อาการมือ เท้า ขาบวม มักจะเกิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติหลังคลอดลูกอาการบวมเหล่านี้จะหายไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาการ เท้าบวมหลังคลอด ยังไม่หาย ซึ่งอาจเกิดของเหลวที่ก่อตัวขึ้นอย่างผิดปกติในข้อเท้า เท้า และขา ที่ถือว่าเป็นภาวะที่พบได้โดยทั่วไปในหมู่คุณแม่คนใหม่ หรือเกิดจากการที่ยืนนาน ๆ เดินบ่อย ๆ หรือนั่งมากเกินไป มีอาการบวมแบบนี้หาวิธีแก้กันค่ะ
เท้าบวมหลังคลอด ยังไม่หาย ลองใช้ “ตะไคร้ต้ม” ลดเท้าบวม
หนึ่งในวิธีที่ช่วยลดอาการเท้าบวมที่บอกต่อ ๆ กันมาก็คือ การนำ “ตะไคร้” มาต้ม สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่ไม่ได้มีแค่ไว้รับประทานแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาขับลม เท่านั้น แต่การนำตะไคร้ไปต้มเพื่อนำมาแช่เท้ากลับลดอาการเท้าบวมลงได้ด้วยนะคะ
บทคามที่เกี่ยวข้อง : น้ำตะไคร้ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ไม่ควรดื่มน้ำตะไคร้ตอนที่ท้อง ! เพราะอะไรอ่านเลย !
เท้าบวมหลังคลอด ลดได้ด้วย..ตะไคร้
- วิธีการง่ายมาก เพียงแค่นำตะไคร้ไปหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วนำมาทุบแตกเพื่อให้น้ำมันตะไคร้ออกมา
- ต้มน้ำ (กะปริมาณให้พอสำหรับนำมาแช่เท้า) จนเดือด แล้วนำตะไคร้ที่เตรียมไว้ลงไปต้มซักพัก
- ทิ้งน้ำให้อุ่น (คงความร้อนไว้นิดหน่อย) แล้วนำเท้าไปลงแช่ในน้ำตะไคร้ที่ต้มประมาณ 15-30 นาที อาการเท้าที่ปวด บวม จะค่อย ๆ ดีขึ้น และสามารถแช่ได้บ่อยตามที่ต้องการ
- นอกจากบรรเทาอาการบวมแล้ว กลิ่นหอมของตะไคร้ยังทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยลดความตึงเครียดลงได้
นอกจากการแช่เท้าในน้ำตะไคร้แล้ววิธีช่วยลดอาการเท้าบวมหลังคลอดอื่น ๆ เช่น
- ยกเท้าสูงด้วยการวางเท้าบนเก้าอี้ในขณะที่นั่ง เพื่อช่วยถ่ายเทของเหลวส่วนเกินที่อยู่บริเวณเท้าและข้อเท้า
- หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง การนั่งนาน ๆ เพราะจะทำให้ของเหลวคั่งอยู่ที่เท้าและข้อเท้ามากขึ้น ควรนั่งโดยวางเท้าราบไปกับพื้น
อ่านวิธีช่วยลดอาการเท้าบวมหลังคลอดอื่น ๆ อีก หน้าถัดไปค่ะ >>
- อย่านั่งเป็นเวลานาน ควรลุกเดินสลับนั่งและยืดขา เพื่อให้เลือดไหลเวียนบริเวณขาได้ดียิ่งขึ้น
- เคลื่อนไหวเท้าบ่อย ๆ ด้วยการจิกและเหยียดนิ้วเท้า หรือกระกดข้อเท้าขึ้น-ลงในท่านั่ง หรือยืนเขย่งเท้าขึ้น-ลง รวมถึงการหมุนข้อเท้าก็ช่วยให้เลือดและของเหลวบริเวณนั้นหมุนเวียนเคลื่อนที่เช่นกัน
- นอนใช้เท้ายันกับกำแพง โดยให้เท้าอยู่จากพื้นประมาณครึ่งเมตร กระดกปลายเท้าขึ้นสลับกัน ประมาณ 10-15 นาที
- ลดอาหารเค็ม ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะอาหารที่มีรสเค็มจะทำให้มีของเหลวคั่งอยู่มากขึ้น
- ดื่มน้ำสะอาดให้เยอะ ๆ
- การใส่ถุงน่องซัพพอร์ตตั้งแต่ช่วงเอวสามารถช่วยลดความไม่สบายจากอาการเท้าและข้อเท้าบวมได้นะคะ ลองดูก็ไม่เสียหาย
- ออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขา
- เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย มีพื้นรองเท้าที่นิ่มและพอดีเพื่อช่วยแรงกดไปที่เท้า หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูงในช่วงนี้นะค
- เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและรองรับการขยายตัวของเท้าที่ใหญ่ขึ้นของคุณแม่ และไม่ควรใส่ถุงเท้าที่รัดแน่นเกินไป ID:
การใช้น้ำตะไคร้และวิธีป้องกันไม่ใช่แค่กับอาการเท้าบวมนะคะ หากคุณแม่รู้สึกเมื่อยขา ปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก อุ้มลูกเดิน ลองแช่เท้าในน้ำตะไคร้อุ่น ๆ ร่วมกับวิธีข้างต้นดูนะคะ แต่ถ้าทำแล้วขาและเท้ายังไม่ยุบบวม แบบนี้ควรไปปรึกษาแพทย์นะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก : www.kaijeaw.com
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ
9 อาการบวม ที่แม่ท้องต้องเจอ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!