theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 96

บทความ 5 นาที
•••
เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 96
การรับรองบุตร หรือ แจ้งเกิดลูก แต่ไม่มีพ่อ หรือไม่ต้องการระบุชื่อพ่อ ตามกฎหมายแล้ว เด็กที่เกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงมารดาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546 ดังนั้น การที่จะมีหรือไม่มีชื่อของบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็กที่จะระบุลงในสูติบัตรคนเกิด ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กโดยชอบธรรม ดังนั้นตัวคุณแม่ก็สามารถวางใจ และไร้กังวลได้แล้วนะคะ ส่วนจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และจะมีผลกับตัวลูกในอนาคตหรือไม่ เรามีคำตอบให้ค่ะ
การเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท แม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อลูกคลอดออกจากท้องแม่แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นั่นก็คือการแจ้งเกิด หรือ การรับรองบุตร นั่นเอง โดยการแจ้งเกิดนั้น มีขั้นตอนต่อไปนี้

แจ้งเกิดลูก ทำอย่างไร?

  1. ผู้ที่ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปใช้ในการแจ้งเกิดที่เทศบาล สำนักงานเขต หรือ อำเภอ (ในกรณีที่เกิดในสถานพยาบาล)
  2. ถ้าเกิดที่บ้าน เช่น บ้านพ่อแม่ ถ้าอยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านที่เด็กเกิด ผู้ใหญ่บ้านจะต้องรับแจ้ง และออกเอกสารเป็นใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
  3. เมื่อได้รับหนังสือรับรองการเกิดแล้ว ให้เตรียมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เพื่อไปประกอบ ดังนี้
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้ง
    • หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ หรือ ท.ร. ๑ ตอนหน้า)
    • และสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อลูกน้อยเข้าไป
  4. เมื่อรวบรวมเอกสารมาครบแล้ว ให้เจ้าบ้าน คุณพ่อ หรือคุณแม่ นำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาแจ้งต่อนายอำเภอ ที่ว่าการอำเภอ หรือ เทศบาล หรือเขต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบสูติบัตรให้
  5. ระยะเวลาในการแจ้งเกิด ภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกน้อยเกิด
  6. สถานที่แจ้งเกิด ถ้าสถานที่ที่ลูกน้อยเกิดตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งเกิดที่เขตนั้น แต่ถ้าอยู่นอกเขต ให้ไปแจ้งเกิดที่สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นั้น

 

เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร

 

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ ทำได้ไหม?

ตามกฎหมายแล้ว เด็กที่เกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของหญิงมารดาเท่านั้น ตามป.พ.พ.มาตรา 1546 ดังนั้น การที่ชื่อบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็ก จะมีระบุในสูติบัตรคนเกิด หรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กที่จะแจ้งหรือไม่ก็ได้

 

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ จะเป็นปัญหาในอนาคตหรือไม่?

การไม่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด จะทำให้มีปัญหาตอนสมัครเรียนหรือไม่?

ตอบ – ไม่มีปัญหาในการสมัครเรียน การที่ชื่อบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็ก จะมีระบุในสูติบัตรคนเกิด หรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กที่จะแจ้ง หรือไม่ก็ได้ โรงเรียนย่อมไม่มีสิทธิมาบังคับให้มารดาเด็กแจ้งชื่อบิดาของเด็ก เนื่องจากถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

 

ข้อดีและข้อเสียของการ แจ้งเกิดลูก โดยระบุชื่อพ่อ

  • ในกรณีที่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด ลูกสามารถใช้นามสกุลของพ่อหรือแม่ก็ได้
  • และหากใช้นามสกุลพ่อ ลูกถือเป็นบุตรที่ชอบโดยกฎหมายของพ่อด้วยเช่นกัน ทำให้ลูกมีสิทธิได้รับมรดกจากพ่อ
  • แต่หากระบุชื่อพ่อ แต่ไม่สามารถตามตัวได้ จะมีความยุ่งยากในการทำเอกสารที่ต้องมีการลงลายมือชื่อบิดา ทั้งตอนเข้าเรียน เรื่องเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน การทำพาสปอร์ต ในกรณีที่เด็กอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • หากต้องการลดความยุ่งยากในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของบุตร คุณแม่ควรไปทำใบ ปค.14 เพื่อให้อำนาจในการปกครองบุตรอยู่ที่แม่ฝ่ายเดียว (โดยการทำใบ ปค.14 มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้)
    • ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่แม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ไม่ดูลูก)
    • เอกสาร ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ได้แก่
      • สูติบัตรของลูก
      • ทะเบียนบ้านลูก แม่ และพยาน 2 คน
      • บัตรประจำตัวประชาชน ลูก(ถ้ามี) แม่ และพยาน 2 คน
      • ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อนามสกุล(ถ้ามี)
    • คุณสมบัติของพยาน
      • อายุ 20 ปีขึ้นไป
      • ใครก็ได้ แต่ควรเป็นญาติกับแม่เด็ก เนื่องจากนายทะเบียนอาจจะสอบสวนเพิ่มเติม

เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร

 

หมายเหตุ

  1. เด็กไม่ต้องไปด้วยก็ได้
  2. ทำวันเดียวเสร็จ ก่อนออกหนังสือ นายทะเบียน จะทำเรื่องไปขอตรวจสอบการจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน
  3. เอกสารตัวจริงเก็บไว้ เวลาใช้ให้ใช้สำเนา โดยจะใช้ไปตลอดจนกว่าเด็กจะอายุ 20 ปี

 

ข้อดีและข้อเสียของการ แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ

  • การไม่ระบุชื่อบิดา คุณแม่มีสิทธิในการปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว
  • เมื่อลูกโตขึ้น จะไม่ยุ่งยากในการยื่นเอกสาร เช่น การเข้าเรียน การทำงาน การรับราชการ หรือการเป็นทหาร ไม่ต้องตามตัวพ่อให้วุ่นวาย
  • หากต้องการเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตรในภายหลัง ต้องระบุชื่อพ่อจริง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถระบุชื่อคนอื่นได้ ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก แนบไปกับคำขอเพิ่มชื่อในสูติบัตร โดยเขตจะพิมพ์สูติบัตรใบใหม่ที่มีชื่อบิดาด้วย

 

แม้ว่าการไม่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด จะทำให้แม่เป็นผู้มีสิทธิในการปกครองแต่เพียงผู้เดียว แต่หากต้องการให้พ่อของลูกกลับมามีสิทธิในการปกครองด้วยในภายหลัง ก็สามารถทำได้โดยการจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็กในภายหลัง หรือจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตน หรือให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ได้เช่นกัน

 

เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร

 

การจดทะเบียนรับรองบุตร

1. การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน 

บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากจะให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดาต้องร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรโดยมารดาและบุตรให้ความยินยอม ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

 

หลักฐานที่ต้องใช้

1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
3. สูติบัตรของบุตร
4. พยานบุคคล 2 คน
5. เอกสารเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6. บิดามารดา และบุตรต้องมาลงลายมือชื่อด้วยตนเอง

2. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานทะเบียน
มารดาสามารถร้องขอต่อนายทะเบียน เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานเขตได้ แต่สถานที่ที่ไปจดทะเบียนต้องอยู่ในท้องที่ของสำนักงานเขตนั้น

 

หลักฐานที่ต้องใช้

1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
3. สูติบัตรของบุตร
4. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
5. พยานบุคคล 2 คน
6. บิดามารดา และบุตรต้องลงลายมือชื่อ

ที่มา :  thanulegal , Athena.thai.Law , bora.dopa

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 96
แชร์ :
•••
  • 10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

    10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

  • บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

    บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

app info
get app banner
  • 10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

    10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

  • บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

    บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป