หนูต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุได้ 24 วัน เพราะหนูป่วยเป็น เด็กหัวแตงโม
“สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ด.ญ. สุพัตชา วังทอง ชื่อเล่นชื่อ น้องซิ้ม หนูป่วยเป็นโรค ไฮโดรเซฟารัส หรือเรียกง่ายๆว่า เด็กหัวแตงโม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 หนูได้รับการรักษาด้วยวิธี ผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ ให้น้ำไหลออกไปกับปัสสาวะ ตอนนี้ หัวหนูลดลงมา 3 เซนแล้ว คุณลุงหมอบอกกับแม่หนูว่า คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะครับ เดี๋ยวหัวน้องจะค่อยๆลดลงที่ละนิดๆ วันนี้หนูไม่ได้มาขอกำลังใจ แต่หนูมาให้กำลังใจ กับแม่ๆ ที่มีลูกป่วยอยู่ ไม่ว่าจะด้วยโรคใดก็ตาม หนูขอให้แม่ๆทุกคน สู้ๆนะคะ ทุกปัญหามันมีทางออกเสมอค่ะ ทุกโรคต้องมีวิธีการรักษานะคะ. หนูได้รับการรักษาตั้งแต่อายุได้ 24 วันค่ะ ขอให้แม่ๆทุกคนสู้ๆ เหมือน แม่ของหนูนะคะ สวัสดีค่ะ”
โรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม เป็นอย่างไร ติดตามได้ในหน้าถัดไป>>>
โรคไฮโดรเซฟารัส หรือ เด็กหัวแตงโม เป็นอย่างไร
โรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม เป็นความผิดปกติที่มีน้ำในโพรงสมองมากเกินปกติ มักเกิดในเด็กเล็ก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถิติพบว่ามีเด็กเป็นโรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม 1 ใน 1000 คนต่อปี โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีหน้าผากที่โปนเด่นกว่าปกติ ศีรษะจะบวมและโตขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้ลูกตาทั้งสองข้างมองลงล่าง ทำให้เห็นตาขาวส่วนบนได้ และจะเกิดความบกพร่องทางประสาทได้หากไม่ได้รับการรักษา
สาเหตุของโรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม
โรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม เกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค ทางพันธุกรรม เกิดภาวะเลือดออกในสมอง หรือได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่หากพบเด็กที่เป็นโรคนี้ตั้งแต่กำเนิด สาเหตุมักเกิดจากการอุดกั้นของทางผ่านของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของท่อที่จะทำให้น้ำไขสันหลัง ที่จะผ่านออกมาจากสมองมีการตีบหรือไม่มีช่องว่าง หรือมีการอักเสบบริเวณท่อน้ำในสันหลัง จนกระทั่งเกิดการตีบขึ้นมา หรือมีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังเสียไป
การรักษาโรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม และการลดอัตราการเกิดของโรค
วิธีการรักษาโรคไฮโดรเซฟารัส หรือเด็กหัวแตงโม นั้นทำได้โดยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ ให้น้ำไหลออกมา จากนั้นจะมีการให้ยาเพื่อให้ร่างกายหยุดผลิตน้ำในสมอง ซึ่งหากได้รับการรักษาเร็ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ อีกทั้งในปัจจุบันนั้น วิทยาการทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถตรวจวินิฉัยเพื่อป้องกันได้ตั้งแต่ในตอนที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาประมาณ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ด้วยวิธีอัลตราซาวนด์ครับ
นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรทานโฟเลต อย่าได้ขาด ซึ่งสามารถพบได้ใน ตับ ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง ผักปวยเล้ง ไข่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ ส้ม และผักผลไม้สดๆครับ
ขอบคุณที่มาจาก Supattra Wangthong
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
คลิปนาทีชีวิต ทีมพยาบาลไม่ยอมแพ้ ช่วยทารกตายแล้วฟื้นสุดปาฏิหาริย์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!