X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

บทความ 3 นาที
สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

สมองพิการ เกิดจากสาเหตุใด ลักษณะของเด็กสมองพิการเป็นอย่างไร จะสังเกตได้อย่างไร รักษาอย่างไร

สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

สมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียกกันว่า ซีพี (C.P.) เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการทางสมอง  การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ทำให้มีปัญหาในด้านของการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ท่าทาง และการทรงตัวที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว ท่าทางในขณะนั่ง ยืน หรือเดินผิดปกติ หรือเด็กสมองพิการบางคนอาจเดินไม่ได้เลยก็มี

นอกจากความผิดปกติดังที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจมีความผิดปกติในด้านการทำงานของสมองด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องทางมองเห็น มีความบกพร่องทางการได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา รวมไปถึงอาจมีอาการของโรคลมชัก เป็นต้น

สมองพิการ

เด็กสมองพิการ

สมองพิการ เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการเกิดสมองพิการ เกิดได้ตั้งแต่ในระยะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ช่วงที่ทารกอยู่ในท้องแม่ จนถึงอายุ 7-8 ปี อย่างไรก็ตาม มีประมาณ 1 ใน 3 ที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด

1. ระยะก่อนคลอด

อาจเกิดจากความผิดปกติของสมองทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดจากการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรือเชื้อไวรัสอื่น ๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือในระหว่างตั้งครรภ์นั้นคุณแม่ท้องอาจจะได้รับสารพิษบางอย่าง เป็นต้น

2. ระยะระหว่างคลอด

อาจเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด คลอดยาก รกพันคอ ขาดออกซิเจนในช่วงแรกคลอด สมองได้รับการกระทบกระเทือน มีภาวะตกเลือด หรือมีเลือดออกในสมองขณะคลอด เป็นต้น

3. ระยะหลังคลอด

อาจเกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออาจเกิดจากการที่ศีรษะมีการกระทบกระเทือนหลังคลอด เป็นต้น

ลักษณะของเด็กสมองพิการ

อาการของเด็กสมองพิการนั้น สามารถสังเกตได้จาก

  • มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • หยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวก แขนขาเกร็ง เดินลำบาก เดินปลายเท้าเขย่ง เด็กบางคนอาจจะเกิดความเจ็บปวดจากการเกร็งมาก เด็กบางคนอาจจะมีกระดูกและข้อผิดรูป จนอาจเกิดภาวะข้อเคลื่อน หรือข้อหลุดตามมาได้
  • อาจมีอาการตัวอ่อนปวกเปียก ทำให้ไม่สามารถทรงตัวในท่านั่ง ยืน หรือเดินได้
  • มีปัญหาในการดูดนมแม่ กลืนยาก เคี้ยวอาหารไม่ได้ เสี่ยงต่อการสำลักบ่อย ๆ
  • มีปัญหาด้านการพูด พูดช้า พูดไม่ชัด
  • สติปัญญาบกพร่อง เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • มีปัญหาการมองเห็น และการได้ยิน
  • อาจมีอาการซึมเศร้า หรือมีอาการชัก ร่วมด้วย

ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ

สมองพิการ

เด็กสมองพิการ

สมองพิการ รักษาอย่างไร

อาการสมองพิการ แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่หากมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เด็กยังเล็ก ๆ ก็จะช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าการที่จะดูแลรักษาเมื่อเด็กมีอายุมากแล้ว โดยแนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะสมองพิการ ทำได้โดย

  • การรักษาทางกายภาพบำบัด
  • ฝึกกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการดูดกลืน ทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือตัวเอง เป็นต้น
  • การรักษาด้วยยา
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
  • ฝึกการพูด
  • การรักษาอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสายตาและการได้ยิน การรักษาภาวะชัก และการรักษาด้านจิตเวช

ที่มา phyathai.com, phyathai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อแชร์ สาเหตุที่เกือบต้องสูญเสียลูก เพราะ RSV ที่กำลังระบาด

ให้ลูกอาบน้ำต้มใบมะขามหัวหอม ช่วยแก้หวัดได้จริงหรือ

เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก
แชร์ :
  • เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

    เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

  • ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

    ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

  • เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

    เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

  • ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

    ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ