X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก

บทความ 3 นาที
เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก

ปัจจุบันผู้หญิงไทยมีปัญหาเรื่อเนื้องอกในมดลูกกันมาก เนื้องอกที่กล่าวถึงนี้ไม่ใช่เนื้อร้ายนะคะแต่ก็มีผลกระทบมากทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์แล้วอย่างนี้จะมีลูกได้หรือไม่ มาติดตามอ่านค่ะ

รู้จักเนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri หรือ Uterine fibroid) ไม่ใช่มะเร็ง แต่เป็นโรคของกล้ามเนื้อมดลูกที่มีการเจริญมากขึ้นผิดปกติจนเกิดเป็นเนื้องอก ทำให้มดลูกมีขนาดที่โตขึ้น เนื้องอกในมดลูกพบได้ประมาณ 25% ของผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มักพบในผู้หญิงอายุ 35-45 ปี แต่อาจพบในหญิงสาวก็ได้ เนื้องอกอาจมีขนาดต่าง ๆ กันไป   ก้อนเนื้องอกอาจมีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดถั่ว หรือมีขนาดใหญ่เท่ากับผลแตงโม ก้อนเนื้องอกนี้สามารถพบได้ในทุกที่ของมดลูกและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามตำแหน่งที่พบ ดังต่อไปนี้

1.เนื้องอกที่กล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) คือ  เนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้องอกโตขึ้นภายในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด

2.เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) คือ  เนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันออกมาที่ผิวด้านนอกของมดลูก

3.เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) คือ  เนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันเข้ามาในโพรงมดลูก และ

4.เนื้องอกมดลูกชนิดมีก้านยื่น โดยตำแหน่งก้อนเนื้องอกซึ่งโตขึ้นอาจดันพ้นออกมาที่ผิวด้านนอกของมดลูกหรืออาจดันเข้ามาในโพรงมดลูก ตัวก้อนเนื้องอกจะยึดติดกับมดลูกด้วยก้านเล็กๆ (Intracavitary fibroid)

อ่าน สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในมดลูก  คลิก

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่มีการเจริญมากผิดปกติของกล้ามเนื้อมดลูก สาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด  สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมหากพบว่า  คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเนื้องอกในมดลูกมักจะมีคนในครอบครัวคนอื่น ๆ เป็นเนื้องอกในมดลูกได้เช่นกัน   ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศหญิง) เป็นตัวเร่งการเติบโตที่มดลูก (Growth factor) เป็นตัวเร่งให้ตัวเนื้องอกโตขึ้น ดังนั้นเนื้องอกนี้จะพบในวัยเจริญพันธุ์ (ในช่วงวัยที่ยังมีประจำเดือน)  และเนื้องอกจะเล็กลงหลังเข้าวัยหมดประจำเดือน  ยิ่งกว่านั้นการให้ฮอร์โมนทดแทน (เอสโตรเจน) จะทำให้ขนาดเนื้องอกโตเร็วกว่าธรรมดา

อาการที่พบได้มาก

ในกลุ่มผู้ที่เป็นเนื้องอกมดลูกจะมีเพียงประมาณ 50% ที่จะมีอาการของโรคเกิดขึ้น ดังนั้นผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกหลาย ๆ คนจึงไม่ทันรู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคเนื้องอกมดลูกแล้ว ทั้งนี้เพราะไม่มีอาการ หรือความผิดปกติทางร่างกายปรากฏให้เห็น   และมักจะรู้ตัวว่าเป็นเนื้องอกมดลูกก็เมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี  จะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20-30 เท่านั้นที่มีอาการ อาการสำคัญที่พบได้ คือ

1.ประจำเดือนมามาก หรือปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามากกว่าปกติ และในบางครั้งก็ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนเพิ่มขึ้น การที่มีประจำเดือนออกมากอาจจะทำให้เกิดภาวะซีดเพราะขาดธาตุเหล็ก โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการรับประทานธาตุเหล็กทดแทนจะช่วยรักษาภาวะซีดอันเนื่องมาจากการที่มีประจำเดือนมามากได้

Advertisement

2.อาการท้องอืดเฟ้อ  มักจะพบในรายที่ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้รู้สึกอึดอัดในท้อง  แน่นท้อง  ท้องบวม โดยเฉพาะที่บริเวณส่วนล่างของช่องท้องและบริเวณท้องน้อย

3.ก้อนเนื้องอกที่โตยื่นมาทางหน้าท้อง หรือตัวก้อนเนื้องอกเบียดดันมดลูกมาทางหน้าท้อง อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะซึ่งอยู่ด้านหน้าของมดลูกถูกกดจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น  ถ้าก้อนเนื้องอกหรือมดลูกโตยื่นไปทางด้านหลังของช่องท้อง ก็จะทำให้เกิดการกดเบียด ลำไส้เหใญ่ส่วนปลายเป็นส่วนที่ต่อกับทวารหนักจะทำให้เกิดอาการท้องผูก

4.อาากรเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกโตยื่นไปในช่องคลอดหรือเป็นเนื้องอกที่ตำแหน่งปากมดลูก

5.มีบุตรยากและแท้งบุตรง่าย ถ้าก้อนเนื้องอกโตยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก อาจก่อให้ เกิดการอุดตันของท่อนำไข่ได้ หรือขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน และอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือแท้งตามมาได้

6.ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ขณะที่มีเนื้องอกมดลูก เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะทารกอาจอยู่ผิดท่า หรือก้อนเนื้องอกขัดขวางการคลอดทางช่องคลอดได้

อ่าน  เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก คลิก

เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก

แน่นอนว่าหลาย ๆ ท่านเมื่ออ่านแล้วอาจเริ่มวิตกกังวล  ไม่เป็นไรค่ะให้รีบไปตรวจภายในเสียก่อนหากคุณคิดจะตั้งครรภ์  ถ้าพบว่ามีเนื้องอกจะได้รับการรักษาหรือคำแนะนำจากคุณหมอแต่เนิ่น ๆ  เนื้องอกมดลูกมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอด  พบว่าร้อยละ 25 -35 ของสตรีที่มีเนื้องอกมดลูกจะพบร่วมกับภาวะมีบุตรยาก ถ้าตั้งครรภ์อาจเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการฝังของไข่ที่ได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิแล้วกับเยื่อบุมดลูกไม่ดี และก้อนเนื้องอกไปขัดขวางการเจริญเติบโตของมดลูกขณะตั้งครรภ์ หรือทำให้เกิดการบีบตัวอย่างผิดปกติของมดลูก นอกจากนี้ทารกในครรภ์อาจอยู่ในตำแหน่งหรือท่าผิดปกติ เนื้องอกมดลูกอาจไปขัดขวางทางคลอด ทำให้คลอดยากและอาจตกเลือดภายหลังการคลอดได้

นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์  สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช  ได้ให้คำแนะนำว่า  “การตรวจเจอเนื้องอกมดลูก ไม่จำเป็นว่าจะต้องผ่าตัดออกเสมอไป เพราะการผ่าตัดนั้นจะแนะนำในกรณีที่เป็นเนื้องอกชนิด“Myoma uteri”(เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง) เพราะสามารถผ่าตัดเลาะเอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออกจากกล้ามเนื้อมดลูกส่วนที่ปกติได้  แต่ย้ำว่าควรต้องเป็นกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง เสียเลือดมาก ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือภายหลังจากที่ใช้ยารักษาเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล และถึงแม้ว่าก้อนเนื้องอกนั้นมีขนาดเล็กแต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก หรือแท้งหลายๆครั้ง ก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดรักษา

ส่วนในกรณีที่ตรวจเจอก้อนเนื้องอกโดยบังเอิญ ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก อาการไม่รุนแรง และยังต้องการมีบุตรอยู่ หากก้อนเนื้องอกที่ตรวจเจอนั้นไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ตรวจติดตามขนาดของก้อน และสังเกตอาการเป็นระยะ ทุกๆ 4-6 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องรีบผ่าตัด เพราะการผ่าตัดอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อมารดาและทารกได้ระหว่างตั้งครรภ์ นั่นก็คือ แผลผ่าตัดที่มดลูกปริแตก เพราะแผลผ่าตัดยืดขยายออกตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการผ่าตัดยังทำให้เริ่มมีบุตรได้ช้าเพราะต้องเสียเวลาพักฟื้นแผลที่มดลูกให้หายดีอย่างน้อย 12-18 เดือน ก่อนที่จะเริ่มปล่อยให้ตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีบุตรเพียงพอแล้ว จะผ่าตัดมดลูกออกไปเลย ผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูก หรือจะตรวจติดตามก็สามารถพิจารณาได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องแผลที่มดลูกปริแตก โดยจะเลือกการรักษาวิธีไหนนั้นก็ขึ้นกับอาการเป็นหลัก”

จากที่ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเนื้องอกในมดลูกกันแล้ว  สิ่งที่ควรกระทำตั้งแต่เนิ่น ๆ คือ การตรวจภายในเป็นประจำทุกปีนะคะ  เพื่อสุขภาพของตัวคุณเองและเพื่อการวางแผนตั้งครรภ์ในอนาคตด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://drchawtoo.com
https://haamor.com/th
https://www.si.mahidol.ac.th
 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ฉันคิดว่าท้องแต่จริงๆ แล้วเป็นเนื้องอก!!! คนท้องควรเช็คตัวเอง!!!
เนื้องอกนอกมดลูก-ความกังวลของคุณแม่ท้องแรก

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว