X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กอ้วนน่ารัก เจ้าหนูจ้ำม่ำ น่ารัก หรือสัญญาณอันตราย ?

บทความ 5 นาที
เด็กอ้วนน่ารัก เจ้าหนูจ้ำม่ำ น่ารัก หรือสัญญาณอันตราย ?

เด็กอ้วน เด็กจ้ำม่ำ ใครเห็นเป็นต้องเกิดอาการหมั่นเขี้ยว อยากเข้าไปฟัด ไปกอดแน่ๆ แต่แม่ๆ รู้หรือไม่ว่า ความน่ารักที่ชวนให้หลายคนเอ็นดูนั้น กลับแฝงไว้ด้วยโรคร้าย ที่พร้อมทำลายชีวิตอันสดใสในอนาคตของลูกรักได้ทุกเมื่อ!!

เด็กอ้วนน่ารัก หากลูกน้อยอ้วนเกิน จะเป็นอันตรายหรือไม่ แม่ ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าเด็กอ้วนอาจจะน่ารัก แต่ความจริงแล้ว อาจจะส่งผลเสียแก่ลูกน้อยได้เช่นกัน

 

แต่สิ่งที่ชวนช็อกโลกไปกว่านั้นคือ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ออกมาประกาศเตือนว่า โรคอ้วนในเด็ก กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก เพราะจากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกมี เด็กอ้วน เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า ในช่วง 40 ที่ผ่านมา หากโฟกัสเฉพาะสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2546 – 2547 จะพบว่า มีเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10.5 เป็น 17.4 สำหรับข้อมูลในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ.2541 เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 12 และดีดตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.6 ในปี พ.ศ.2554 จากจำนวนดังกล่าวนี้ พบว่าร้อยละ 5.4 ของเด็กที่อ้วนท้วนเกินเกณฑ์ มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่อ้วน สูงถึงร้อยละ 25

 

เด็กอ้วนน่ารัก มาพร้อมกับความโชคร้าย

เจ้าหนูจ้ำม่ำ ยิ้มทีตาหยี ทั่วตัวเต็มไปด้วยชั้นไขมันซ้อนทับกันราวกับห่วงยางน้อยๆ นับสิบชั้น ลุกนั่งแต่ละครั้งก็ลำบาก ท่าเดินก็อุ้ยอ้าย ขยับตัวได้ไม่เท่าไรก็หายใจหอบถี่ หากยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ ก็ยังมีน้าๆ ป้าๆ มารุมชมว่าน่ารัก แต่พอย่างเข้าสู่วัยประถม เพื่อนๆ ต่างพร้อมใจกันตั้งฉายาให้ว่า ไอ้อ้วน ซะงั้น!! ซ้ำร้ายเมื่อถึงวัยหนุ่มสาว เกิดตกหลุมรักใครเข้าสักคน ก็ทำได้แค่เพียงแอบมองอยู่ห่างๆ เพราะไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง จนกลายเป็นปมด้อยในจิตใจ

 

เด็กอ้วนน่ารัก

ไม่เพียงแค่ผลร้ายที่พ่วงมากับรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ความอ้วน ยังแอบแง้มประตูต้อนรับโรคภัยต่างๆ เข้าสู่ร่างกายอันอุ้ยอ้ายของเหล่า เด็กอ้วน ไม่เว้นวัน ไม่ว่าจะเป็น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความผิดปกติของกระดูกและข้อ โรคผิวหนัง นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ตับและถุงน้ำดีอักเสบ เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย และอาจมีบุตรยากขึ้น เมื่อเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ความไม่มั่นใจในรูปร่าง สามารถพัฒนาสู่ภาวะซึมเศร้าได้ด้วย

 

เด็กอ้วนน่ารัก ที่แฝงมากับโรค โรคอ้วนในเด็ก ใครคือผู้ร้ายตัวจริงกันแน่ ?

เด็กอ้วนน่ารัก

เด็กอ้วนน่ารัก

โรคอ้วนในเด็ก

ส่วนใหญ่เกิดจาก ภาวะโภชนาการเกิน หรือความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการใช้พลังงานกับอาหารที่บริโภคเข้าไป เช่น กินอาหารที่ให้พลังงานสูงจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูปและขัดสี (อาทิ น้ำตาลทราย แป้งขัดขาว ขนมปังขาว ข้าวขาว ฯลฯ) ไขมัน และโปรตีนจากสัตว์ อาหารฟาสต์ฟู้ด ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมเป็นประจำ กินจุบกินจิบ จบมื้อด้วยของหวานทุกวัน ไม่ชอบขยับตัว ขยาดการออกกำลังกาย ใช้ชีวิตนั่งๆ นอนๆ ติดโทรศัพท์มือถือ ติดเกม ติดทีวี ในขณะที่เด็กอ้วนจากสาเหตุพ่อแม่มียีนอ้วน หรือเป็นเด็กที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน กลับมีตัวเลขต่ำกว่าเด็กอ้วนจากการปลูกฝังพฤติกรรมการกินและการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายเท่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : อ้วนขณะตั้งครรภ์ มีผลเสียระยะยาวต่อลูกน้อยในครรภ์ ระวังคนท้องอ้วน

 

เปลี่ยนพฤติกรรมการกินตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในวันข้างหน้าของลูกรัก

ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าเด็กไทยอายุระหว่าง 1 – 14 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน รวมทั้งเด็กอ้วน จำนวน 540,000 คน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่มากถึง 135,000 คน อีกทั้งในต่างประเทศยังมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ใหญ่ที่อ้วนมากๆ จะมีอายุสั้นลงกว่าคนไม่อ้วนราว 5 – 20 ปี เลยทีเดียว!!!

ปัญหา เด็กอ้วน หลายเคสเกิดจากการที่พ่อแม่ขาดความรู้ในด้านโภชนาการที่ถูกต้อง บางรายผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ทำให้ไม่มีเวลาปรุงอาหารให้ลูกทาน ต้องอาศัยซื้อหาเอาจากนอกบ้านแทบทุกมื้อ อาหารทุกคำที่ลูกรับประทานเข้าไปจึงด้อยประโยชน์ เต็มไปด้วยไขมัน และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ รสชาติหวานจัด เค็มจัด มันจัด ซึ่งล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กๆ ในระยะยาวทั้งสิ้น

 

เด็กอ้วน

แนวทางการป้องกันลูกรักให้ห่างจาก โรคอ้วนในเด็ก คือการใส่ใจอาหารทุกมื้อ คุณแม่อาจเริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนในครอบครัว ร่วมกับชักชวนกันไปออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยในส่วนของการทานอาหารนั้น ควรเน้นอาหารที่ประกอบขึ้นจากผักสด ลดการทานโปรตีนจากสัตว์ หันมาทานคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนจากพืช ซึ่งไม่ผ่านการปรุงแต่ง สกัด ขัดสี ตามแนวทาง การทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plant Based Whole Food – PBWF) อาทิ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ทานถั่ว งา และธัญพืชต่างๆ ซึ่งอุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามินต่างๆ กากใยอาหาร ซึ่งดีต่อระบบการขับถ่ายมากๆ ทั้งยังไม่มีคอเลสเตอรอล มีไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ หากคุณแม่ไม่อยากให้เด็กๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่าง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ฯลฯ ก็ควรรีบปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกรักตั้งแต่วัยเด็ก

สนใจลงทะเบียนรับคู่มือโภชนาการสำหรับเจ้าตัวน้อย คลิกเลย : startright.info

 

บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

วิจัยเผย คนท้องอ้วน ลูกเสี่ยงเป็นภูมิแพ้! ปัญหาของแม่ท้องที่อ้วนเกินพิกัด!

ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากกการนอนดึก

ให้ลูกกินนมแม่ ลดเสี่ยงโรคอ้วนในเด็กได้นะ !!!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เด็กอ้วนน่ารัก เจ้าหนูจ้ำม่ำ น่ารัก หรือสัญญาณอันตราย ?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว