X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

บทความ 5 นาที
เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

คนตัวเล็ก อุ้งเชิงกรานแคบ สะโพกแคบมาก ต้องผ่าคลอดจริงไหม? แม่ตัวเล็กอุ้งเชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม แม่อยากคลอดธรรมชาติ

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม

แม่ตัวเล็กสะโพกแคบ เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม แม่ท้องอยากคลอดธรรมชาติ หรือคนตัวเล็กเชิงกรานแคบ จำเป็นต้องผ่าคลอด

 

อุ้งเชิงกรานคืออะไร

อุ้งเชิงกรานคือ กระดูกเชิงกรานเป็นโครงสร้างหลักที่ห่อหุ้มช่องทางคลอดอยู่เป็นตัวกำหนด ลักษณะช่องทางคลอด อุ้งเชิงกราน เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างช่องท้องกับขาของคุณแม่  ในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงทุกคนประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่  มดลูก ปากมดลูก ปีกมดลูก รังไข่  โดยมีอุ้งเชิงกรานทำหน้าที่พยุงค้ำจุนอวัยวะภายในเหล่านี้ไว้

 

วิธีสังเกตอุ้งเชิงกรานแคบ

ความผิดปกติของช่องทางคลอดและกระดูกเชิงกราน (Bony passage) มีสาเหตุมาจากช่องเชิงกรานผิดปกติ ที่พบได้บ่อย คืออุ้งเชิงกรานแคบ  แบ่งออกเป็น

  1. แคบที่ช่องทางเข้า เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องทางเข้า น้อยกว่า 10 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวขวาง น้อยกว่า 12 เซนติเมตร ทำให้ศีรษะทารกเกิดคลอดไม่ได้ มักพบถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รวมไปถึงท่าการคลอดของทารกอยู่ในท่าผิดปกติเช่น ท่าก้น ท่าขวาง เป็นต้น
  2. แคบที่ส่วนกลาง ระยะห่างของปุ่มกระดูกสองข้างระหว่างอุ้งเชิงกราน น้อยกว่า 9.5 เซนติเมตร
  3. แคบที่ช่องทางออก ระยะห่างน้อยกว่า 8 เซนติเมตร และมุมใต้กระดูกหัวหน่าวแคบน้อยกว่า 85 องศา มักพบร่วมกับแคบที่ส่วนกลาง และส่งผลให้ฝีเย็บมีการฉีกขาดเพิ่มขึ้น
  4. เชิงกรานแคบแบบผสม มักพบในคนท้องที่มีประวัติกระดูกเชิงกรานหัก หรือบิดเบี้ยว อาจเกิดจากสาเหตุเนื้องอกของมดลูก มะเร็งปากมดลูก ปากมดลูกผิดปกติ ช่องคลอดตีบหรือแคบ เป็นต้น
  5. ความผิดปกติที่ตัวทารก รก และน้ำคร่ำ เช่น  ส่วนนำผิดปกติ ทารกมีขนาดใหญ่ มีความพิการ รูปร่างผิดปกติ รกเกาะต่ำเป็นต้น

 

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด คุณแม่ตัวเล็ก สะโพกแคบมาก อุ้งเชิงกรานแคบต้องผ่าคลอดไหม? แม่อยากคลอดธรรมชาติ

แม่ท้องอุ้งเชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม

เป็นคนตัวเล็ก อุ้งเชิงกรานแคบ จะคลอดเองได้ไหม

รูปร่างของคนท้องมีผลต่อขนาดของอุ้งเชิงกราน ในผู้หญิงที่มีรูปร่างสูงโปร่ง กระดูกเชิงกรานมักจะผายและโค้งดี ช่องคลอดมักจะกว้าง ทำให้สามารถคลอดเองได้

ในผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มีผลคือ ช่องคลอดจะสั้นซึ่งน่าจะดีว่าระยะทางผ่านของทารกย่นระยะลง แต่ความจริงแล้วผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ยกระดูกเชิงกรานมักจะเล็กและสอบเข้าหากันทำให้ช่องคลอดแคบ ดังนั้น เมื่อเชิงกรานแคบทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย

โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร ถือว่าต้องระวัง ในขั้นตอนการคลอดทารกอาจคลอดออกมาติดหัวไหล่ ทำให้การคลอดทุลักทุเล อาจส่งผลร้ายทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้

 

แม่ท้องแก่สงสัยเชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม

อุ้งเชิงกรานของคนท้องมีความสำคัญต่อการคลอดโดยตรงค่ะ  เมื่อใกล้คลอดกระดูกเชิงกรานนี้จะสามารถยืดขยายออกจากกันได้เล็กน้อย จึงทำให้ช่องคลอดกว้างขึ้นทำให้คนท้องมีความรู้สึกปวดหัวเหน่าได้  การทำงานของข้อต่อเชิงกราน  จะถูกยึดโยงด้วยเส้นเอ็นต่าง ๆ ที่จะช่วยในการเคลื่อนไหว เส้นเอ็นเหล่านี้จะมีความไวต่อฮอร์โมนรีแลกซิน ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ดังนั้น ฮอร์โมนรีแลกซินจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและทำให้มีการเคลื่อนไหวต่ออุ้งเชิงกราน

  • ตามปกติแล้วอุ้งเชิงกรานของคนท้องจะมีการขยับขายขึ้นในช่วงไตรมาสที่สาม เพื่อเตรียมเปิดทางให้ทารกคลอดออกมาได้
  • หากคุณแม่ที่มีอุ้งเชิงกรานแคบ และมีความประสงค์อยากจะคลอดเองนั้นสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ค่ะ เพียงแต่ทารกในครรภ์อาจจะต้องตัวเล็ก มีขนาดไม่เกิน 3000 กรัม และปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ มีลมเบ่งเก็บแรงเบ่งได้ดีมาก ลูกตัวไม่ใหญ่มาก ก็สามารถคลอดเองได้ แต่คุณแม่ต้องอึดและอดทนมากค่ะ และถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ก็สามารถคลอดเองได้ค่ะ
  • คุณหมอจะพิจารณาจากลักษณะของอุ้งเชิงกรานหรือดูทางออกของทารกนั่นแหละค่ะว่า  พร้อมจะคลอดเองได้หรือไม่  เช่นมีกระดูกส่วนก้นกบแหลมยื่นออกมา หรือว่าส่วนกระดูกเชิงกราน 2 ข้างแหลมเข้าไป แล้วก็แคบผิดปกติ ซึ่งจะสามารถรู้ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจภายใน คือ มีส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางด้านหน้า และหลังน้อยกว่า 10.5 เซนติเมตร

กรณีนี้แม่ตั้งครรภ์ต้องผ่าคลอดอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้เครื่องมือช่วยได้ เพราะจะอันตรายมาก เนื่องจากเวลาใส่เครื่องมือเข้าไป ในจังหวะที่ใช้เครื่องมือดูด หรือคีบอาจกระทบต่อ สมองของลูกจะเกิดอันตรายได้ ดังนั้น หากประเมินได้ตั้งแต่แรกก็ควรตัดสินใจผ่าตัดเลย ไม่ต้องเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับลูก

  • ขนาดของทารกและท่าทารกในการคลอด  มีตั้งแต่ ตัวลูกโตเกินไป ท่าของลูกไม่ถูกต้อง เช่น ลูกอยู่ในท่าขวาง คือ ทารกอยู่ในท่านอนขวางท้อง ท่าก้น หรือเป็นท่าศีรษะ แต่ว่าลูกไม่ยอมก้ม แหงนหน้าออกมา หรือว่าเอียง ก็จะทำให้คลอดยาก  ซึ่งกรณีเช่นนี้สามารถคาดการณ์ได้จากการอัลตราซาวด์ และการตรวจภายในว่า  กระดูกเชิงกรานแคบหรือไม่  รวมถึงแนวโน้มท่าคลอดของลูก ส่วนกรณีอื่นที่อาจเกิดขึ้นคงต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอขณะที่ทำคลอดค่ะ

 

แม่ที่สงสัยว่าอุ้งเชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะแพทย์จะพิจารณาความเสี่ยง น้ำหนักของทารกในครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่ท้องและทารก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ฤกษ์คลอด 2562 ฤกษ์คลอดลูก ฤกษ์ผ่าคลอด วันดี วันมหามงคล ผ่าคลอด 2562 วันไหนดี

คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ คลอดธรรมชาติเจ็บไหม วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด ก่อนคลอดต้องรู้

เลือกผ่าคลอด หากคลอดลูกโดยการผ่าคลอด ความเสี่ยงผ่าคลอด 9 เรื่องที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ!

คนท้องเสพยา ความเชื่อผิดๆ ที่ว่า เสพยาบ้าทำให้คลอดง่าย อันตรายคนท้องเสพยา ติดยาเสพติด

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว