X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?

บทความ 5 นาที
แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?

ในแต่ละคืนคุณแม่จะต้องตื่นมาอุ้มเจ้าตัวน้อยที่ร้องไห้งอแงกี่ครั้งกันนะ นี่มันตีอะไรแล้วเนี่ยะที่คุณแม่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อให้นมลูกกินอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งให้นมไปซักพักก่อนที่จะหลับตาลง เรื่องราวตอนค่ำคืนยังไม่หมดลงง่าย ๆ เรายังต้องตั้งตาคอยอีก 2-3 ชั่วโมงข้างเพื่อให้นมลูกอีกครั้ง

การให้นมลูกในตอนกลางคืนอาจจะทำให้คุณแม่ต้องคอยลุกตื่น ทำให้ไม่ค่อยได้หลับได้นอน ถ้าตอนนี้เจ้าตัวน้อยอายุเกิน 6 เดือนแล้ว คุณแม่บางคนอาจต้องการ หย่านมลูกตอนกลางคืน และฝึกให้ลูกน้อยได้นอนหลับยาวตลอดคืนกันแล้วล่ะ

แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกให้นมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?

สำหรับคุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน มันอาจจะเป็นเรื่องหนักหนาตรงที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี บทความนี้คุณแม่ลูกสองจะขอมาแชร์ประสบการณ์วิธีที่จะให้เจ้าหนูเลิกหม่ำนมในตอนกลางคืน เพื่อให้คุณแม่ได้นอนหลับอย่างเต็มตื่นหลังจากนี้

หย่านมลูกตอนกลางคืน

เคล็บลับง่าย ๆ ที่คุณแม่ขอบอก คือใช้วิธีลดเวลาให้เจ้าตัวน้อยกินนมน้อยลง ถ้าลูกตื่นขึ้นมา 3 ครั้งในตอนกลางคืนและใช้เวลากินนมประมาณ 15 นาทีสำหรับแต่ละเต้า เริ่มต้นให้ป้อนนมน้อยลงอย่างช้าๆ เช่น ในวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ ให้เวลาเข้าเต้าลดลงเป็น  14 นาทีในแต่ละเต้า สลับกับในวันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ ให้กินประมาณข้างละ 13 นาที ค่อย ๆ ลดเวลาลงจนถึงวันที่เหลือ 1 นาทีหรือ 1 ออนซ์ จึงค่อยหยุดให้นมเจ้าตัวน้อย

การเริ่มต้นอาจจะเป็นเรื่องยากซักหน่อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่จะต้องเจอลูกร้องไห้บ้าง แต่ถ้าค่อย ๆ ทำไป ลูกน้อยจะเรียนรู้จนค่อย ๆ กินนมน้อยลงในตอนกลางคืนและไม่จำเป็นต้องกินนมอีก อย่างไรก็ตามทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ลูกของเราอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อยในการหย่านมตอนกลางคืน นั่นก็ไม่เป็นไร ซึ่งมันอาจจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก่อนที่จะลดเวลาหรือจำนวนออนซ์ลง ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่หัวใจสำคัญคือคุณแม่ต้องมีความใจแข็ง เพื่อลูกน้อยจะค่อยปรับตัวได้เองและจะเริ่มนอนหลับยาวได้ตลอดทั้งคืน โดยไม่ต้องตื่นมาร้องหานมแม่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีน้ำนมเพียงพอ ไม่มีอุปสรรคอื่นใดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลัง 6 เดือนคุณแม่สามารถให้ลูกได้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุครบ 2 ปี หรือมากกว่าก็จะยังเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกน้อย แถมยังจะมีปริมาณภูมิคุ้มกันบางชนิดมากขึ้นซะอีก และสารอาหาร คุณประโยชน์ในนมแม่ก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปตามอายุของลูกด้วย  แต่อาจจะน้อยลงตามธรรมชาติร่างกายของแม่และตามความต้องการของลูกเท่านั้น ถ้ามีโอกาสให้นมแม่ยาว ๆ แม้จะเหนื่อยล้าร่างกายหน่อย แต่สำหรับลูกแล้วมีแต่ดีกับดี.

แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า วิธีหย่านม เทคนิค หย่านมลูก ง่ายๆ

การ หย่านมลูก ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะลูกเพียงอย่างเดียว แต่กลับมีผลกลับต่อตัวแม่เช่นเดียวกัน  จะมาแนะนำ วิธีหย่านม วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เทคนิค หย่านมลูก ง่ายๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบมาก ทั้งต่อแม่และลูกน้อย

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เป็นกระบวนการที่ทำให้ลูกน้อยเปลี่ยนจากการดูดนมแม่ไปดูดนมขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน หรือที่เรียกว่าการ หย่านมลูก เมื่อเขาถึงช่วงอายุครบ 6 เดือน ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารแข็งได้มากขึ้นแล้ว ฉะนั้นถ้าคุณกำลังคิดจะให้ลูกน้อย หย่านม อยู่ล่ะก็ คู่มือแม่มีเคล็ดลับ และเทคนิคดีๆ ที่เราจะนำมาบอกกล่าวถึง วิธีหย่านม ที่อาจจะช่วยคุณได้

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า หรือ วิธีหย่านม มีปัจจัยหลายๆ อย่างดังนี้

ปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการ หย่านมลูก คือ คุณแม่การกลับไปทำงาน การใช้ยาบางตัวของคุณแม่ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับลูก ความกดดันทางสังคมหรือครอบครัวรู้สึกว่าลูกของคุณ อายุเกินเกณฑ์ที่จะให้นม หรือตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งคุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ยังคง ปั๊มนม และ เลี้ยงลูก ด้วยนมในบางรูปแบบ โดยคุณสามารถอ่านเคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนม หลังจากกลับไปทำงาน และการให้นมบุตร ขณะคุณแม่ป่วย การให้นมขณะตั้งครรภ์ได้ เป็นต้น

การ หย่านม เป็นการตัดสินใจของตัวคุณเองและลูกของคุณ ซึ่ง วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า นั้นคุณจะต้องทำได้โดยไม่มีแรงกดดันหรืออิทธิพลของผู้อื่น โปรดใช้เวลาสักครู่ เพื่อพิจารณาสิ่งที่คุณรู้สึกว่าดีที่สุด สำหรับคุณและลูกของคุณ เมื่อพูดถึงการ หย่านมลูก

เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ลดการให้นมแม่ลงทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไปแล้วทดแทนด้วยนมขวด ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวด หรือแม้แต่อาหารแข็งบางอย่าง คุณควรให้เวลาลูกน้อยและเต้านมของคุณได้ปรับตัว และถ้าลูกน้อยอายุต่ำกว่าหนึ่งปี ควรเสริมด้วยนมแม่ เนื่องจากนมวัวและนมผง มีสารอาหารไม่เพียงพอ สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน เป็น วิธีหย่านม ที่ดีที่สุด

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า หรือ หย่านม นั้นควรค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ซึ่งลูกจะค่อยๆ รับรู้ได้เองว่า หมดความต้องการที่จะดูดนมแม่แล้ว และลูกจะค่อยๆ ดูดนมแม่น้อยลง และเลิกไปทีละมื้อเมื่อเขาโตขึ้น จนคุณอาจไม่ทันได้สังเกตว่าลูกกินนมแม่มื้อสุดท้ายเมื่อใด เพราะขบวนการนี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ วิธีการนี้ทำให้ลูก หย่านม ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยลดความต้องการไปทีละน้อย ไม่ร้อง ไม่เสียใจจากการที่ต้องเลิกดื่มนมแม่

** แนะนำ เคล็ดลับ สอนลูกให้มีวินัย ฝึกวินัยเด็ก เทคนิค เลี้ยงลูก ให้มีวินัย พ่อแม่ มือใหม่ ต้องอย่างไร **

แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?

หย่านมลูก เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งสำหรับคุณและลูก

ช่วงเวลาของการ หย่านมลูก เป็นช่วงเวลาที่สร้างความหงุดหงิดใจ เสียใจ ให้กับลูกไม่น้อย การเปลี่ยนแปลงการจะพรากสิ่ง ๆ นี้ไปจากลูก ย่อมทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกไม่ดีแน่ๆ เพียงจำไว้ว่าลูกของคุณอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวเต็มที่

ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือลูกของคุณที่กำลัง หย่านม คุณอาจรู้สึกเศร้าหรือสูญเสียความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปกับลูกของคุณ คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความคิดถึง และความโล่งใจ ซึ่งอาจทำให้สับสน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของคุณเองในระหว่างกระบวนการ หย่านม นั้นเป็นความคิดที่จะจุดประกายการตอบสนองทางอารมณ์ของแม่ แม่เองก็จะมีปัญหาเต้านมคัดตึง หรืออาการเต้านมอักเสบได้

แนะ วิธีให้ลูกเลิกเต้า หย่านมลูก โดยที่ไม่ให้ทำร้ายใจลูก มีเทคนิค หย่านม ดังต่อไปนี้

ควรให้ลูก หย่านม เมื่อพร้อม

คุณแม่ ควรวางแผนการ หย่านมลูก เป็นลำดับขั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการ หย่านม ควรทำเมื่อถึงเวลาที่ทั้งแม่และลูกพร้อม ไม่ควร หย่านมลูก เร็วเกิน ปล่อยให้ลูกมีการปรับตัว พยายามอดทน และเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการหงุดหงิด

ให้สังเกตว่าปกติลูกกินนมเวลาไหนบ้าง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเวลาให้นมลูก

วิธีหย่านม ด้วยวิธีนี้เป็นการหันเหความสนใจ ยืดเวลาให้ลูกปรับตัวไม่กินนมในเวลาเดิมๆ คล้ายๆ กับการทำให้มื้อนมห่างเปลี่ยนไปลูกจะได้เรียนรู้การปรับตัวที่จะเลิกนมได้

นั่งหรือยืนบริเวณอื่นในห้อง ในจุดที่ไม่ใช่จุดให้นมประจำ

หากลูกตื่นกลางดึก หากต้องการ หย่านมลูก และหลีกเลี่ยงการขอกินนม ให้ลองนอนแยกเตียง หรือนอนห้องอื่นดู เพื่อไม่ให้ลูกเห็นแม่แล้วอาจจะไม่ร้องกินนม และจะค่อยๆ เลิกนึกถึงเรื่องการกินนมไปเอง

ดังนั้นการ หย่านมลูก วิธีหย่านม ที่ดีที่สุดคือ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ค่อยๆ ให้ลูกได้ปรับตัว และเมื่อถึงช่วงวัยๆ หนึ่ง พัฒนาการเด็ก ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไป เขาจะรู้สึกคุ้นชินกับพฤติกรรมการเลิกกินนมแม่ไปเอง ซึ่งหากเรารีบร้อนจนเกินไป อาจทำให้เขารู้สึกเครียด และเป็นกังวลเมื่อไม่ได้กินนมแม่ได้นั่นเอง


credit content : www.lifewithmylittles.com

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

หย่านมแม่อย่างไรไม่ทำร้ายใจลูก

เคล็ดลับทำให้หน้าอกกระชับหลังหย่านม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่แชร์ หย่านมลูกตอนกลางคืน เลิกนมมื้อดึก ทำอย่างไรให้ได้ผล?
แชร์ :
  • เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

    เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

  • เลิกนมมื้อดึก ตอนอายุเท่าไหร่ และวิธีเลิกนมมื้อดึก

    เลิกนมมื้อดึก ตอนอายุเท่าไหร่ และวิธีเลิกนมมื้อดึก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

    เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

  • เลิกนมมื้อดึก ตอนอายุเท่าไหร่ และวิธีเลิกนมมื้อดึก

    เลิกนมมื้อดึก ตอนอายุเท่าไหร่ และวิธีเลิกนมมื้อดึก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ