X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทาจนเสียชีวิต

บทความ 3 นาที
เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทาจนเสียชีวิต

ประสบการณ์ของคุณแม่ท่านหนึ่ง ผู้ใช้ชื่อเฟสบุ๊คว่า Pumpui Arin ได้เขียนเล่าเหตุการณ์การสูญเสียลูกน้อยหลังจากคลอดได้เพียง 2 วัน ซึ่งแพทย์กล่าวว่า เด็กมีอาการหายใจหอบ เนื่องจากสำลักขี้เทา

เราคลอดน้องวันที่ 14 ธันวา น้องออกมาร้องให้เสียงดังมาก เราก้อดีใจที่น้องออกมาแข็งแรง น้องหนัก 3345 กรัมค่ะ แต่พยาบาลบอกน้องหายใจหอบ สำลักขี้เทา น้องอยู่ห้องไอซียู 2 วัน น้องก็เสียค่ะ วินาทีที่เข้าไปเห็นหมอช่วยกันปั๊มหัวใจลูก มันเหมือนใจจะขาด ตอนนี้เรายังทำใจไม่ได้เลย สงสารลูกมาก ครอบครัวเรารอคอยน้องมาเกือบสิบปี น้องเป็นแก้วตาดวงใจเป็นทุก ๆ อย่างของครอบครัวเรา แต่ต้องมาเสียน้องไป เพราะการทำคลอดที่ช้า เรามานอนโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มปวดท้องสามทุ่ม มีเลือดออกแต่น้ำยังไม่เดิน ปากมดลูกเปิดแค่เซ็นเดียว พยาบาลก้อให้เรานอนรอไปเรื่อยๆ จนประมานตีสองเราปวดท้องถี่มากแล้วก้อปวดเบ่งตลอด เราก้อเรียกพยาบาลมาดู เขาบอกปากมดลูกเปิดแค่สองเซ็น เราเริ่มใจไม่ดีเราทนความเจ็บปวดได้ แต่ลูกเราหล่ะจะเป็นยังงัย เพราะเราเบ่งอยู่ตลอดทุก ๆ สองสามนาที เราปวดแบบนี้ตั้งแต่ตีสองถึงแปดโมงเช้า จนเราคลอดน้องออกมาเอง เจ็บปวดที่สุดคือตอนน้องมีชีวิตอยู่เราไม่ได้อุ้ม ไม่ได้หอมเลย ได้แต่นั่งมองทั้งน้ำตา หมอเอาตัวน้องมาให้เราอุ้มตอนที่น้องเสียแล้ว #‎การมารอคลอดที่โรงพยาบาลด้วยบัตร30บาทบางแห่งไม่ต่างอะไรกับการคลอดกับหมอตำแยแถวบ้านเลย T__T

สำลักขี้เทา

ขอแสดงความเสียใจกับคุณแม่ Pumpui Arin และขอให้น้องกลับมาเกิดใหม่ตามที่คุณแม่หวังโดยเร็วนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่และครอบครัวต่อไปค่ะ

 

ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด คืออะไร สาเหตุและการป้องกันทำได้อย่างไร อ่านหน้าถัดไปได้เลยค่ะ

ขี้เทาคืออะไร?

ขี้เทาคือ อุจจาระของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งโดยปกติเด็กจะสร้างเองได้ตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ ตั้งแต่ประมาณช่วงเดือนที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ เด็กก็จะเริ่มสร้างขี้เทาออกมาในลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะอยู่ในนั้น ไม่ได้สร้างเรื่องอะไรให้เกิดปัญหาตามมาจนกว่าจะมีภาวะบางอย่างที่เกิดปัญหาขึ้น

สาเหตุของการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทาเกิดขึ้นได้อย่างไร

ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงทารก อาจจะเกิดจากสาเหตุของโรคประจำตัวของคุณแม่ หรือสาเหตุของตัวทารกเองหรือสาเหตุจากอะไรก็ตามที่ไปทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือแม่น้อยลงแล้วก็จะมีปฏิกิริยาทางระบบประสาทกระตุ้นทำให้เด็กมีการถ่ายขี้เทาออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้มีหลายสาเหตุ เช่น ในคุณแม่ที่อาจจะพบปัญหาจากการเจ็บป่วยบางอย่างที่มีผลกระทบไปยังการไหลเวียนของเลือดที่ไปที่ลูกก็จะไปกระตุ้นให้มีภาวะนี้เกิดขึ้นได้

อันตรายจากภาวะนี้มากน้อยเพียงใด

ผลที่กระทบส่วนหนึ่งที่ก็คือ เมื่อเด็กทารกมีอายุครรภ์มากขึ้น สภาพเลือด  หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหรือแม้กระทั่งสภาพของรกของตัวแม่เองจะเสื่อมสภาพไปด้วย อันตรายที่เกิดกับทารกเอง คือ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด เด็กจะมีอาการหายใจหอบ เหนื่อย หายใจไม่สะดวก คือจะมีลักษณะเหมือนปอดอักเสบ เพราะว่าตัวขี้เทานี้มีลักษณะเหนียวมาก ถ้าเด็กสูดสำลักเข้าไปแล้ว โอกาสที่จะไปอุดตันทางเดินหายใจ ถุงลมเล็ก ๆ หรือระดับที่ลึกลงไปเรื่อย ๆ ในปอด ก็ค่อนข้างจะอันตราย  ถ้าเป็นมาก ๆ บางครั้งก็จะทำให้เด็กขาดออกซิเจน แล้วก็จะไปกระทบต่อการไหลเวียนเลือดไปอีกต่อหนึ่ง

ภาวะสำลักขี้เทาสามารถป้องกันได้หรือไม่

สิ่งสำคัญที่สุดที่อยากจะแนะนำก็คือ  คุณแม่ควรมาตรวจครรภ์แต่เนิ่น  ๆ เพื่อให้สูติแพทย์ได้ดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ถ้ามีปัญหาหรือมีอาการผิดปกติอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จะได้มีการวางแผนล่วงหน้าและอาจจะมีการช่วยเหลือเพื่อลดความรุนแรงให้น้อยลง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การฝากครรภ์และมาตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

ที่มาของบทความจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เรื่อง ภาวะสูดสำลักขี้เทาในเด็กแรกเกิด

 

ขอบคุณภาพและเรื่องราวจากคุณแม่ Facebook – Pumpui Arin

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

อะไรที่เรียกว่าปกติสำหรับทารกแรกเกิด?

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทาจนเสียชีวิต
แชร์ :
  • ทารกในครรภ์ สำลักขี้เทา ได้อย่างไร? ขี้เทาในน้ำคร่ำ ลูกสำลักถึงตายจริงหรือ

    ทารกในครรภ์ สำลักขี้เทา ได้อย่างไร? ขี้เทาในน้ำคร่ำ ลูกสำลักถึงตายจริงหรือ

  • สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

    สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ทารกในครรภ์ สำลักขี้เทา ได้อย่างไร? ขี้เทาในน้ำคร่ำ ลูกสำลักถึงตายจริงหรือ

    ทารกในครรภ์ สำลักขี้เทา ได้อย่างไร? ขี้เทาในน้ำคร่ำ ลูกสำลักถึงตายจริงหรือ

  • สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

    สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ