X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คำถามคาใจ อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่ และเด็กจะปลอดภัยหรือไม่

บทความ 5 นาที
คำถามคาใจ อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่ และเด็กจะปลอดภัยหรือไม่

อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่ ในยุคสมัยนี้ ผู้หญิงทำงานนอกบ้านอย่างทุกวัน ช่วงเวลาในการแต่งงาน ของผู้หญิงจึงช้ากว่าสมัยก่อน และเมื่อแต่งงานช้า อายุใน การตั้งครรภ์ ของคุณแม่ จึงมากขึ้นตามไปด้วย และ นั่นคือที่มาของคำถาม ที่หลายคน ค้างคาใจ ว่า อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่  และเด็กจะปลอดภัยหรือไม่ อย่างไร

 

และคำตอบ คือ ด้วยวิวัฒนาการ ทางการแพทย์ ที่ก้าวไกล ในปัจจุบัน แม้อายุจะ 40 ปีแล้ว แต่คุณแม่ ก็สามารถตั้งท้องได้ค่ะ โดยคุณแม่จำเป็น ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคลอด ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และมีความพร้อม ทั้งร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้การตั้งครรภ์ มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจมีความเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะ แทรกซ้อน และมีผล ต่อการเจริญเติบโต ของทารกในครรภ์ มากกว่าคุณแม่อายุน้อยค่ะ ทั้งยังพบว่า การตั้งครรภ์อายุมากขึ้น จะมีอัตราการคลอดก่อนกำหนด เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ของทั้งแม่ และลูกคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากว่า 35 ปี จึงควรได้รับการดูแล  เป็นพิเศษ และเข้าตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ตั้งแต่เดือนแรก จนถึงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอดดังนี้ค่ะ

 

1. ตรวจคัดกรอง โครโมโซม ทำได้โดยการตรวจเลือด ของคุณแม่ เพื่อคัดกรอง ภาวะผิดปกติของโครโมโซม การตรวจนี้ ไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำค่ะ แต่ทั้งนี้ หากตรวจพบว่า การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงอาจต้องมีการเจาะน้ำคร่ำเพิ่มเติมค่ะ

 

2. ตรวจเบาหวาน และความดันโลหิตสูง สิ่งที่ต้องใส่ใจ เป็นพิเศษคือ คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มักมีภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะของโรคเบาหวาน ระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าแม่ ที่ตั้งครรภ์อายุน้อย คุณแม่ จึงต้องได้รับการตรวจหาภาวะน้ำตาลในเลือด ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ คุณแม่ต้องตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิดบีและซี และโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคที่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างมากค่ะ

 

Advertisement

3. ตรวจภาวะ แทรกซ้อน เมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน คุุณแม่ ควรได้รับการอัลต้าซาวน์ ซึ่งเป็นการใช้คลื่นเสียง ความถี่สูงตรวจดูโครงสร้างร่างกาย ของลูกน้อยในครรภ์ โดยการ อัลต้าซาวน์ จะสามารถเห็นความผิดปกติ  ของทารกได้ทั้งตัว รวมถึงความผิดปกติ ของหัวใจของลูกน้อยด้วยค่ะ

 

4. ตรวจคัดกรอง ภาวะคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ตั้งครรภ์ อายุมากยิ่งมีอัตราการคลอดก่อนกำหนด เพิ่มขึ้นตามไปด้วยค่ะ เพราะอายุคุณแม่ ที่มากจะส่งผลให้เกิดปัญหา รกเกาะต่ำ และรกลอกก่อนคลอด คุณแม่จึงควรเข้าได้รับการตรวจเพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดค่ะ 

 

5. ตรวจภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ถือได้ว่าเป็นอันตราย ทั้งต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ค่ะ การตรวจอย่างละเอียด จึงจำเป็นอย่างมาก ในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้้นไป เพราะหากไม่มีการตรวจ หรือไม่ได้รับการรักษาที่ดี อาจส่งผลให้คุณแม่ หรือทารกเสียชีวิตได้เลยค่ะ และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สามารถตรวจ ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ก่อนช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ ถึง 6 วัน ซึ่งจะช่วยลดภาวะ ครรภ์เป็นพิษได้ถึง 90% และยังป้องกัน ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ถึง 70% เลยทีเดียวค่ะ

 

ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงทั้งต่อตัวคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ตั้งครรภ์แล้ว ควรปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้ง ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ และ เข้ารับการตรวจมากกว่าการตรวจโดยทั่วไป และควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงวันคลอดนะคะ

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คุณแม่วัย 38 มีลูก 7 คน เล่าประสบการณ์ ท้องตอนอายุเยอะ ไม่ใช่ปัญหา

มีคนท้องโดยไม่รู้ตัวไหม? อาการคนท้องไม่รู้ตัว ท้องไม่รู้ตัวเป็นอย่างไร?

ท้องตอนอายุ 40 มาดู 6 ข้อเท็จจริงตั้งครรภ์ในวัย 40อัพ อายุเยอะตั้งครรภ์เป็นยังไง

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คำถามคาใจ อายุ 35 ปี ตั้งท้องได้หรือไม่ และเด็กจะปลอดภัยหรือไม่
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว