สธ.ยัน เด็กหัวเล็ก 2 ราย แม่ท้องติดไวรัสซิกา
เว็บไซต์ matichon.co.th รายงานข่าวกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบหญิงตั้งครรภ์คลอดทารกศีรษะเล็ก 3 ราย และพบทารกในครรภ์อีก 1 ราย ที่มีความเสี่ยงศีรษะเล็ก และกำลังตรวจสอบว่าติดจากเชื้อไวรัสซิกาหรือไม่ โดยในวันนี้ มีการประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ด้านระบาดวิทยา กุมารแพทย์ เวชศาสตร์ป้องกันโรค ฯลฯ ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านวิชาการที่เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยได้พิจารณากรณีทารกศีรษะเล็กเกิดจากเชื้อไวรัสซิกาหรือไม่ พร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในการประชุมนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค (คร.) เป็นประธาน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ยืนยันแล้วว่า จากการตรวจน้ำเหลืองด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันขั้นต้นที่จำเพาะต่อการติดเชื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าไอจีเอ็ม (IgM) พบว่าผลเป็นบวก แสดงว่ามารดาติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ และรายที่ 2 ตรวจปัสสาวะด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ซึ่งเป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอ พบผลเป็นบวก มารดาติดเชื้อและมีผื่นเกิดขึ้น แต่เป็นการสอบถามย้อนหลัง
สำหรับรายที่ 3 มีภาวะศีรษะเล็ก แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ ต้องรอผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ส่วนรายที่ 4 แม่ติดเชื้อซิกาแต่ไม่มีอาการ จึงยังยืนยันไม่ได้ว่าเด็กมีภาวะศีรษะเล็กในครรภ์หรือไม่
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ข่าว ยืนยัน! ไทยพบ ‘เด็กหัวเล็ก’ จาก ‘ซิกา’ 2 ราย ชี้แม่ไม่แสดงอาการ พร้อมตั้งทีมหาทางป้องกัน
แม่ท้องระวังลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด หากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกา
นอกจากภาวะศีรษะเล็กแล้ว ผลการศึกษายังพบการเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อซิกาไวรัสในคนท้อง กับโรคข้อยึดติดในทารกแรกเกิด โดยโรคข้อต่อยึดติด (Arthrogryposis) อาจเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาทในไขสันหลัง เนื่องจากแม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา ทำให้ทารกคลอดออกมาโดยมีข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า หัวไหล่ นิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อสะโพกงอค้าง หรือเหยียดค้าง แข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาเป็นปกติได้
ไวรัสซิกาไม่ได้ทำร้ายแค่ลูก แต่ยังทำลายสมองแม่
ไวรัสซิกาสามารถทำลายสมองของผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แค่ไม่ค่อยแสดงอาการ และผลกระทบนั้นอาจมีความซับซ้อนมากขึ้น และเชื่อได้ว่าไวรัสซิกาเป็นอันตรายมากกว่าที่เคยเชื่อกัน โดยผลการศึกษาพบว่า ไวรัสซิกาสามารถทำลายสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำของหนูทดลองได้ นักวิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า การติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับหลักฐานการตายของเซลล์และการลดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ มีผลต่อการสูญเสียความจำระยะยาวหรือภาวะซึมเศร้า
ทางที่ดี คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเช็คข่าวสารเรื่องไวรัสซิกาบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการไปในเขตพื้นที่อันตราย เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ตอบให้เคลียร์ 10 คำถาม ไวรัสซิกากับแม่ท้อง
แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!