X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เฮสนั่น! วงการแพทย์สามารถแก้ไขยีนเด็กป่วยเป็นมะเร็ง สำเร็จรายแรกของโลก!

22 Feb, 2017
เฮสนั่น! วงการแพทย์สามารถแก้ไขยีนเด็กป่วยเป็นมะเร็ง สำเร็จรายแรกของโลก!

ข่าวดีสำหรับวงการแพทย์อีกครั้ง หลังสามารถแก้ไขยีนช่วยผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้สำเร็จ!

เลย์ลา เด็กหญิงวัยเพียง 2 ขวบ ป่วยเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว และเคยได้รับการรักษาด้วยการทำคีโมบำบัดและการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย แต่เป็นที่น่าเศร้าที่การช่วยเหลือในครั้งนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ ร่างกายของเธอไม่ตอบสนองต่อการรักษาและไม่สามารถต้านทานมะเร็งในตัวของหนูน้อยได้

วงการแพทย์ แก้ไขยีนเด็กป่วยเป็นมะเร็ง

แม่ของเลย์ลา ตัดสินใจพาเธอไปเข้ารับการรักษาที่ University College London ทำให้มีโอกาสได้พบกับศาสตราจารย์ Waseem Qasim โดยศาสตราจารย์แนะนำให้รักษาชีวิตของหนูน้อยด้วยการแก้ไขยีนใหม่ “แน่นอนว่าพวกเราอยากลอง เพราะลูกสาวของฉันป่วยหนัก ฉันจึงต้องยอมทุกวิถีทางที่จะทำให้เธอหายดี” แม่ของเลย์ลากล่าว

“การผ่าตัดยีนที่ว่านี้ เป็นการนำเอาเซลล์ T ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของผู้บริจาคที่มีสุขภาพดีมาปรับปรุง เพื่อใช้สำหรับการผ่าตัดแก้ไขยีน” ศาสตราจารย์กล่าว

วงการแพทย์ แก้ไขยีนเด็กป่วยเป็นมะเร็ง

เลย์ลา ได้รับยีนใหม่ ที่มาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันของผู้บริจาคในหน่วยรับบริจาคที่กรุงลอนดอน ซึ่งภายหลังการผ่าตัดได้ 18 เดือน เธอก็มีอาการดีขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อ

เรียกได้ว่า ผลจากการักษาในครั้งนี้ เป็นผลที่ออกมาได้อย่างน่าพึงพอใจทั้งกับครอบครัวของตัวหนูน้อยเองรวมถึงวงการแพทย์ ส่งผลให้วงการศัลยแพทย์พูดถึงการรักษาโรคต่าง ๆ ด้วยการตัดต่อแก้ไขยีนกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขตั้งแต่เซลล์ไข่ สเปิร์ม หรือกระทั่งระยะตัวอ่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันโรคทางพันธุกรรม

 โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคืออะไร สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

 โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคืออะไร

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) คือ ภาวะที่ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (stem cell) ทำงานผิดปกติ โดยไขกระดูกจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติออกมาจำนวนมาก ทำให้ระบบการทำงานของเม็ดเลือดผิดปกติ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ชนิดเรื้อรังและชนิดเฉียบพลัน โดยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก และพบมากที่สุดในเด็กอายุ 3 – 8 ปี

นพ.ปิยะ รุจกิจยานนท์ กุมารแพทย์ เวชศาสตร์โลหิตวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวดังนี้

มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 25-30 ของมะเร็งทั้งหมดในเด็ก สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน หรือ Acute leukemia พบได้ร้อยละ 38.1 ของมะเร็งทั้งหมดในเด็ก

สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ได้แก่

1. การได้รับหรือสัมผัสกับรังสี 2. สารเคมีบางชนิด 3. ยาเคมีบำบัดบางชนิด 4. พันธุกรรม

 

เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีอาการอย่างไร

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ อ่อนเพลีย ซีด มีไข้ เลือดออกง่าย มีจ้ำเลือด จุดเลือดออกตามตัว หรือเลือดออกตามไรฟัน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องอืด ตับโต ม้ามโต บางรายอาจมีอาการปวดกระดูกร่วมด้วย

เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีโอกาสหายไหม

แพทย์หญิง ชลศณีย์ คล้ายทอง วว. รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา กล่าวว่า ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีโอกาสเข้าสู่ภาวะโรคสงบ ประมาณ 70-85% โดยมีอัตรารอดที่ 5 ปี ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับ

  • อายุของผู้ป่วย – เด็กทารก และผู้ใหญ่ จะมีความรุนแรงโรคสูง
  • จำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดเมื่อแรกวินิจฉัย – หากมีความผิดปกติมาก ความรุนแรงโรคก็จะสูงตามไปด้วย
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม – ความรุนแรงโรคสูง เมื่อมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้รีบพาไปพบคุณหมอโดยด่วน เพราะหากเป็นในระยะแรกเริ่มสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ

ที่มา: BECTERO  thaiclinic.com, haamor.com, bangkokbiznews.com,leukemiadiary.blogspot.com และ Mirror

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง

มะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบคร่าชีวิตผู้คน

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ

parenttown

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • เฮสนั่น! วงการแพทย์สามารถแก้ไขยีนเด็กป่วยเป็นมะเร็ง สำเร็จรายแรกของโลก!
แชร์ :
  • แชร์ประสบการณ์ลูกป่วยเป็นมะเร็งสมองตั้งแต่แรกเกิด (ไม่ต้องกลัวนะคะลูกเรายังมีชีวิตอยู่)

    แชร์ประสบการณ์ลูกป่วยเป็นมะเร็งสมองตั้งแต่แรกเกิด (ไม่ต้องกลัวนะคะลูกเรายังมีชีวิตอยู่)

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบมากที่สุดในเด็ก

    โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบมากที่สุดในเด็ก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • แชร์ประสบการณ์ลูกป่วยเป็นมะเร็งสมองตั้งแต่แรกเกิด (ไม่ต้องกลัวนะคะลูกเรายังมีชีวิตอยู่)

    แชร์ประสบการณ์ลูกป่วยเป็นมะเร็งสมองตั้งแต่แรกเกิด (ไม่ต้องกลัวนะคะลูกเรายังมีชีวิตอยู่)

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบมากที่สุดในเด็ก

    โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบมากที่สุดในเด็ก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ