X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ส่อง! อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที!

บทความ 5 นาที
ส่อง! อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที!

ไม่เพียงแต่น้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น อุ้ยอ้ายเต็มทน น้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ช่วงใกล้คลอดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ท้องแก่ขนาดนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงและมีอาการอะไรที่ต้องเตรียมรับมือบ้าง มารู้กันค่ะ

อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย

อาการคนท้อง ไตรมาสสุดท้าย เริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 28 เป็นต้นไปจนถึงช่วงเวลาใกล้คลอด อาจจะมีอาการที่เคยพบมาเมื่อช่วงไตรมาสที่สอง และอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นได้

 

อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที่!

อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย

  • มีความอุ้ยอ้ายมากขึ้นและเห็นได้ชัดเจนจากท้องที่ใหญ่และน้ำหนักตัวที่มากขึ้น – น้ำหนักในช่วงไตรมาสนี้ โดยรวมจะเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม
  • เกิดอาการเจ็บท้องหลอก – เป็นอาการเจ็บท้องจากการหดรัดตัวของมดลูกในช่วงใกล้คลอด คล้ายกับการเจ็บท้องจะคลอดจริง ๆ แต่ยังไม่รุนแรง และจะเจ็บน้อยกว่า
  • อาการริดสีดวงทวาร – น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะเพิ่มแรงดันในร่างกายมากขึ้น ทำให้เส้นบริเวณทวารหนักเกิดการขยาย บวม หรือเกิดเส้นเลือดขอดจนอาจมีอาการริดสีดวงทวารได้
  • หายใจลำบาก – เมื่อมดลูกขยายตัว ดันอวัยวะด้านบนให้ขยับขึ้นไปดันกระบังลม ทำให้พื้นที่ปอดเหลือน้อยลง ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการหายใจได้ลำบาก หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจสั้นได้
  • มีอาการตัวบวม – นอกจากน้ำหนักที่ทำให้ร่างกายใหญ่ขึ้นแล้ว ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีอาการบวมเกิดขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำสะสมตามเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ
  • หน้าท้องขยายทำให้สะดือถูกดันจนราบหรือจุ่น และจะกลับมาเหมือนเดิมเมื่อหลังคลอด

 

Advertisement

อาการคนท้อง ไตรมาสสุดท้าย

  • มีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือวิ่ง
  • รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากศีรษะทารกลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • มีอาการนอนไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่ค่อยสนิทเนื่องจากการเจ็บครรภ์เตือนหรือการดิ้นของทารกในครรภ์
  • กระดูกเชิงกรานจะเริ่มขยาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาใกล้คลอดซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหน่วงบริเวณข้อสะโพกหรือปวดหัวหน่าวเวลาเคลื่อนไหว

อาการผิดปกติในช่วงไตรมาสุดท้ายที่ควรรีบไปพบแพทย์

อาการคนท้อง ไตรมาสสุดท้าย

  • มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ
  • เวลาปัสสาวะรู้สึกแสบ ขัด หรือเป็นเลือด
  • ปวดท้องน้อยรุนแรง
  • เลือดออกจากช่องคลอด อาจเป็นอาการนำของการตกเลือดก่อนคลอด
  • พบว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น
  • มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น หรือคันช่องคลอด
  • มีมูกเลือด มีน้ำเดิน
  • มีอาการเจ็บท้องคลอด มดลูกบีบตัว รู้สึกท้องแข็งเป็นก้อนทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่า มีการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ

 

 

อาการคนท้อง ไตรมาสสุดท้าย

การเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ช่วงสุดท้ายใกล้คลอด

– เมื่อเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 32 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 1800 กรัม ผิวหนังยังมีสีแดงและเหี่ยวย่น

– สัปดาห์ที่ 36 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500 กรัม ผิวหนังเริ่มตึงขึ้นจากไขมันสะสมใต้ผิวหนัง

– ย่างเข้าสัปดาห์ที่ 37 ช่วงเวลาใกล้คลอด หรือมีการคลอดในช่วงนี้ถือว่าเป็นการคลอดที่ครบกำหนดแล้ว

ในช่วงเวลานี้คุณแม่ควรเริ่มจัดเตรียมกระเป๋าเสื้อผ้าของใช้จำเป็น สำหรับการไปโรงพยาบาลให้พร้อม สามารถหยิบไปได้ทันทีเมื่อพบอาการใกล้คลอด ไม่ต้องเครียดหรือวิตกกังวลอะไร ทำจิตใจให้ผ่อนคลายเตรียมตัวเห็นหน้าลูกน้อยและเป็นคุณแม่มือใหม่ในไม่ช้ากันค่า

สัญญาณเตือนก่อนคลอด

สัญญาณเตือนก่อนคลอด หนูพร้อมจะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว

ยิ่งท้องแก่ ยิ่งกังวล โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ เพราะประสบการณ์ก็ไม่มี ไม่รู้ว่าตอนไหนลูกจะคลอด แม้แต่คุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดลูกมาก่อนหลายท่านยังรู้สึกตื่นเต้นและกังวลไม่แพ้กัน เรามาดูว่า สัญญาณเตือนก่อนคลอด ที่บ่งบอกว่าคุณแม่ใกล้จะได้เจอหน้าลูกน้อยแล้ว มีอะไรบ้าง

อาการใกล้คลอด

สัญญาณเตือนก่อนคลอด หรืออาการใกล้คลอดต่าง ๆ ในช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดมีดังนี้

1. มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด

ระหว่างตั้งครรภ์ บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกลักษณะเหนียวข้น มีสีขาว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ พอถึงช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางลง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย ซึ่งสัญญาณแบบนี้แสดงว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดเต็มทีแล้ว

2. ท้องลด

ในช่วงใกล้คลอด ทารกในครรภ์จะเริ่มเคลื่อนศีรษะลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน และจะสังเกตได้ว่าท้องของคุณแม่มีขนาดเล็กลง คุณแม่จะรู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจสะดวกขึ้น เราเรียกอาการนี้ว่า อาการท้องลด

อาการท้องลด อาจเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอด หรือในคุณแม่บางคนจวบจนใกล้คลอดแล้วท้องยังไม่ลดเลยก็เป็นไปได้เหมือนกัน แต่ถ้าแม่ท้องคนไหนมีอาการท้องลดแล้วละก็ เตรียมตัวได้เลย เพราะสัญญาณเตือนก่อนคลอดแบบนี้ แสดงว่าเจ้าตัวน้อยใกล้ที่จะออกมาดูโลกแล้วครับ

3. เจ็บท้อง

อาการเจ็บท้องนั้น มีทั้งแบบเจ็บท้องหลอก และเจ็บท้องใกล้คลอดจริง เรามาดูกันว่าอาการแบบไหนคืออาการเจ็บท้องจริง อาการแบบไหนคืออาการเจ็บท้องหลอกกันแน่ เพื่อจะได้เตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที

อาการเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องเตือน

  • ปวดท้องมากบ้างน้อยบ้าง เดี๋ยวถี่เดี๋ยวห่าง ไม่สม่ำเสมอ แม่ท้องบางท่านก็ปวดติด ๆ กันหลายครั้งแล้วก็หายปวด
  • เมื่อได้นอนพัก หรือเปลี่ยนท่าทาง อาการก็จะดีขึ้น
  • ความเจ็บปวดจะคล้าย ๆ กับการปวดประจำเดือน
  • มักมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย

อาการเจ็บท้องจริง

  • มีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอ และปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • ท้องแข็งตึง
  • แม่ท้องจะรู้สึกเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนแล้วจึงเจ็บร้าวไปที่หลัง
  • หากเดินหรือเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บมากขึ้น
  • อาจมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดร่วมด้วย

สัญญาณเตือนก่อนคลอดมีอะไรอีกบ้างที่ต้องระวัง ติดตามต่อหน้าถัดไป —>

4. น้ำเดิน

อาการถุงน้ำคร่ำแตก หรือ น้ำเดิน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนก่อนคลอด แสดงว่ามดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน จึงทำให้มีน้ำออกมาเป็นลักษณะใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ แม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากแม่ท้องมีอาการเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

5. ปากมดลูกเปิด

ปกติแล้ว ปากมดลูกของคนท้องจะหนาเล็กน้อย และปิดค่อนข้างแน่นสนิท เพื่อช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากอันตรายภายนอก แต่ร่างกายของคนท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอด โดยปากมดลูกจะเริ่มอ่อนนุ่ม บางลง และสั้นลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเปิดขยายกว้างขึ้นเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้ทารกคลอดออกมาได้สำเร็จ

เมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและขยาย ทำให้มูกและเลือดบริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก ซึ่งนั่นก็เป็น อาการใกล้คลอด ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลย

สัญญาณเตือนก่อนคลอดอื่น ๆ ที่ต้องระวัง

นอกจาก อาการใกล้คลอด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากแม่ท้องมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบเตรียมตัวไปโรงพยาบาลทันที

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ลูกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลงกว่าปกติ
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู
  • อาเจียนไม่หยุด

ที่มา : www.guruobgyn.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

อาการคนท้องที่พบบ่อยในไตรมาสแรก

6 อาการยอดฮิตตอนท้อง ที่มองข้ามไม่ได้

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ส่อง! อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที!
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว