X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น

บทความ 5 นาที
เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้นเรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น

ความผิดปกติของทารกระหว่างคลอด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ทารกไม่กลับหัว สายสะดือพันคอ สายสะดือย้อย การนำเสนอบทความนี้เป็นเพียงข้อมูลสำหรับคุณแม่เท่านั้น อย่าได้วิตกกังวลเลยนะคะ เพราะคุณหมอจะดูแลคุณแม่และเจ้าตัวน้อยจนคลอดออกมาอย่างปลอดภัยค่ะ

เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น

ความผิดปกติระหว่างคลอด, ทารกไม่กลับหัว, สายสะดือพันคอ, สายสะดือย้อย

1. ทารกไม่กลับหัว (ท่าก้น)

ตามปกติแล้วท่าคลอดของทารกน้อย คือ  ต้องเป็นส่วนศีรษะนำออกมา  เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มกลับหัวโดยมีส่วนศีรษะเป็นส่วนนำ  แต่ถ้าคุณแม่ท้องแรกตั้งครรภ์จนถึงระยะในช่วง 2-3 สัปดาห์ใกล้คลอดแล้ว  แต่ศีรษะของทารกยังไม่ลงเข้าสู่อุ้งเชิงกราน สันนิษฐานได้ว่า คุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ  และจะยิ่งยืนยันได้ชัดถ้าตรวจพบว่าศีรษะของทารกยังอยู่สูง

ท่าของทารกไม่กลับหัว แบ่งออกเป็น 3 ท่า ได้แก่

1. ทารกจะอยู่ในท่านั่ง งอข้อ สะโพก ขาเหยียดตรง เท้าชี้ไปทางหู 2 ข้าง

2. ทารกจะอยู่ในท่านั่ง งอข้อสะโพก และข้อเข่า โดยเท้า ทั้ง 2 ข้างอยู่ตำแหน่งที่สูงกว่าก้นเล็กน้อย

3. ทารกจะอยู่ในท่า คล้ายท่าที่ 2 แต่งอสะโพกน้อยกว่า แต่เท้าอยู่ต่ำกว่าระดับของก้น

สาเหตุของอาการทารกไม่กลับหัว มีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. เด็กในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าปกติ เช่น มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือคุณแม่มีหน้าท้องหย่อนในการตั้งครรภ์หลัง ๆ

2. มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ

3. ส่วนหัวเด็กไม่สามารถปรับเข้ากับอุ้งเชิงกรานได้ โดยเฉพาะภาวะรกเกาะต่ำ

4. ทารกแฝด

ทำอย่างไรเมื่อทารกไม่กลับหัว

การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นทางช่องคลอดเป็นเรื่องยากที่สุดและอันตรายมาก คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดคลอด     เพื่อช่วยให้คุณแม่และทารกผ่านช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการคลอดให้เร็วที่สุด นอกจากคลอดศีรษะออกมาได้ยากมากแล้ว อาจเกิดปัญหาสายสะดือพันคอ และระยะเวลาที่นานขึ้นจะทำให้แม่และทารกอยู่ในภาวะเครียดมากซึ่งอาจเกิดอันตรายได้

ดังนั้น  ทางออกที่ดีที่สุดคือ ผ่าตัดคลอด แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดแล้วน้อยกว่ามาก นvกจากนี้ การผ่าตัดคลอดที่ใช้วิธีบล็อกไขสันหลังแทนดมยาสลบจะทำให้คุณแม่ยังรู้สึกตัวและรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัว สามารถมองเห็นและชื่นชมทารกที่ออกมาได้ทันที

2. สายสะดือพันคอ

รก คืออวัยวะที่มีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจน เพื่อนำเลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์โดยผ่านสายสะดือ  สายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตรบางคนก็สั้นกว่านั้น ในขณะที่บางคนอาจยาวถึง 100 เซนติเมตรก็เป็นได้

ยิ่งถ้าสายสะดือยาวเกินไป เมื่อทารกมีการดิ้นก็จะทำให้สายสะดือมาพันที่ตัวทารกได้ และบริเวณที่พันบ่อยที่สุด คือ  บริเวณคอ เพราะเป็นบริเวณที่คอดที่สุดของลำตัวทารก โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์น้อย ๆ ซึ่งมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวให้ทารกมาก  การเคลื่อนไหวอย่างอิสระของทารกในน้ำคร่ำ ทำให้บางครั้งสายสะดือเข้าไปพันรอบคอของทารกเข้าโดยบังเอิญ

สายสะดือพันคอทารกในครรภ์นั้น เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด เพียงแต่อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์

ผลที่เกิดจากสายสะดือพันคอ

การวินิจฉัยสายสะดือพันคอ  คุณหมอจะตรวจโดยการอัลตราซาวนด์  ถ้าพบว่ามีสายสะดือพันคอแบบหลวม ๆ  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเลือดยังไหลไปเลี้ยงทารกได้  แต่คุณหมอต้องสังเกตการดิ้นของทารกอยู่เสมอ   ถ้ารู้สึกว่า  ลูกในท้องดิ้นน้อยลง  คุณหมอต้องตรวจการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ   หากพบว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ   ทารกในครรภ์จะเกิดภาวะขาดออกซิเจน คุณหมอจำเป็นต้องทำการผ่าตัดคลอดโดยทันที   หากสามารถช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เด็กที่เกิดมาก็จะมีพัฒนาการและสุขภาพเหมือนเด็กปกติทั่วไป

3. สายสะดือย้อย

สายสะดือย้อยมักจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์หรือการเจ็บครรภ์   เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือยื่นมาต่ำกว่า หรือนำส่วนนำออกของทารก  สายสะดือย้อยมักเกิดร่วมกับการแตกของถุงน้ำคร่ำ หลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วทารก จะเคลื่อนต่ำลงในอุ้งเชิงกรานและกดทับสายสะดือ   ทำให้เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกลดลงหรือหายไป และทารกจะต้องคลอดโดยทันที

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ ขณะที่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกมักไม่ค่อยมีอาการผิดปกติ และจะตรวจพบโดยบังเอิญ

2. สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ ขณะที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วจากการตรวจภายในจะพบว่าสายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ บางรายสายสะดือจะโผล่ออกมาทางช่องคลอดเลยก็มี

3. สายสะดือมาอยู่ใกล้ ๆ กับส่วนนำเช่น ใกล้กับศีรษะทารก ซึ่งอาจจะถูกกดได้ง่ายเมื่อศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงขณะคลอด

สาเหตุของสายสะดือย้อย

1. ทารกตัวใหญ่และแม่มีช่องคลอดแคบ ทำให้ศีรษะของทารกไม่สามารถลอดออกมา ศีรษะของทารกก็จะอยู่ติดด้านบนของเชิงกราน คล้ายกับติดอยู่แค่ขอบบนของกรวย ไม่สามารถเอาศีรษะมุดลงมาได้ ทำให้บริเวณปลายด้านล่างมีที่ว่างมาก สายสะดือจึงไหลลงไปได้ง่าย

2. สายสะดือยาวกว่าปกติ ยิ่งสายสะดือยาวเท่าไร โอกาสที่สายสะดือจะย้อยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

3. ตั้งครรภ์แฝด การคลอดทารกมากกว่า 1 คน ภายหลังจากคลอดทารกคนแรกแล้ว โพรงมดลูกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้สายสะดือมีโอกาส ไหลลงมาก่อนลูกคนที่สองจะคลอดออกมาได้

ทำอย่างไรเมื่อเกิดภาวะสายสะดือย้อย

ให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอน อาจให้นอนตะแคงหรือนอนศีรษะต่ำลง แล้วยกก้นให้สูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะทารกเปลี่ยนตำแหน่ง หรือไหลกลับไปภายในมดลูก ซึ่งช่วยให้แรงกดที่สายสะดือลดลง ขณะเดียวกันคุณหมอจะให้คุณแม่ดมออกซิเจนด้วยตลอดเวลา  แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ  การผ่าตัดโดยด่วน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอในขณะนั้น

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

จากข้อมูลที่นำมาเสนอนั้นมิได้มีเจตนาจะทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใด ๆ นะคะ  ความผิดปกติระหว่างคลอดนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย  หากเทียบกับการคลอดตามปกติทั่วไป  เพราะถึงอย่างไรคุณหมอรวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน  ย่อมทำให้การคลอดผ่านพ้นไปด้วยดี  ได้เห็นหน้าทารกน้อยที่เฝ้ารอมาตลอดเก้าเดือน  ทำจิตใจให้สบายและพร้อมรับสมาชิกตัวน้อยที่จะเกิดมานะคะ

ร่วมแชร์ประสบการณ์บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพราะข้อมูลของคุณแม่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ ได้ค่ะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.thainannyclub.com

https://guru.sanook.com

https://pregnancy.haijai.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นาทีชีวิต! คลิปสายสะดือพันคอเด็ก 6 รอบ

การตัดสายสะดือช้าลงเป็นผลดีกับสุขภาพของทารก

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น
แชร์ :
  • สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

    สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

  • อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

    อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

    สายสะดือพันคอทารกอันตรายถึงชีวิต

  • อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

    อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ