X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

บทความ 5 นาที
เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

หนึ่งในปัญหาเรื่องน้ำนมน้อยเกิดขึ้นได้จากที่แม่มือใหม่ยังไม่รู้ท่าเอาลูกเข้าเต้าให้ถูกวิธี แม่ให้นมผิดท่า ทำให้เจ้าตัวน้อยใช้ปากอมเข้าลานนมไม่ลึกพอ และเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวนมแม่แตก ทำให้เจ็บหัวนม เครียดอีกต่างหาก เพราะน้ำนมน้อยไหลไม่เพียงพอสำหรับลูก

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เริ่มต้นให้น้ำนมลูก เอาลูกเข้าเต้า  ถ้าเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องในการ เอาลูกเข้าเต้า ให้นมที่ถูกท่าแต่แรก ก็จะทำให้หมดปัญหาเรื่องนมแม่ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บหัวนมเวลาลูกดูด หรือการที่ลูกงับหัวนมไม่ถึงลาน ทำให้น้ำนมไหลเข้าปากลูกได้น้อย เมื่อลูกดูดน้อยก็ทำให้เต้านมแม่ถูกกระตุ้นได้น้อยมีผลต่อน้ำนมแม่น้อยอีกด้วยนะคะ

 

เอาลูก เข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

เอาลูกเข้าเต้า

คุณแม่อุ้มทารกโดยใช้มือประคองที่ต้นคอและท้ายทอย โดยอย่าให้นิ้วไปกดที่ใบหูลูกนะคะ ให้ลูกเงยหน้าเล็กน้อย และเคลื่อนเข้ามา ให้คางของลูกเข้ามาชิดกับเต้านมส่วนล่าง โดยสังเกตว่าจมูกของลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี เมื่อสัมผัสและได้กลิ่นจากเต้านมแม่ ทารกจะเริ่มอ้าปากโดยอัตโนมัติทันที แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังไม่อ้าปาก ให้คุณแม่ใช้เขี่ยที่ริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากดูนะคะ

เอาลูกเข้าเต้า

ใช้มืออีกข้างประคองเต้านม โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง

*ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมเข้าลานนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี

 

เมื่อทารกอ้าปากให้เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมทันที โดยไม่ใช่ให้ตัวแม่เป็นฝ่ายโน้มเต้าเข้าหาลูกนะคะ

เอาลูกเข้าเต้า

ลูกอมงับลานนมได้ดีหรือยังนะ? วิธีนำลูกเข้าเต้าเพื่อให้ลูกอมงับลานนม

ในขณะที่เอาลูกเข้าเต้าแล้ว หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่า จัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ใช้วิธีสังเกตง่าย ๆ

  • ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบนหรือเปล่า พยายามให้ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิดหรือเกือบมิด
  • ต้องปากลูกอ้ากว้างแนบสนิทกับเต้านมแม่
  • ขณะดูดนมริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
  • ต้องให้คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่

คุณแม่บางคนกลัวว่าลูกจะหายใจไม่ออกจึงใช้นิ้วกดที่เต้านมบริเวณใกล้จมูกของลูก แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ปีกจมูกจะบานออก เต้านมของแม่จะไม่ปิดช่องหายใจ ลูกจะหายใจได้สะดวก โดยสังเกตได้จากการที่ลูกยังดูดนมได้ดี เพราะการใช้นิ้วไปคอยกดตอนที่ลูกดูดนมอยู่นั้น จะทำให้ปากลูกอมได้ไม่ลึก เหงือกของลูกจะไปกดที่หัวนม และลิ้นของลูกจะถูไปมาที่บริเวณหัวนม ทำให้หัวนมเจ็บและแตกได้

ดังนั้นเมื่อลูกเข้าเต้าแล้ว พยายามขยับปากลูกเพื่อให้อมงับถึงลานนม โดยให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน ให้คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นของทารกยื่นออกมาดูดรีดน้ำนมจากเต้าแม่ได้ดีขึ้น และจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมด้วย แถมยังทำให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยนะคะ

 

ประโยชน์ของนมแม่

เด็กทารกควรจะมีโอกาสได้รับน้ำนมแม่ได้นานที่สุดถึงอายุ 1 ปีหรือมากกว่านั้นหรืออย่างน้อย 6 เดือน องค์การอนามัยโลกแนะนำว่ายิ่งคุณแม่ให้นมลูกได้นานเท่าใดก็จะเกิดผลดีต่อแม่และลูกมากขึ้นเท่านั้น เพราะในน้ำนมจะมีทั้งน้ำและสารอาหารครบถ้วนที่มีคุณค่าสำหรับลูกน้อย ซึ่งจะได้รับสารอาหารทุกชนิดที่จำเป็นต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ รวมทั้งป้องกันคุ้มครองทารกจากการเจ็บป่วย และลดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด รวมถึงประโยชน์ของน้ำนมแม่เหล่านี้

 

สิ่งที่ลูกได้จากน้ำนมแม่

  • ลดการติดเชื้อของหู
  • ลดการเกิดโรคภูมิแพ้
  • อาเจียนลดลง
  • ลดท้องร่วง
  • ปอดบวม หลอดลมอักเสบลดลง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบลดลง
  • ลดอุบัติการณ์เสียชีวิเฉียบพลันที่เรียกว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS).
  • ได้รับภูมิคุ้มกันเร็วขึ้น
  • น้ำนมเหลือง(colostrum)จะขับน้ำดีเพื่อลดอาการตัวเหลือง
  • สามารถย่อยได้ง่ายและมีสารอาหารครบถ้วน
  • มีสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม
  • พัฒนาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก
  • ลูกมีพฤติกรรมที่ดีเมื่อโตขึ้น
  • ลูกที่มีกินนมแม่นานพบว่ามีความฉลาดและไอคิวดี

 

สิ่งที่แม่ได้รับจากการให้นมลูก

  • ลูกดูดนมแม่จะช่วยให้คุณแม่เผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักกลับสู่ปกติได้เร็ว การให้นมลูกจะเผาผลาญแคลอรี่ได้ถึง 500 กิโลแคลอรี่/ วัน เปรียบเทียบได้กับการออกกำลังกายว่ายน้ำไปกลับ 30 รอบหรือขี่จักรยาน 1 ชั่วโมง
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ลดอาการวัยทอง ลดการเกิดมะเร็งเต้านม
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งชนิดที่1 และ 2 จะมีระดับน้ำตาลที่ต่ำลด และต้องการอินซูลินลดลง
  • ช่วยเลื่อนการมีประจำเดือน ทำให้การตั้งครรภ์ไม่ถี่เกินไป
  • ทำให้มดลูกกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น
  • ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก
  • ไม่มีปัญหาเรื่องคัดเต้านม
  • ประหยัดเวลาไม่ต้องเตรียมนม
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย

“น้ำนมแม่” ที่ให้ประโยชน์ได้ทั้งแม่และลูกแล้ว ยังมีส่วนช่วยในด้านความสัมพันธ์ต่อความผูกพันระหว่างกันของทั้งสองคนด้วย การโอบกอดลูกเข้ากับอกในขณะให้นมยังทำให้เกิดคุณค่าทางจิตใจกับลูก และช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้กับลูก และเพิ่มความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับลูกได้ด้วยนะคะ.

 

เด็กนมแม่น้ำหนักน้อย ลูกเป็นเด็กนมแม่ล้วน แต่น้ำหนักน้อยจนตกเกณ์ แก้ไขยังไงดี

เด็กนมแม่น้ำหนักน้อย ลูกเป็นเด็กนมแม่ล้วน แต่น้ำหนักน้อยจนตกเกณ์ แก้ไขยังไงดี จำเป็นต้องเสริมนมผงไหมแบบนี้ หรือต้องเริ่มอาหารเสริมให้เร็วขึ้นกันนะ

สาเหตุหลัก

นมแม่ไม่พอ คุณแม่นมน้อยและให้ลูกเข้าเต้าตลอด สิ่งที่ทำให้รู้ว่าน้ำนมของคุณแม่มีน้อยไปแล้ว นั่นคือการฉี่ของลูกค่ะ ถ้าลูกฉี่ประมาณวันละ 6 ครั้ง โดยเปียกผ้าอ้อมเปียกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร แสดงว่าลูกได้รับนมแม่มากพอค่ะ

ลูกมีปัญหาสุขภาพ เช่น มีปัญหาในการหายใจ มีโรคทางพันธุกรรม ความตึงของกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ลูกมีภาวะลิ้นติด มีปริมาณแลคโตสเกินทำให้น้ำหนักไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย

ปัญหาอื่นๆ เช่น เมื่อลูกน้ำหนักน้อยลูกอาจง่วงมากและดูดนมได้น้อย การเข้าเต้าเป็นการกล่อมให้หลับแทนที่ลูกจะดูดนมได้อย่างเพียงพอ ก็อาจส่งผลให้น้ำแม่ผลิตน้อยลงเพราะลูกดูดออกไปน้อย

น้ำหนักเด็กๆ ควรขึ้นเท่าไหร่

โดยปกติแล้วเด็กแรกเกิดจะน้ำหนักตัวขึ้นอยู่ที่วันละ 30-40 กรัม ใน 3 เดือนแรก น้ำหนักลูกจะขึ้นเร็ว และแผ่วลงเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน โดยน้ำหนักตัวขึ้นอยู่ที่วันละ 20 กรัมค่ะ

สิ่งที่ต้องทำคือ

  • น้ำหนักลูก ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่ต้องกังวลค่ะ สิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าแม้ลูกจะน้ำหนักขึ้นไม่เยอะเท่าไหร่นัก แต่ยังไปต่อได้ นั่นคือลูกยังร่าเริงแจ่มใส ดูดนมได้ดี เด็กที่แข็งแรงไม่ใช่เด็กที่น้ำหนักเยอะเสมอไปนะคะ
  • พันธุกรรมก็มีส่วน คุณพ่อคุณแม่เป็นเด็กตัวเล็กหรือไม่ หรือญาติพี่น้องปู่ย่าตายายเป็นยังไง เพราะอาจจะมีพันธุกรรมโตช้า เป็นเด็กที่ตัวเล็ก แต่ตอนโตนั้นโตมาสูงน้ำหนักปกติ ไม่ใช่คนตัวเล็กก็เป็นได้ค่ะ หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนตัวเล็กอยู่แล้ว ลูกจะเกิดมาตัวเล็กน้ำหนักน้อย โตช้า ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะคะ
  • ลูกมีการเติบโตที่สม่ำเสมอหรือไม่ หมายถึงลูกตัวเล็กก็จริง แต่น้ำหนักขึ้นสม่ำเสมอทุกๆเดือน ไม่ใช่ว่าน้ำหนักไม่ขึ้นเลย หรือขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงค่ะ
  • ลูกมีพัฒนาการตามวัยไหม พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ต้องห่วงค่ะ
  • อายุลูก ถ้าลูกโตจนเริ่มอาหารเสริมได้แล้ว แต่ไม่ยอมกินอาหารเสริมจะกินแต่นม ก็ต้องแก้กันในเรื่องของอาหารเสริมค่ะ
  • หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจ ควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญค่ะ และควรหาคำแนะนำที่ 2 ที่ 3 ด้วยนะคะ เพื่อความแม่นยำและแก้ไขได้ทันท่วงที

ขอบคุณภาพประกอบและที่มา : www.thaibreastfeeding.org

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องน้ำนมน้อยแก้ได้ ใช้เทคนิค 4 ดูดช่วยให้ “นมแม่” มามาก

เชื่อเถอะ! การมีลูกไม่ใช่ภาระ 15 เรื่องที่ไม่มีใครบอกจนกว่าจะมาเป็น “แม่”

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ
แชร์ :
  • นำลูกเข้าเต้า ทำอย่างไร ให้นมลูกแบบไหนไม่ทำให้เด็กงอแง?

    นำลูกเข้าเต้า ทำอย่างไร ให้นมลูกแบบไหนไม่ทำให้เด็กงอแง?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • นำลูกเข้าเต้า ทำอย่างไร ให้นมลูกแบบไหนไม่ทำให้เด็กงอแง?

    นำลูกเข้าเต้า ทำอย่างไร ให้นมลูกแบบไหนไม่ทำให้เด็กงอแง?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 7 เอาลูกเข้าเต้า การปั๊มนมครั้งแรก

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ