X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

บทความ 3 นาที
หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไรหัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร

หัดเยอรมัน คืออะไร หัดเยอรมันหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ จะมีอันตรายอันตรายต่อลูกในท้องอย่างไร วันนี้ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์มีข้อมูลมาฝากครับ

หัดเยอรมัน คืออะไร

หัดเยอรมัน เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้จะติดต่อถึงกันได้ทางการหายใจ โดยเชื้อในละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่กระจายอยู่ในอากาศ จะถ่ายทอดไปยังผู้ใกล้ชิด โดยระยะเวลาแพร่เชื้อ คือ 7 วันก่อนออกผื่นจนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น

 

อาการและการวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

ภายหลังได้รับเชื้อแล้ว ประมาณ 14-21 วัน จะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และตามข้อเล็กน้อย หลังจากเป็นไข้ได้ 1-2 วัน จะเกิดผื่นแดงบริเวณใบหน้าแล้วจึงกระจายไปตามลำคอ ตัว แขนและขา บริเวณหลังหูข้างท้ายทอยจะคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย กดเจ็บ นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ

สำหรับในผู้ป่วยบางรายที่อาการปรากฏไม่ชัดเจน คุณหมออาจต้องทำการเจาะเลือดเพื่อทำการวินิจฉัย สำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมันแล้วมีโอกาสที่จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้อีก

สำหรับแม่ท้องที่ได้รับเชื้อหัดเยอรมันเนื่องจากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ก่อน  เชื้อจะติดต่อถึงทารกในครรภ์และมีความเสี่ยงสูงที่ทารกจะพิการแต่กำเนิดได้ครับ

บทตวามอื่นๆที่น่าสนใจ อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร

หัดเยอรมัน

อาการหัดเยอรมัน เป็นอย่างไร

ผลกระทบต่อลูกน้อยหากคุณแม่เป็นโรคหัดเยอรมัน

โดยปกติแล้วคุณแม่จะไม่มีอันตรายจากหัดเยอรมันมากนัก แต่ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน อาจเกิดความผิดปกติขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่ติดเชื้อ

  • หากอยู่ในระยะ 12 สัปดาห์แรก เด็กอาจมีปัญหาความผิดปกติหลายอย่าง และความพิการที่เห็นได้ชัดคือ ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด และมีความผิดปกติทางสมอง
  • หากอยู่ในระยะ 12 – 20 สัปดาห์ ความผิดปกติหรือความพิการต่างๆที่ลูกน้อยจะได้รับ จะเบาลงมา
  • หากอยู่ในระยะ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ร่างกายของเด็กจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เด็กทารกในครรภ์จึงไม่ได้รับความผิดปกติใดๆจากโรคนี้ครับ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจดีกว่านะครับ

การป้องกันโรคหัดเยอรมันทำได้อย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ >>>

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

  • โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน MMR หากท่านใดต้องการที่จะมีลูก  และยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน  ควรฉีดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน  และในระหว่างที่ฉีดนี้ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนครับ
  • ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน
  • สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมันหรือผู้ที่ฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมันมาแล้วจะมีภูมิคุ้มไปตลอดชีวิต  แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหัดเยอรมันได้อีกแต่จะไม่แสดงอาการออกมา 
วัคซีน อาการหัดเยอรมัน เป็นอย่างไร

อาการหัดเยอรมัน เป็นอย่างไร รักษายังไง

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่อันตรายต่อแม่ท้องโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโตอยู่ในช่วง  12 สัปดาห์แรก แต่หากคุณแม่เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆโดยการไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันไว้เสียก่อน ก็ไม่ต้องห่วงต่อการเป็นหัดเยอรมันครับ

ที่มา ncbi.nlm.nih.gov, si.mahidol.ac.th

บทตวามอื่นๆที่น่าสนใจ

6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่เตรียมตัวได้เลย

ไวรัสRSV เชื้อร้ายในช่วงปลายฝนต้นหนาว

แก้วหัดดื่ม แนะนำอุปกรณ์ถ้วยหัดดื่มตัวช่วยดี ๆ สำหรับลูกน้อย

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อาการหัดเยอรมัน เป็นยังไง อันตรายต่อลูกอย่างไร
แชร์ :
  • หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

    หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 98 ความเครียดในช่วงแม่ท้อง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 98 ความเครียดในช่วงแม่ท้อง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

  • 20 ภาพถ่าย กับเรื่องราว ความมหัศจรรย์ของ สายสะดือ

    20 ภาพถ่าย กับเรื่องราว ความมหัศจรรย์ของ สายสะดือ

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

app info
get app banner
  • หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

    หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 98 ความเครียดในช่วงแม่ท้อง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 98 ความเครียดในช่วงแม่ท้อง ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

  • 20 ภาพถ่าย กับเรื่องราว ความมหัศจรรย์ของ สายสะดือ

    20 ภาพถ่าย กับเรื่องราว ความมหัศจรรย์ของ สายสะดือ

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ