หัวนมบอด หรือหัวนมบุ๋ม อาจทำให้ลูกของคุณดื่มนมแม่จากคุณได้ยากยิ่งขึ้น แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป วันนี้เรามีวิธีแก้ไขมาแนะนำ เพื่อให้นมจากเต้าได้สำเร็จ
หัวนมบอด หัวนมบุ๋ม เป็นปัญหาต่อการให้นมลูกหรือไม่
หัวนมคุณแม่มีหลากหลายรูปร่างและขนาด ในขณะที่หัวนมส่วนมากจะยื่นออกมาให้เด็กคว้ามาดูดอมได้ง่าย ๆ แต่ก็มีหัวนมที่มีขนาดและรูปร่างอื่น ๆ อีกมากที่อาจทำให้คุณแม่ให้นมลูกได้ยากมากขึ้น เพื่อที่จะให้เด็กได้รับนมจากคุณแม่ได้เต็มที่นั้น เด็กต้องดูดหัวนมและดึงขึ้นไปที่เพดานปากของเด็ก
สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกแล้ว นับเป็นเรื่องธรรมดามากที่หัวนมจะไม่ยื่นออกมาเต็มที่ หนึ่งในสามของคุณแม่ล้วนเจอปัญหาหัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋มในระดับหนึ่ง แต่เมื่อผิวหนังเปลี่ยนแปลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ มีเพียงผู้หญิงร้อยละสิบเท่านั้นที่ยังคงมีปัญหาเรื่องหัวนมบอดตอนที่ลูกเกิดมา และมีแนวโน้มว่าระดับความบอดของหัวนมจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ กับการตั้งครรภ์ครั้งต่อ ๆ ไป
เนื่องจากลูกของคุณไม่ได้ทำให้ส่วนจุกนมยืดออกมาจากแค่ส่วนหัวนม แต่จากเนื้อเยื่อเต้านมโดยรอบอีกด้วย ดังนั้นหัวนมที่บอดหรือบุ๋มจึงไม่สร้างปัญหาให้คุณขณะให้นมลูก แม้หัวนมที่บอดหรือบุ๋มบางชนิดจะสร้างปัญหา แต่ก็มีขั้นตอนบางอย่างที่คุณสามารถปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทั้งช่วงก่อนและหลังที่ลูกจะเกิดมา
บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหาโลกแตก ลูกเมินเต้า เพราะ แม่หัวนมบอด ทำยังไงดี?
รู้ได้อย่างไรว่า หัวนมบอด หรือหัวนมบุ๋ม วิธีแก้หัวนมบอด
สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือการการระบุว่าหัวนมของคุณบอดหรือว่าบุ๋ม คุณสามารถทำได้ระหว่างที่คุณกำลังตั้งท้องโดยการทดสอบ “หยิก” แบบง่าย ๆ จับเต้านมที่ปลายลานหัวนมด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ กดลงเบา ๆ แต่แน่น ๆ ที่ราวหนึ่งนิ้วหลังหัวนม ถ้าหัวนมโผล่ออกมา นั่นเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ถ้าหัวนมไม่โผล่ออกมาหรือไม่แข็งตัว เราจะนับว่าหัวนมของคุณบอด แต่ถ้าหัวนมหดตัวหรือหายไปล่ะก็ นั่นคือหัวนมบุ๋ม หัวนมที่บอดหรือบุ๋มมาก ๆ จะไม่แข็งตัวตอบสนองต่อการกระตุ้นหรือความหนาวเย็น หากคุณลองทดสอบหยิกดูแล้วและหัวนมโผล่ออกมา หัวนมคุณไม่ได้บุ๋มและจะไม่ก่อปัญหาอะไร
หัวนมที่บุ๋มจริง ๆ เกิดขึ้นจากพังผืดที่ฐานของหัวนมทำให้ผิวหนังกับเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านล่างถูกยึดไว้ด้วยกัน ในขณะที่ผิวหนังมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก เซลล์บางตัวที่หัวนมและลานหัวนมอาจยึดติดกันอยู่ บางครั้งความตึงเครียดจากการให้นมมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดพังผืดยึดขึ้นมาแทนที่จะยืดออกหรือผ่อนลง สิ่งนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาหัวนมแตกและทำให้คุณแม่เจ็บปวดได้
เต้านมแต่ละข้างผลิตนมได้ไม่เท่ากัน
เนื่องจากเต้านมทำงานเป็นอิสระจากกันและกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คุณแม่คนหนึ่งจะมีหัวนมข้างใดข้างหนึ่งบอดหรือบุ๋ม หรือมีข้างใดข้างหนึ่งที่โผล่ออกมามากกว่าอีกข้าง และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เต้านมสองข้างของคุณแม่คนเดียวกันจะผลิตนมได้ไม่เท่ากัน
ระดับความบุ๋มของหัวนมก็ต่างกันมาก มีตั้งแต่หัวนมที่ไม่โผล่ออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น แต่สามารถดึงออกมาได้ด้วยมือ จนไปถึงหัวนมที่บอดมาก ๆ ที่ตอบสนองต่อแรงกดด้วยการหายไปเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 36 ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำอย่างไรดี?
รู้จักเทคนิคฮอฟแมน
เทคนิคฮอฟแมนเป็นคู่มือการบริหารที่อาจช่วยแยกพังผืดซึ่งยึดกับฐานของหัวนมที่ทำให้หัวนมบอด วางนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างไว้ด้านตรงกันข้ามกันที่ฐานของหัวนมแล้วดึงนิ้วโป้งออกจากกันอย่างนุ่มนวลแต่หนักแน่น ทำเช่นนี้ในแนวตั้งและแนวนอน บริหารลักษณะนี้ซ้ำวันละสองครั้งในช่วงแรก แล้วค่อยเพิ่มเป็นห้าครั้งต่อวัน คุณสามารถบริหารได้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์เพื่อเตรียมหัวนมให้พร้อมและบริหารหลังจากคลอดลูกแล้วเพื่อทำให้หัวนมโผล่ออกมา การให้คนรักของคุณช่วยกระตุ้นหัวนมคุณด้วยมือหรือปากอย่างนุ่มนวลขณะทำรักก็สามารถช่วยให้หัวนมโผล่ออกมาได้ เชื่อได้เลยว่าคนรักของคุณจะชื่นชอบและต้องการช่วยคุณเตรียมหัวนมของคุณให้พร้อมสำหรับการให้นมลูกแน่ ๆ
คุณแม่หลายคนไม่ทราบความแตกต่างระหว่าง “แผ่นครอบหัวนม (nipple shields) และ “ฝาครอบเก็บนม (breast shells)” เพราะฟังดูแล้วคล้ายกัน แต่อันที่จริงแล้วอุปกรณ์สองอย่างนี้มีการใช้งานที่แตกต่างกัน “แผ่นครอบหัวนม” ใช้ระหว่างให้นมลูก เมื่อลูกมีปัญหาไม่ดูดนมจากเต้าของแม่อาจเนื่องจากแม่มีปัญหาหัวนมสั้นหรือบอด แผ่นครอบหัวนมจึงมีหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ที่แก้ปัญหาหัวนมของแม่ให้ปกติ เมื่อลูกดูดนมแม่จากเต้าผ่านแผ่นครอบหัวนมก็จะช่วยกระตุ้นให้หัวนมแม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้
ในขณะที่ “ฝาครอบเก็บนม” ใช้ใส่ระหว่างวันเพื่อเก็บนมที่ไหลซึมออกมา ปัจจุบันนี้ฝาครอบเก็บนมถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่การใช้งานที่คุ้มค่ามากขึ้น นอกจากใช้รองรับน้ำนมที่ไหลซึมออกมา โดยสามารถป้องกันการเสียดสีเมื่อหัวนมแตกเป็นแผล และหลายคนเชื่อว่าช่วยแก้ไขปัญหาหัวนมบอดได้ด้วย โดยเชื่อว่าการได้รับแรงกดอย่างนุ่มนวลต่อเนื่องที่ฐานหัวนมจะช่วยคลายพังผืดที่รั้งหัวนมเอาไว้ไม่ให้โผล่ออกมา แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ฝาครอบเก็บนมไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนักในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวนม ดังนั้นการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จึงไม่ค่อยจะได้รับการแนะนำ
หลังจากที่ลูกคลอดแล้ว คุณสามารถใช้ที่ปั๊มนม (breast pump) เพื่อช่วยทำให้หัวนมที่บอดหรือบุ๋มโผล่ออกมาได้ทันทีก่อนที่จะให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มก็ช่วยแยกพังผืดที่ใต้ผิวหนังได้โดยการใส่แรงกดเข้าไปจากตรงกลางหัวนม ถ้าหัวนมของคุณบุ๋มจริง ๆ (ซึ่งมักจะเป็นแค่หัวนมข้างใดข้างหนึ่งไม่ใช่ทั้งสองข้าง) คุณอาจต้องใช้ที่ปั๊มนมเพื่อกระตุ้น คุณควรทำเช่นนี้เป็นอย่างยิ่งหากหัวนมคุณบุ๋มทั้งสองข้าง โดยปกติแล้ว หลังจากการให้นมลูกสองสามครั้งแรก การที่ลูกดูดนมคุณอย่างหิวกระหายจะทำให้เกิดแรงกดดันด้านลบและช่วยให้เนื้อเยื่อหัวนมโผล่ออกมาได้ แม้ว่าหัวนมจะบอดหรือบุ๋ม ลูกจะหาหัวนมและอมหัวนมเพื่อดูดนมได้เก่งยิ่งขึ้นเมื่อลูกโตขึ้นและแข็งแรงมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูก ดูดนม ลูกไม่ยอมอ้าปากเข้าเต้า ทำอย่างไรให้ลูกดูดเต้าอย่างถูกวิธี?
วิธีแก้ หัวนมบอด ทำได้อย่างไร
หากคุณมีหัวนมบอดหรือบุ๋ม การขอความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาด้านการให้นมจะช่วยได้มากหากเป็นไปได้ในช่วงการให้นมครั้งแรก ๆ เนื่องจากจะเป็นเวลาที่คุณจะเจอปัญหาต่าง ๆ มากที่สุด เทคนิคที่มีประโยชน์ต่าง ๆ มีดังนี้
หากหัวนมหดตัวเข้าไป จับหัวนมและหมุนด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้นาน 30 วินาที จากนั้นจับหัวนมด้วยผ้าเย็นชื้นทันทีก่อนที่จะให้ลูกดูดนม คุณสามารถนำแผ่นซับน้ำนมแบบใช้แล้วทิ้งนำไปทำให้ชื้นและแช่ไว้ในช่องแช่แข็งแล้วใช้เป็นเหมือนห่อน้ำแข็งที่ช่วยให้หัวนมโผล่ออกมาได้ทันทีก่อนที่จะให้นมลูก
-
การดึงรั้งลานหัวนมไว้ก่อนที่จะให้ลูกเข้าเต้า
ประคองเต้านมไว้โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบนส่วนนิ้วที่เหลืออยู่ด้านล่าง จากนั้นดึงเต้านมเข้าหาผนังอก การทำเช่นนี้ช่วยให้หัวนมโผล่ออกมาได้
-
ใช้แผ่นครอบหัวนม (nipple shields)
แผ่นครอบหัวนมเป็นแผ่นซิลิโคนบาง ๆ ยืดหยุ่น มีรูที่ด้านปลายที่พอดีกับหัวนมของคุณระหว่างการให้นม แผ่นครอบหัวนมเสื่อมความนิยมไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพราะทำมาจากยางหนา ๆ และทำให้เกิดปัญหาปริมาณน้ำนมแม่ลดลงอย่างมาก เนื่องด้วยเหตุเหล่านี้ แผ่นครอบหัวนมจึงสร้างปัญหามากกว่าช่วยแก้ปัญหา ดังนั้นแผ่นครอบหัวนมรุ่นใหม่จึงทำมาจากแผ่นซิลิโคนบาง ๆ ใส ๆ ซึ่งหมายความว่าการกระตุ้นจะเข้าถึงลานหัวนมได้มากกว่า ส่วนปัญหาปริมาณน้ำนมแม่ลดลงก็ได้รับการแก้ไขให้เหลือน้อยที่สุด
ในช่วงการให้นมครั้งแรก ๆ ลูกอาจอ้าปากได้กว้างพอและดูดนมอย่างหิวกระหายมากพอที่จะดึงหัวนมเข้าไปในปากโดยที่เหงือกติดอยู่กับลานหัวนม ดังนั้นหัวนมบอดหรือบุ๋มอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไรใหญ่โตนัก การมีใครสักคนช่วยคุณในขั้นตอนการให้ลูกเข้าเต้าและท่าทางการให้นมก็จะช่วยได้มาก คุณจะต้องการให้นมลูกอย่างเร็วที่สุดหลังจากลูกเกิด และภายในสองสามชั่วโมงหลังจากนั้น คุณคงไม่อยากมีปัญหาเต้านมคัดตึงเพราะหน้าอกที่โตขึ้นสามารถทำให้หัวนมแบนราบและยากที่จะหยิบคว้ามากขึ้น
ในช่วงการเรียนรู้การให้นมลูกในช่วงแรก ๆ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้หัวนมปลอมทุกรูปแบบ คุณควรเสริมด้วยวิธีการให้นมทางเลือกอื่น ๆ เนื่องจากมีโอกาสสูงมากที่ทารกที่กำลังเรียนรู้วิธีการดูดนมอาจจะสับสนกับเรื่องหัวนมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหัวนมที่ไม่ได้อยู่ในรูปร่างสมบูรณ์แบบสำหรับการให้นม หากการให้นมกลายเป็นเรื่องตึงเครียดขึ้นมา หยุดและปลอบโยนลูก ลองโยกตัวลูก ห่อหุ้มลูก อุ้มเดินไปมา ให้ลูกดูดนิ้วคุณ หรือให้ลูกจิบนมจากช้อนหรือแก้วโดยไม่ต้องดูดจากเต้าจนกว่าลูกจะผ่อนคลายลง เพราะคุณอยากให้ลูกรู้สึกดีกับการดูดนมแม่มากกว่าที่จะรู้สึกไม่ดีอยู่แล้ว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การดูแลเต้านม / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 66
ผ่าคลอดไม่มีน้ำนม แก้ด้วยวิธีนี้ ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูกทำไงดี?
วิธีเตรียมเต้าก่อนคลอด ไม่ยุ่งยาก เตรียมพร้อมให้น้ำนมพุ่งปรี๊ดหลังคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!