เตรียมความพร้อมเพื่อดูแลเด็กแรกเกิด
มีตั้งหลายวิธีที่จะทำให้ชีวิตวุ่นวายของคุณในช่วงแรกคลอดนั้นง่ายไปถนัดตาเลยทีเดียว อีกทั้งลูกน้อยก็เป็นสุขเพราะได้รับการดูแลอย่างดีอีกด้วย
หาเวลานอน ว่างเมื่อไหร่ก็นอนเลยค่ะ
เริ่มจากช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนเลยค่ะ คุณควรเริ่มจากการเข้านอนแต่หัวค่ำและงีบทุกครั้งที่มีเวลา เพื่อเตรียมเก็บพลังงานเอาไว้ใช้ตอนคลอดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แค่คุณเจ็บท้องนี่ก็แทบจะหมดแรงแล้วหละค่ะ ไม่ต้องพูดถึงความรู้สึกเหนื่อยและไม่มีแรงช่วงเจ็บท้องคลอดที่อาจจะกินเวลานานแสนนาน แค่ปล่อยให้ถึงช่วงที่คุณต้องออกแรงเบ่งอย่างเดียวก็พอ และช่วงแรกเกิดของลูก คุณต้องพักผ่อนให้มาก ๆ เข้าไว้
ปล่อยให้คนอื่นดูแลจัดการกับงานบ้านไป ถ้าไม่มีใครทำแทนจริง ๆ ก็ปล่อยไว้ก่อน เพราะว่าสิ่งแรกที่ควรทำในช่วงนี้คือการพักฟื้นของคุณและการดูแลลูกน้อย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างสายใยรัก การให้นม และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก คุณควรกินอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะช่วงให้นมลูก แล้วก็อย่าลืมต้มฆ่าเชื้อขวดนมและจุกนมของลูกด้วยนะคะ
นอกจากนี้แล้วกิจกรรมอย่างอื่นก็อย่าเพิ่งไปใส่ใจนะคะ สำหรับฉันแล้ว สิ่งที่ชอบที่สุดช่วงให้นมลูกคือ การให้ลูกดูดนมจากเต้าเลยค่ะ เพราะไม่ต้องเก็บล้างขวดนม รับรองได้เลยว่ามีเวลานอนเพิ่มขึ้นอย่แน่นอน
เตรียมของใช้ลูกให้พร้อมช่วยลดความเครียดได้
ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของลูกควรเตรียมและจัดเข้าที่ให้เรียบร้อยตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 ผ้าอ้อมและทิชชูเปียกควรให้อยู่ใกล้มือ หยิบใช้สะดวก เสื้อผ้าลูกควรซักทำความสะอาดให้เรียบร้อยและอยู่ใกล้ที่เปลี่ยนเสื้อผ้า ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกบ่อยสักหน่อย เพราะลูกอาจจะสำรอกออกมา ผ้าอ้อมรั่ว หรืออาจจะสำลักนมจากอกของคุณก็เป็นได้
อ่านเพิ่มหน้าถัดไป
ในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ก็มาจับเข่าคุยกับสามีว่าจะใช้กลยุทธ์ไหนเลี้ยงลูกดี วิธีนี้จะช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งพ่อแม่มือใหม่ที่ไม่มีใครช่วยดูแลนั้นจะตกใจทำอะไรไม่ถูกเลยในช่วง 2 สัปดาห์แรก นอกจากนี้ยังหงุดหงิดง่าย สมองไม่ปลอดโปร่งอีกด้วย ดังนั้นวางแผนไว้ล่วงหน้าว่ามีอะไรต้องทำบ้าง ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้จะทำอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต้องทำอย่างไร
ทำงานเป็นทีมคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
กว่าจะท้องได้ก็ต้องอาศัยคุณทั้งสองคน ดังนั้นการเลี้ยงลูกก็ต้องอาศัยแรงกายแรงใจจากคุณทั้งสองด้วยเช่นกันถึงจะถูก จริงอยู่ที่พ่อให้ลูกกินนมจากเต้าไม่ได้ แต่งานอื่น ๆ ที่สำคัญที่พอสามารถช่วยได้ก็มีถมเถไป ไม่ว่าจะกล่อมลูกให้หลับ ช่วยงานบ้าน ทำกับข้าวง่าย ๆ เปลี่ยนผ้าอ้อม เป็นต้น
แม่มือใหม่ทั้งหลายล้วนรู้สึกแปลก ๆ ถึงร่างกายที่เปลี่ยนไปหลังคลอดตลอดจนกลไกการผลิตนมของหน้าอก ช่วงหลังคลอดนี้อาจจะทำให้ร่างกายของคุณแม่ปวดและเมื่อยล้า ดั้งนั้นหากคุณพ่อช่วยดูแลคุณแม่ในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดีแล้วหละก็ ความรักของทั้งคุณแม่และคุณพ่อก็จะแข็งแกร่งขึ้น และสามารถตกลงกันและช่วยเหลือกันจนเรื่องการเป็นพ่อแม่นั้นง่ายไปอย่างถนัดตา สิ่งที่ต้องขอเตือนคุณพ่อคืออย่าบ่นจุกจิกไร้สาระเด็ดขาดนะคะ
คำแนะนำสำหรับคุณสามี
ในช่วงที่ร่างกายของผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้เธอมีความรู้สึกนึกคิดที่ต่างไปจากเดิมด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับช่วงหลังคลอด พอดีสามีของฉันแซวดิฉันเล่นว่า เวลาให้นมลูกนี่เหมือนเป็นแม่วัวเลย พอดิฉันได้ฟังเท่านั้นแหละ เลยเสียเวลาไปครึ่งชั่วโมงนั่งร้องไห้ตาบวมเพราะนั่งนึกถึงสภาพวัวแม่ลูกอ่อน ดิฉันคงไม่โทษสามีหรอค่ะ เพียงแต่ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่นั่นเอง ผู้หญิงเราก็แค่ต้องการความรักและการดูแลช่วยเหลือจากสามีเท่านั้นเอง
สำหรับบางคนที่โชคดีมีคนรอบข้างคอยช่วยเหลือก็นับว่าเป็นการจัดการทำงานเป็นทีมเวิร์คที่ดีมากเลยค่ะ คนหนึ่งช่วยหน้าที่นั้น อีกคนช่วยอีกหน้าที่หนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วเราก็ได้พักเหนื่อยกันทุกคน แถมลูกยังได้รับการดูแลอย่างดีอีกด้วย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!