หมอเตือนโรคต้องห้ามอย่าเพิ่งท้อง
เมื่อตัดสินใจแต่งงาน การวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการวางแผนที่จะมีลูก แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ การไปตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์เพื่อตรวจหาโรคทางพันธุกรรมหรือโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และทารกที่จะเกิดมา มาดูกันค่ะว่ามีโรคอะไรบ้าง ที่คุณหมอแนะนำว่าอย่าเพิ่งท้องเลยนะ!!! ติดตามอ่าน

หมอเตือนโรคต้องห้ามอย่าเพิ่งท้อง
สำหรับผู้หญิงแล้วการได้เป็นแม่คนนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุดในชีวิต แต่เหนือสิ่งอื่นใดควรมีร่างกายที่พร้อมจะตั้งครรภ์เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้เมื่อตั้งครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ มาดูกันค่ะว่ามีโรคอะไรบ้าง คลิกหน้าถัดไปค่ะ

โรคหัวใจ
สำหรับผู้ที่มีโรคลิ้นหัวใจรั่วแต่กำเนิด ควรให้คุณหมอตรวจประเมินภาวะเสี่ยงหากต้องการตั้งครรภ์ก่อน เพื่อปรับยา หรือหากควบคุมอาการไม่ได้ อาจต้องผ่าตัดแก้ไขก่อนที่จะตั้งครรภ์ หากในรายที่มีความดันโลหิตในหลอดเลือดของปอดสูง แนะนำให้คุมกำเนิดก่อน เพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงถึงตายได้ถ้าตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้วต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรปรึกษาคุณหมอทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เนื่องจากยาสามารถผ่าน รกและ อาจทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้

โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานควรได้รับการ ตรวจวัดระดับน้ำตาลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนตั้งครรภ์ สำหรับว่าที่คุณแม่ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหากตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงทารกพิการได้
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานมานาน ควรตรวจจอประสาทตา ตรวจการทำงานของไต และให้คุณหมอตรวจประเมินความเสี่ยงของหัวใจและหลอดเลือด เพราะหากตั้งครรภ์อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
บทความแนะนำ ตั้งครรภ์ได้ไหม ? หากเป็นโรคเบาหวาน

โรคไทรอยด์เป็นพิษ
สำหรับผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ต้องได้รับการรักษาให้โรคอยู่ในระยะสงบซึ่งอาจเป็นการรักษา ทางยา การผ่าตัด หรือการกลืนแร่รังสี หากได้รับการรักษาด้วยการกลืนแร่ ต้องคุมกำเนิดไปก่อนยังไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะหากตั้งครรภ์ขึ้นมาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น แท้ง คลอดก่อนกำหนด ที่สำคัญภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างที่ตั้งครรภ์ทารกในครรภ์เสี่ยงเจริญเติบโตช้าผิดปกติอีกด้วย

โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง การได้รับการประเมิน สภาพของไต และหัวใจก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดจนได้รับ การรักษาอย่างต่อเนื่องก่อนการตั้งครรภ์ ก็จะสามารถลด ภาวะแทรกซ้อนและภาวะเสี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และสามารถเลือกใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงที่ปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้ หากตั้งครรภ์คุณแม่ต้องหมั่นไปตรวจครรภ์อย่างสมํ่าเสมอ เสมอเพื่อที่จะสามารถวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และให้การรักษาได้ทันท่วงที
บทความแนะนำ ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบของคนกรุง

โรคลมชัก
ผู้หญิงที่เป็นป่วยโรคลมชักอยู่ควรรับประทานยาจนกระทั่งโรคอยู่ในระยะสงบ โดยใช้ยาน้อยชนิดที่สุด ในขนาดตํ่าที่สุด และไม่ควรเป็นยาที่ห้ามใช้ในขณะตั้งครรภ์

แท้งเป็นอาจิณ
แท้งเป็นอาจิณ คุณแม่ที่เคยแท้งเองติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้น ไป คุณหมอต้องตรวจเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษา ตั้งแต่ระยะที่ไม่ตั้งครรภ์ เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมของคู่สามีภรรยา การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ตรวจหาภาวะเบาหวาน ตรวจระดับฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันบางอย่าง ตรวจคลื่นเสียง ความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูก รวมถึงการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์ และ การได้รับยาป้องกันแท้ง เป็นต้น
บทความแนะนำ 5 ความกังวลของคนเคยแท้ง

โรคเอดส์และโรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์
โรคเอดส์และโรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ เมื่อตรวจพบว่า ผู้หญิงที่มีเชื้อเอดส์ การให้คำปรึกษาแนะนำถึงระยะของโรค แนวทางการดูแลรักษาตนเอง รวมถึงความเสี่ยงของทารกในการติดเชื้อเอดส์ ถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น และวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
นอกจากนี้การติดเชื้อบางชนิดสามารถถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ทารกได้ เช่น หัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี การตรวจภาวะภูมิคุ้มกันและเป็นพาหะจะสามารถให้วัคซีน ป้องกันโรคก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไปสู่ทารกได้ การติดเชื้อซิฟิลิสควรได้รับการตรวจคัดกรอง เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและเพื่อป้องการติดเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์ด้วย

โรคธาลัสซีเมีย
หากผู้หญิงที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย แต่งงานกับคู่ที่เป็นพาหะโรคธาลัสซีเมียชนิดเดียวกันโอกาสที่ทารกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย มีสูงมาก ดังนั้นควรตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์แล้วต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารกในครรภ์ เช่น เสียชีวิตในครรภ์ หรือคลอดออกมาแล้วเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เป็นต้น
ถัดไป
บทความโดย
มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร
แชร์ :