ พบว่าผู้หญิง 85% ต้องทรมานกับอาการแพ้ท้องเหล่านี้ เนื่องจากอาการคลื่นไส้นั่นมากจากการที่ฮอร์โมนปล่อย โปรตีนเข้มข้นที่มาจากรกของลูก (Placenta) ส่วนใหญ่แล้วเป็น โกนาโดโทรปิน (gonadotropin) ซึ่งเป็นโทรปิกฮอร์โมน (tropic hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีผลให้รังไข่ของคุณแม่สร้างฮอร์โมนืที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ เช่น เอสโตเจนและโปรเจสเทอโรน ซึ่งหากสร้างมากเกินไปก็จะทำให้คุณแม่คลื่นไส้ได้ค่ะ

นอกจากนี้ยังพบว่าหากคุณแม่มีการอาเจียนบ่อยๆ ลูกในครรภ์ก็จะเป็นเด็กที่แข็งแรงกว่าปกติ ทั้งน้ำหนักและความยาว และอัตราการคลอดก่อนกำหนดก็จะลดลงด้วยค่ะ ส่วนคุณแม่ที่ไม่มีอาการแพ้ท้องอย่างหนักจำนวน 9.5% มีอัตราการคลอดก่อนกำหนด เทียบกับคุณแม่ 6.4% ที่เหลือจะมีอาการไม่สบายท้องหรือปวดท้องบ่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นคือมีอัตราการแท้งบุตรสูงถึง 3 เท่า ในคุณแม่ ที่ไม่มีอาการแพ้ท้องเลย

shutterstock_260623829

ต่อมาเมื่อคุณแม่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคลอดลูกและเด็กๆ มีอายุที่พอจะวัดไอคิวได้ ทีมวิจัยก็ตามไปเก็บข้อมูลทดสอบไอคิวของเด็กๆ ก็พบว่าผลที่ออกมาคือ ยิ่งคุณแม่มีความรุนแรงของอาการแพ้ท้องมากเท่าไหร่ ลูกที่ออกมาก็จะยิ่งมีไอคิวที่สูงตามอาการแพ้ท้อง พัฒนาทางด้านภาษาดีกว่า และมีพฤติกรรมโดยรวมดีกว่าเด็กในกลุ่มอื่นค่ะ

6 เคล็ดลับ รับมืออาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้อง หรือ Morning Sickness เป็นอาการที่พบบ่อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ กว่า 80 % ของหญิงตั้งครรภ์มักจะมีอาการแพ้ท้อง โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และอ่อนเพลียมากกว่าปกติ อาการแพ้ท้องมักจะมีอาการชัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ และมีอาการมากที่สุดประมาณช่วงสัปดาห์ที่ 8 – 10 ของการตั้งครรภ์ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมีอายุครรภ์มากกว่า 3 เดือน สาเหตุหลักของอาการแพ้ท้องมาจากการที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเอชซีจี (HCG – Human Chorionic gonadotropin) ที่รกสร้างสูงขึ้น คนท้องแต่ละคนก็จะมีอาการแพ้ท้องต่างกันไป บางคนแพ้ท้องตลอดการตั้งครรภ์ บางคนก็แทบจะไม่มีอาการแพ้ท้องเลย เรามี เคล็ดลับ รับมืออาการแพ้ท้อง มาฝากครับ

เคล็ดลับ รับมืออาการแพ้ท้อง

#1 กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยเปเปอร์มินท์

แม่ท้องมักจะมีความไวต่อกลิ่นต่างๆ ซึ่งกลิ่นบางกลิ่นก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ แต่กลิ่นหอมบางกลิ่นก็ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้เช่นกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยเปเปอร์มินท์ โดยคุณอาจเติมน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ไว้ในห้องตอนกลางคืน เมื่อตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็จะสามารถช่วยลดอาการแพ้ท้องได้

#2 ขิง

ขิง เป็นสมุนไพรที่ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ท้องผูก และอาการแสบร้อนได้เป็นอย่างดี คุณแม่สามารถดื่มน้ำขิงสดผสมกับชาเพื่อลดอาการแพ้ท้อง รวมทั้งสามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น หรือชงดื่มร้อนๆก็ได้นะครับ

แพ้ท้อง กินน้ำขิง

#3 อย่าปล่อยให้ท้องว่าง

เมื่อมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน สิ่งสุดท้ายที่คุณมักจะนึกถึงก็คืออาหาร แต่อย่างไรก็ตาม หากแม่ท้องกินอาหารตามเวลาในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่อดอาหาร เมื่อในท้องมีอาหารก็จะช่วยต่อสู้กับอาการแพ้ท้องได้

หากปล่อยให้ท้องว่างก็จะทำให้คลื่นไส้มากกว่าเดิม ดังนั้นอาจจะหาขนมหรือขนมปังติดบ้านหรือติดตัวไว้เวลาหิว หรืออาจจะใช้วิธีเปลี่ยนจากการกินอาหารมื้อปกติสามมื้อ มาเป็นอาหารมื้อเล็กห้ามื้อดูก็ได้นะครับ

#4 ดื่มน้ำมากๆ

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องควรดื่มน้ำมากๆ หรืออาจจะดื่มน้ำผลไม้ หรือนมเพิ่มไปก็ได้ ซึ่งของเหลวเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ นอกจากนั้นการดื่มน้ำมากๆยังจะช่วยป้องกันอาการเหนื่อยล้า อาการบวม และอาการวิงเวียนศีรษะ อีกทั้งลูกน้อยในครรภ์ยังได้รับประโยชน์จากน้ำที่แม่ท้องดื่มเข้าไปด้วย เพราะน้ำจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นเข้าสู่เซลล์ ลำเลียงวิตามิน แร่ธาตุ และฮอร์โมนให้กับเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งจะส่งผ่านรกไปยังลูกในครรภ์ได้

ดื่มน้ำยังไงให้มีน้ำนม

#5 ฝึกสมาธิ

ความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง หากแม่ท้องได้มีการนั่งสมาธิเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ก็จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้บ้าง นอกจากนั้นยังเป็นการทำให้จิตใจซึ่งจะส่งผลดีต่อลูกในท้องนะครับ

#6 นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

ยิ่งแม่ท้องมีอาการอ่อนเพลียมากเท่าไร  ก็จะยิ่งทำให้อาการแพ้ท้องยิ่งแย่ลงมากขึ้นเท่านั้น คุณควรฟังเสียงร่างกายของคุณ เพราะบางครั้งมันก็ส่งสัญญาณเพื่อจะบอกกับคุณว่า ถึงเวลาที่คุณควรนอนพักผ่อนบ้างได้แล้วล่ะ หากคุณมีงานคั่งค้างหรือมีสิ่งที่ต้องทำมากมาย อย่างน้อยควรหาเวลาสั้นๆเพื่องีบหลับระหว่างวันก็พอช่วยได้อยู่บ้าง

หากคุณแม่ท่านใดมีเคล็ดลับ รับมืออาการแพ้ท้อง ที่ลองแล้วได้ผลดี ก็สามารถนำมาแชร์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับผู้อ่านท่านอื่นได้ทราบบ้างนะครับ

 

 

theAsianparent Community

 

บทความจากพันธมิตร
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์
นมแม่ อาหารวิเศษจากธรรมชาติ สุดยอดพลังบำรุงสมองลูกน้อย
นมแม่ อาหารวิเศษจากธรรมชาติ สุดยอดพลังบำรุงสมองลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แพ้ท้องหนักมาก แต่ลูกออกมาไอคิวสูง คุณแม่จะยอมไหม???
แชร์ :
  • วิจัยเผย แพ้ท้องหนัก ลูกมีเกณฑ์เป็นโรคออทิสติก แพ้ท้องหนักอันตราย

    วิจัยเผย แพ้ท้องหนัก ลูกมีเกณฑ์เป็นโรคออทิสติก แพ้ท้องหนักอันตราย

  • รวม 10 เมนูอาหาร บรรเทาอาการแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่แพ้ท้องหนัก

    รวม 10 เมนูอาหาร บรรเทาอาการแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่แพ้ท้องหนัก

  • วิจัยเผย แพ้ท้องหนัก ลูกมีเกณฑ์เป็นโรคออทิสติก แพ้ท้องหนักอันตราย

    วิจัยเผย แพ้ท้องหนัก ลูกมีเกณฑ์เป็นโรคออทิสติก แพ้ท้องหนักอันตราย

  • รวม 10 เมนูอาหาร บรรเทาอาการแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่แพ้ท้องหนัก

    รวม 10 เมนูอาหาร บรรเทาอาการแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่แพ้ท้องหนัก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว